Conversion คืออะไร
Conversion คือ หน่วยหรือสิ่งบ่งชี้ที่แสดงให้เห็นว่ากลุ่มเป้าหมาย take action ตามที่ตั้งเป้าหมายของแคมเปญนั้นไว้ เช่น สั่งซื้อของ ลงทะเบียน กรอกลีดส์ เป็นต้น นอกจากนี้ ยังแบ่งประเภท Conversion ออกเป็น Macro Coversion และ Micro Conversion
ที่มา: Freepik
Macro Conversion คือ
เป้าหมายหลัก ของ conversion ของการทำเว็บไซต์ในแคมเปญนั้น ๆ เช่น สั่งซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ ลงทะเบียนกรอกฟอร์ม เป็นต้น
Micro Conversion คือ
เป้าหมายรองอันเป็นผลมาจาก Macro Conversion ของการทำเว็บไซต์ในแคมเปญนั้น ๆ เช่น กดเลือกสินค้าใส่ในตะกร้า สมัครบัญชีเป็น member ของเว็บไซต์ เป็นต้น
Lead Conversion คือ
กระบวนการหรือขั้นตอนที่แปลงรายชื่อว่าที่ลูกค้าหรือลีดส์ให้กลายเป็นโอกาสในการสร้าง conversion ของแคมเปญต่อไป
Conversion rate คือ
อัตราส่วนของจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ take action ตามเป้าหมายของแคมเปญกับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ โดยนำจำนวนครั้งที่กลุ่มเป้าหมาย take action จนเกิด conversion หารกับจำนวน conversion ของ sessions ทั้งหมด
ที่มา: emanuel
วิธี optimize Conversion Rate นั้น จะเกิดขึ้นเมื่อมีคนเข้ามาเยี่ยมชมหน้าเว็บไซต์ ซึ่งต่างจาก Conversion ของ seo หรือ paid ads ที่จะโฟกัส
การเพิ่ม clicks through rate จำนวนคลิก และคีย์เวิร์ด
การเพิ่ม Conversion Rate ทำได้อย่างไร
การวัด Conversion rate ขึ้นอยู่กับเป้าหมายแคมเปญแต่ละประเภทว่าต้องการอะไร วิธีเพิ่ม conversion rate นั้นทำได้ง่าย ๆ และเหมาะกับแคมเปญแต่ละแบบ ดังนี้
เน้น call to action ให้ดี
call to action คือปุ่มหรือลิงก์ที่จะช่วยให้กลุ่มเป้าหมาย take action ตามที่เราต้องการได้ เช่น Add to Cart Register Now เป็นต้น การออกแบบดีไซน์และ copy text ของ call to action ให้หลากหลายจะช่วยให้เราได้ไอเดียของการสร้าง call to action ที่ดีในการทำแคมเปญครั้งต่อไปหากไม่มีสูตรสำเร็จของการทำ call to action ที่ดีที่สุดนักการตลาดจึงต้องทดสอบด้วยชุดข้อมูลหลายประเภทและหาว่า call to action แบบไหนที่ตอบโจทย์แคมเปญของเรามากที่สุด
การเล่น call to action ที่ดีจะช่วยเพิ่ม conversion rate ได้มากถึง 20% การเขียน call to action ด้วยคำที่ชัดเจนตรงไปตรงมาและสื่อให้รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายควรจะทำอะไรเมื่อจะ take action ต่อไปจะช่วยให้เกิด conversion rate ได้สูงยิ่งขึ้น
สร้าง user experience ที่ดี
UX หรือ user experience ที่ดีนั้นประกอบด้วยการวาง layout เนื้อหาและการใช้งานของ landing page ที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริงโดยทั่วไปแล้วฟังก์ชันของ landing page แบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่
- ให้รายละเอียดข้อมูลว่าแบรนด์ offer อะไรให้ลูกค้า
- โน้มน้าวกลุ่มเป้าหมายว่า offer ของแบรนด์ดีและแตกต่างจากแบรนด์อื่นอย่างไร
- แสดงให้เห็นว่ากลุ่มเป้าหมายจะได้รับ offer ตามที่ต้องการด้วยการทำอย่างไร
หากดูจากคำอธิบายข้างต้นแล้ว หน้าที่หลักของ Landing Page ก็คือกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายต้องการ take action รวมทั้งช่วยไกด์ให้พวกเขาทำตาม action นั้น ตามที่เราตั้ง conversion ไว้
นักการตลาดจึงต้องวางแผนและวิเคราะห์การสร้างสรรค์ Landing Page ออกมาให้หลากหลายโดยอาจปรับเปลี่ยนการจัดวางองค์ประกอบศิลป์อย่างแตกต่าง เลือกใช้ font ถ้อยคำหรือเนื้อหา content ที่หลากหลาย รวมทั้งติดตามผลดูว่าองค์ประกอบศิลป์แบบไหน เนื้อหาแบบใดที่กระตุ้นให้ผู้คน take action จนเกิด conversion ได้มากที่สุด
ติดตามผลองค์ประกอบต่าง ๆ
องค์ประกอบทุกอย่างของการทำแคมเปญล้วนส่งผลต่อเป้าหมายของแคมเปญแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มยอดวิว การลงทะเบียน กรอกลีดส์ หรือจำนวนการดาวน์โหลดต่าง ๆ การติดตามผลขององค์ประกอบเหล่านั้นจะช่วยให้คุณเห็นว่าสิ่งที่เราทำลงไปก่อให้เกิด impact มากน้อยแค่ไหน กลุ่มเป้าหมาย take action ตามที่ต้องการหรือไม่
ยกตัวอย่างบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์แห่งหนึ่งตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเพิ่มยอดขายไม่ได้กลุ่มเป้าหมายของพวกเขาอาจมาจาก 3 ช่องทางได้แก่
- คลิก call to action จากการดูวีดีโอในหน้าโฮมเพจ
- คลิก call to action จัดการกรอกแบบฟอร์มสำหรับสมัคร account ของเว็บไซต์
- ลงทะเบียนรับข้อเสนอพิเศษในหน้าเว็บไซต์
บริษัทได้ทำแคมเปญแบบ A/B testing เพื่อหวังจะเพิ่มจำนวนกลุ่มเป้าหมายเข้ามาอย่างหน้าเว็บไซต์ โดยพวกเขาติดตามผลจากจำนวนคลิกทั้ง 3 ช่องทาง เพื่อดูว่าช่องทางไหนและวิธีใดที่ช่วยหากลุ่มเป้าหมายเข้ามาหน้าเว็บไซต์และทำให้เกิด conversion ได้มากที่สุด
การติดตามผลขององค์ประกอบต่าง ๆ จะช่วยให้มองเห็นภาพรวมและวิธีออกแบบเว็บไซต์ที่ได้ผลตรงกับเป้าหมายของแคมเปญ
ทดสอบกับกลุ่มเป้าหมายที่ใช่
เมื่อคุณรู้อยู่แล้วว่ากลุ่มเป้าหมายของเราเป็นใคร marketing journey ของเขาอยู่ในขั้นไหน การออกแบบแคมเปญให้เหมาะสมกับพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายจึงเป็นเรื่องสำคัญ
หากกลุ่มเป้าหมายของคุณเป็น organic traffic แน่นอนว่าพวกเขาคลิกเข้ามาในเว็บไซต์เพื่อหาข้อมูลที่ตนเองสนใจ ซึ่งอาจใช้เวลาในการอยู่ในหน้าเว็บไซต์นานกว่า ในขณะที่กลุ่มเป้าหมายที่เคยเข้ามาในเว็บไซต์แล้วอาจจะกลับเข้ามาในเว็บไซต์ของแบรนด์อีกครั้ง เพื่อตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของแบรนด์ก็ได้
นักการตลาดจึงต้องวางแผนและวิเคราะห์ให้ขาดว่ากลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงของเรานั้นคือใคร เพื่อที่จะได้ไปพัฒนาแคมเปญให้เหมาะสมและตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายของเราต่อไป
test test test
การทดสอบถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำแคมเปญการตลาดออนไลน์ เพราะจะทำให้เรารู้ว่าสิ่งที่เราลงมือทำไปนั้น อันไหนได้ผลและอันไหนไม่ได้ผล ซึ่งผลลัพธ์ทั้งสองแบบนี้ล้วนทำให้แบรนด์มองเห็นโอกาสในการเติบโตได้ การเพิ่ม conversion rate ที่ดีนั้นจึงต้องทดสอบหลายครั้ง
การทดสอบแคมเปญในแต่ละครั้งจะช่วยให้เราเห็นข้อบกพร่องและนำไปปรับปรุงได้ถูกจุด ทั้งนี้ การทดสอบแคมเปญยังถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรและสร้างวัฒนธรรมของการวัดผลโดยยึดหลักตามข้อมูลและข้อเท็จจริงได้อย่างถูกต้องและเที่ยงตรงที่สุด
ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร
เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!
Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย
Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)
เติร์ด ทศพร นักการตลาดออนไลน์ ทำงานใน Digital Agency
รับทำโฆษณา, เว็บไซต์ WordPress และ Production
Facebook ads, Google ads, Google Analytics และ Google Tag manager
ทำโฆษณา, เขียน Blog และแชร์ความรู้