Google Analytics เวอร์ชั่นใหม่

GA4 เส้นทางต่อไปของ Google Analytics เวอร์ชั่นใหม่

Google Analytics คือเครื่องมือ Web Analytics เพื่อรวบรวมข้อมูลลูกค้า, การวัดผลลัพธ์, และการวิเคราะห์ข้อมูลบนเว็บไซต์ ทั้งยังสามารถใช้งานเพื่อวิเคราะห์แอพพลิเคชั่นได้อีกด้วย

ในเวอร์ชั่นปัจจุบันที่เราใช้งานกันอยู่มันจะถูกเรียกว่า Universal Analytics รหัสข้อมูลมันจะเป็น UA-XXXXXXXXX-X(X คือตัวเลข รหัสพวกนี้ที่เราเอาไว้เชื่อมข้อมูลกับ Google Tag Manager)

ในวันที่ 14 ตุลาคม 2020 Google Analytics ได้ทำการปล่อยเวอร์ชั่นใหม่เป็นแบบ Beta มาให้ทดลองกัน

เรียกว่า “Google Analytics 4 property” ชื่อเก่าที่เราเคยๆเห็นกันคือ “App + Web property” โดยเอาระบบ App + Web properties มาพัฒนาต่อ
เมื่อก่อน App จะมี Property แยกของตัวเอง ในเวอร์ชั่นใหม่นี้จะหยิบตัวเว็บและแอพฯมารวมกัน มาพร้อมฟีเจอร์ใหม่ๆอีกเพียบ

เวอร์ชั่นใหม่ มีอะไรใหม่บ้าง!

1. สามาถเตือนทีม Marketing เกี่ยวกับเหตุการณ์ใหม่ๆ เช่น การเพิ่มขึ้นของยอดขายบางรายการ

2. นักการตลาดสามารถเข้าถึงข้อมูลว่าช่องทางการตลาดไหนที่ส่งคน(user)เข้าเว็บไซต์เราเยอะ รวมถึงลูกค้ากลุ่มไหนที่ดูเหมือนใช้จ่ายเงินมากกว่ากลุ่มอื่นๆ โดยสามารถเข้าถึงข้อมูลรูปแบบนี้ในแดชบอร์ด “user acquisition” แบบใหม่รีพอร์ท new user acquisition แบบใหม่

3. มี ROI ที่ดีขึ้น เห็นข้อมูลที่ลึกมากขึ้นอย่างการคำนวณ churn probability ช่วยให้นักการตลาด สามารถลงเงินค่าโฆษณากับลูกค้าได้ถูกกลุ่มมากขึ้น ในงบประมาณที่จำกัดรวมถึงมีการเพิ่ม predictive metrics ที่ใช้ดู potential revenue(รายได้ที่ระบบคาดว่าจะได้)จากลูกค้าบางกลุ่ม ให้เรานำไปแก้ไขเพิ่มประสิทธิภาพต่อChurn probability ในโมดูลวิเคราะห์รายได้จากช่องทางต่างๆ

4. เพิ่มความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ โดยมีเครื่องมือ data deletion tool สำหรับลบข้อมูลใน Google Analytics เมื่อมีผู้ใช้งาน(user)ร้องขอมาที่บริษัทเพื่อหยุดเก็บข้อมูลของลูกค้า

5. วางรากฐานสำหรับในอนาคตที่ระบบระบุตัวตนจะมีทั้งผู้ใช้ที่สามารถดรอป cookies ไว้ หรือไม่มี cookies เพื่อรองรับความเป็นส่วนตัวในอนาคตมากขึ้น

6. อัพเดทล่าสุดพยายามแก้ไขข้อมูล data ที่มันกระจายตัวของผู้ใช้ที่ใช้งานผ่านหลายๆแพลตฟอร์มให้เป็นสัดส่วนมากขึ้น เช่น คนดูโฆษณาบนคอมฯ desktop และไปซื้อผ่านแอพฯในโทรศัพท์ โดยปกติมันไม่ง่ายที่จะติดตามเหตุการณ์ทั้งหมดให้สอดคล้องกัน(ปกติระบบจะมองแยกเมื่อเข้าผ่าน 2 device จะนับเป็น 2 user)

7. Google Analytics กับ Google Ads ลิ้งค์ Account แบบใหม่ ทำให้เห็นข้อมูลที่ลึกยิ่งขึ้น ง่ายต่อการเพิ่ม ROI ของธุรกิจ เช่น ให้คุณสามารถสร้าง audience ที่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่มีความเกี่ยวข้องมากขึ้น, สร้าง audience จากผลลัพธ์เชิงลึกของ user ต่างๆ ไม่ว่าจากจุดไหนที่ผู้ใช้เลือก engage กับธุรกิจ สามารถวัดผลลัพธ์ข้ามไปมาได้จากทั้งแอพฯและเว็บฯ เช่น คนดู Youtube จากในแอพ หรือจากในเว็บไซต์ สามารถดูข้อมูลได้ลึกขึ้น

จะใช้ Google Analytics เวอร์ชั่นใหม่ได้ยังไง?

วิธีการตั้งค่าและวิธีการใช้งาน Google Analytics เวอร์ชั่นใหม่

คนที่ตอนนี้ใช้ Universal Analytics เวอร์ชั่นเก่าอยู่ ก็สามารถสร้างเวอร์ชั่นใหม่ ณ ปัจจุบันในวันที่ผมเขียนบทความนี้อยู่ จะมีปุ่มคำว่า “Upgrade to ga4” เพื่อเปิดไว้รับข้อมูลรูปแบบใหม่ทิ้งไว้ก่อนได้ หลังจากนั้นเราก็เอารหัส Measurement ID ไอ้ G-MXXXXXXXXX ไปใส่ตรง Admin > Tracking Info > Tracking Code ของ Property ที่เราใช้อยู่ปัจจุบัน หรือจะเอาตัวเลขรหัสไปใส่ผ่าน Google tag manager ก็ได้เช่นกัน(ติดตั้งผ่าน Google tag manager คล้ายๆการติดตั้ง Universal Analytics เลย แค่เลือกประเภท tag เป็น ga4 แล้วใส่รหัสอันใหม่มันจะเป็น G-MXXXXXXXXX ตรงตัว X สลับเลขกับตัวอักษรแล้วแต่ระบบสุ่ม)

 การอัพเกรด GA4 เวอร์ชั่นใหม่

สำหรับใครที่เปิด Google Analytics Account ใหม่ มันจะบังคับเราสร้างเป็นเวอร์ชั่นใหม่อยู่แล้วโดยจะติดตั้งเป็นโค้ดใส่เว็บไซต์โดยตรงหรือติดตั้งผ่าน Google Tag Manager แบบวิธีข้างต้นก็ได้

เราสามารถสร้าง Property ทั้งแบบเก่าและแบบใหม่ไว้เพื่อวิเคราะห์ได้ โดยการสร้างทั้งแบบ “Google Analytics 4 property” และ Universal Google Analytics เลือกตัวเลือกด้านล่างนี้เพิ่มเติมตอนสร้างบัญชี Google Analytices แค่นี้เราก็สามารถสร้างข้อมูลสองแบบไว้ใช้งานแล้ว 


เราสามารถใช้งานควบคู่กันไป เพื่อดูข้อมูลทั้งสองแบบ โดยเลือกดูข้อมูลแต่ละแบบตรง Select property ตรงกลางของหน้า admin รูปฟันเฟือง

ปล. Universal Analytics ทางบริษัท Google เค้าได้หยุดพัฒนาแล้ว ดังนั้นเราจำเป็นต้องเรียนรู้เวอร์ชั่นใหม่ไปด้วย เพราะวันนึงเราก็ต้องใช้แบบเต็มรูปแบบ

มีคอร์สเรียนใช้เวอร์ชั่นใหม่ด้วย https://skillshop.exceedlms.com/student/path/66729

ใครที่อยากได้อัพเดทใหม่ๆ ก่อนใคร
เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย
Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)

อ้างอิง:

https://www.marktechpost.com/2020/10/18/google-introduces-new-version-of-google-analytics-powered-by-machine-learning/
https://www.socialmediatoday.com/news/google-launches-updated-google-analytics-including-improved-reporting-and/587052/
https://blog.google/products/marketingplatform/analytics/new_google_analytics
https://support.google.com/analytics/answer/10089681

7 Application ฟรีสำหรับนักการตลาดออนไลน์ Digital Marketing

7 Application ฟรี! ที่สาย Digital Marketing ต้องมีติดเครื่อง

7 Application ฟรีสำหรับนักการตลาดออนไลน์ Digital Marketing

รวมแอพฯ โหลดฟรีบนมือถือ สำหรับนักการตลาด digital marketing เรามาดูกันดีกว่าว่าแอพฯ แต่ละตัวมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

Facebook Ads Manager

แอพ Facebook Ads Manager

Ads manager คือเครื่องมือรันโฆษณาของ Facebook ads ซึ่งปกติเราจะตั้งค่า Campaign ทำงานกันผ่านคอมฯ แต่ในส่วนของโทรศัพท์มือถือ Smartphone นั้น ทาง Facebook ก็ได้ทำแอพฯออกมารองรับการทำโฆษณาด้วยเช่นกัน โดยเราสามารถทำการตั้งค่า Campaign ผ่านทางโทรศัพท์ได้เลย รวมถึงการวิเคราะห์ Campaign ได้ด้วย 

Google Ads

แอพฯ Google Ads

แอพ Google Ads คือแอพฯจากฝั่งโฆษณา Google Ads เราสามารถ Pause ส่วนที่เราไม่ต้องการใช้งาน เพิ่ม Keyword, ปรับ Bid Adjustment ได้ รวมถึงการใช้วิเคราะห์ข้อมูล

ทั้ง Facebook ads และ Google Ads แนะนำให้ใช้เช็คผลลัพธ์ตอนอยู่ข้างนอกบ้าน หรือปิด-เปิด-ปรับ Campaign ตอนเร่งด่วน ตั้งค่าผ่านคอมยังคงตอบโจทย์ที่สุด

Pages Manager

แอพฯ Facebook Page Manager

Pages Manager คือแอพสำหรับบริหารจัดการ Facebook page จะโฟกัสไปที่เพจเฟสบุ๊ค แตกต่างจาก Facebook ads manager อันนั้นจะบริหารโฆษณา

ในส่วนของ Pages manager นั้นสามารถทำเกือบทุกอย่างเหมือนในเพจเฟสบุ๊คพวก โพสต์เนื้อหา, ภาพ, วิดีโอ หรือชวนเพื่อนไลค์เพจ รวมถึงการวิเคราะห์ Page insight และการตอบแชททางกล่องข้อความ เราสามารถทำได้จากแอพฯนี้ทั้งหมด

Facebook Analytics

แอพฯ Facebook Analytics

Facebook Analytics คือเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลบน Facebook หลักๆจะวิเคราะห์ข้อมูลจาก Facebook Pixel มาแสดงผลลัพธ์ให้เราดู รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลจาก Facebook Page ได้ด้วย โดยเราสามารถใช้ Facebook Analytics ผ่าน Ads manager ในคอมฯได้เช่นกัน

Google Analytics

แอพฯ Google Analytics

Google Analytic คือเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลบนเว็บไซต์ ในแอพฯสามารถใช้วิเคราะห์คร่าวๆได้ มี Interface ที่ใช้งานง่าย มีรีพอร์ทให้ครบเหมือนตอนเข้าผ่านเว็บไซต์ เราสามารถเลือกรูปแบบรีพอร์ทได้จากมุมซ้าย

My Business

แอพฯ Google My Business

My Business คือแอพฯของ Google My Business

Google My Business คือวิธีการที่เราทำให้ธุรกิจของเราขึ้นไปอยู่ใน Google Maps ซึ่งเมื่อเราสร้าง Google My Business เสร็จแล้ว เราสามารถเอาอีเมลที่เราใช้สร้างมาล็อกอินในแอพฯเพื่อบริหารจัดการข้อมูลของธุรกิจ, โพสต์ที่เราจะอัพเดท, ภาพบรรยากาศ-ภาพสินค้า และดู-ตอบรีวิวลูกค้า เราสามารถบริหารจัดการทุกอย่างที่กล่าวมาผ่านในแอพได้

Tag me

แอพฯ Tag Me

ข้อมูลแอพอื่นๆเราพูดถึงพวกโฆษณา,เพจ,เว็บไรไปหมดละ แอพพลิเคชั่นนี้เอาใช้นักการตลาดสาย Instagramer หน่อย สำหรับใครที่ชอบปวดหัวเวลาหา hashtag มาใช้ประกอบภาพ Instagram ทางออกของคุณมาแล้ว คุณสามารถใช้แอพฯนี้ > หา Categorey ที่ต้องการ แล้วคุณทำการ Copy tag ที่คุณเลือกไว้ไป paste ได้หมดเลย

หลังจากเพื่อนๆรู้จักแอพฯสำคัญสำหรับนักการตลาดไปแล้ว อย่าลืมไปโหลดใส่เครื่องตัวเอง จะได้ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา ทำงานแบบมีประสิทธิภาพสุดๆ T T

ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร
เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย
Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)

Google Ads คืออะไร คู่มือการทำ Google Ads

Google Ads(Google AdWords)คืออะไร? คู่มือการทำโฆษณาบน Google Ads(เทคนิค)

  • Google Ads คืออะไร คู่มือการทำ Google Ads

Google Ads(Google AdWords) คือเครื่องมือการโฆษณาของ Google ซึ่งประกอบไปด้วยโฆษณา 5 รูปแบบหลัก โดยเครื่องมือที่ดังที่สุดของ Google Ads คือ Search ads หรือเครื่องมือรูปแบบการค้นหา ซึ่ง Google เป็น Search Engine อันดับ 1 ของโลก เป็นช่องทางที่แทบทุกคนในไทยใช้งาน ทั้งเวลาต้องการหาสินค้า หรือไม่ว่าจะมีปัญหา หรือต้องการคำตอบเรื่องอะไร ก็ต้องมาที่ Google Search Engine

ไม่ว่าธุรกิจไหนๆก็ต้องใช้โฆษณา Google Ads เกือบทั้งสิ้น ซึ่งโฆษณาแต่ละรูปแบบก็มีลักษณะการใช้งาน, จุดประสงค์ของการโฆษณาและการแสดงผลที่แตกต่างกัน ทั้งแสดงผลในหน้า Search Engine ของ Google, แสดงผลในเว็บไซต์พาร์ทเนอร์และเว็บไซต์ Youtube.com

หากใครยังไม่มีบัญชีโฆษณา > วิธีสมัครบัญชี Google Ads

 

Google Ads ทั้ง 6 รูปแบบมีอะไรบ้าง แล้วแสดงผลที่ไหน?

1. Search Ads หรือรูปแบบการค้นหา

Google Ads(Google AdWords)คืออะไร? ตัวอย่างการแสดงผลโฆษณา Google Search Ads 

Search Ads หรือที่เรียกว่า Paid Search คือโฆษณารูปแบบการค้นหา โดยมีลักษณะให้เราทำการซื้อคีย์เวิร์ด แล้วเมื่อมีคนค้นหาผ่าน Search Engine เข้ามาตามคีย์เวิร์ดที่เราซื้อ โฆษณาก็จะไปปรากฏบน Search Engine ทันที ซึ่งโฆษณาประเภทนี้ตรงกับเจตนา(Intent)ของผู้ค้นหามากๆ จึงทำให้ปิดการขายได้ง่ายที่สุด มีคุณภาพสูง เพราะผู้ใช้ที่ค้นหาตามคีย์เวิร์ดต่างๆเข้ามา ก็ต้องการซื้อสินค้าหรือบริการอะไรบางอย่างอยู่แล้ว ยิ่งเราสามารถเลือกคีย์เวิร์ดได้ตรงจุดมากเท่าไหร่ ก็จะส่งผลต่อ Conversion rate หรือการปิดการขายได้ง่ายขึ้น

2. GDN หรือ Google Display Network

GDN(Google Display Network)คือโฆษณารูปแบบแบนเนอร์ไปแสดงในจุดต่างๆทั้งเว็บไซต์พาร์ทเนอร์ของ Google อย่างในไทยก็จะเป็นพวก sanook.com, kapook.com, matichon.co.th, khaosod.com ฯลฯ และยังแสดงผลใน youtube.com อีกด้วย

ตัวอย่างการแสดงผลโฆษณา GDN(Google Display Network) ตัวอย่างการแสดงผลโฆษณา GDN(Google Display Network)ในเว็บไซต์ Publisher

จากภาพข้างต้นจะเห็นว่ามุมขวาของแต่ละช่องการแสดงผลจะมีเครื่องหมาย 2 รูปแบบ แบบแรกคือวงสีน้ำเงิน สัญลักษณ์แบบนี้จะเป็นโฆษณาของ Google โดยตรง ส่วนวงสีส้มจะเป็นโฆษณาของ Adchoices ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์ของ Google

GDN ยังมีประเภทแยกย่อยไปอีก 3 ประเภทก็คือ

        1. โฆษณาแบบแบนเนอร์ทั่วไป เหมือนตัวอย่างข้างบน
        1. Gmail ads คือโฆษณาที่ไปแสดงผลในส่วนของ Gmail
        1. Lightbox ads คือโฆษณาที่เน้นให้คนมา Engage กับแบรนด์เพื่อรับข่าวสารหรือโปรโมชั่นเพิ่มเติม ไม่เน้นสร้าง Click เข้าสู่เว็บไซต์ ซึ่งแสดงผลใน Slot อันเดียวกับ GDN แบบธรรมดา

3. Video Ads หรือ Youtube Ads

Video Ads(Youtube Ads)คือโฆษณาในรูปแบบวิดีโอที่มีการแสดงผลในเว็บไซต์ youtube.com และเว็บไซต์เครือข่ายพาร์ทเนอร์ต่างๆ โดย Youtube Ads ก็จะแบ่งเป็นโฆษณาย่อยๆอีกอีกหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบกดข้ามได้และกดข้ามไม่ได้

ตัวอย่างโฆษณา Youtube Ads รูปแบบ TrueView in-stream ads(Skippable ads) ตัวอย่างโฆษณา Youtube Ads – รูปแบบ TrueView in-stream ads(Skippable ads) แบบกดข้ามได้

4. Universal App Campaign หรือ Universal App Install Campaign

Universal App Campaign หรือ Universal App Install Campaign คือการโฆษณาเพื่อให้คนมาติดตั้งแอพพลิเคชั่น หรือโฆษณาหาคนเพื่อสร้างยอดสั่งซื้อในแอพฯ โดยจะแสดงผลใน Play Store, Search engine, Youtube, Publisher, Admob เป็นต้น

ตัวอย่างโฆษณา Universal App Campaign 

5. Shopping Ads หรือ Google Shopping Campaign

Shopping Ads คือโฆษณาที่แสดงผลในหน้าการค้นหา Search engine เช่นกัน โดยจะมีลักษณะแสดงเป็นการ์ดรายการสินค้าพร้อมรายละเอียด ราคา เว็บไซต์ คำอธิบาย โดยจะแบ่งเป็น Showcase Shopping ads และ Product Shopping ads ซึ่งในไทยของเราตอนนี้จะมีแค่ Product Shopping ads

ตัวอย่างโฆษณา Google Shopping Ads

6. Discovery Ads

Discovery Ads คือโฆษณาที่แสดงผลในแอพพลิเคชั่น Google หรือที่เรียกว่า Google Discover Feed มีลักษณะเป็นหน้าข่าวให้เราเสพ content เนื้อหาโฆษณามีลักษณะเป็น Native ads เนียนไปกับเนื้อหา Content

Discovery Campaign Surface

Discovery ads บนหน้า Youtube Home Feed, Google Discover Feed และ Gmail promotions tab.

 
หากเราหยิบเครื่องมือของ Google Ads ต่างๆมาใช้งานให้สอดคล้องกับ Buyer Journey ของลูกค้า ก็จะทำให้เราได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น
 

Campaign Structure โครงสร้างดี ต้นทุนลด ผลลัพธ์เพิ่ม

ไม่ว่าเราจะทำโฆษณาช่องทางไหนก็ตาม เราก็ต้องรู้จักกับโครงสร้างของบัญชีนั้นๆ ซึ่งการที่เราเข้าใจวิธีการวางโครงสร้างอย่างเป็นระบบ ก็จะทำให้เราสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น ผลลัพธ์โฆษณาดีขึ้น มีการทับซ้อนและการประมูลราคาแข่งกันเองของคีย์เวิร์ดน้อยลง

Search Ads - Campaign Structure

  • โดยโครงสร้างของแคมเปญ Google Ads นั้น ใน 1 บัญชีโฆษณาจะบรรจุไปด้วยหลายๆ Campaign
  • ใน 1 Campaign ประกอบไปด้วยหลายๆ Ad group
  • และใน 1 Ad group จะบรรจุไปด้วยหลายๆ Keywords และหลายๆ Ads
 
ตัวอย่างโครงสร้างแคมเปญ Search ads Campaign

ตัวอย่างการวางโครงสร้างร้านอุปกรณ์การแพทย์

โดยการแบ่ง Campaign และ Ad group นั้นเราจะแบ่งกันตามลักษณะของ Keyword จากภาพจะเห็นได้ว่าสินค้า 1 ประเภท สามารถมีคำค้นหาได้หลายรูปแบบมากๆ อย่างที่นอนลม มีทั้ง ที่นอนลม, เตียงลม, ที่นอนรังผึ้ง, ที่นอนกันแผลกดทับ ฯลฯ เราต้องทำการแบ่ง Keyword พวกนี้แยกออกจากกัน เพื่อเราจะได้เขียนคำโฆษณาให้สอดคล้องกับ Keyword เพื่อเพิ่ม Quality Score และลดงบประมาณโฆษณานั้นเอง

วิธีการคิดเงินของโฆษณา Google Ads

วิธีการคิดเงินค่าโฆษณาของระบบ Google

การคิดเงินของระบบ Google Ads นั้นมีหลายรูปแบบ อย่างโฆษณา Search และ Shopping Ads รวมถึง GDN ก็จะมีคิดเงินเป็นรูปแบบ CPC(Cost per click) คือเสียเงินเมื่อมีคนคลิกที่โฆษณาเข้าสู่เว็บไซต์เราเท่านั้น

ซี่ง GDN ก็จะมีการคิดเงินอีกรูปแบบคือ CPM(Cost per 1,000 Impression) หรือคิดราคาต่อ1,000 คนที่เห็นโฆษณา คือกำหนดไปเลยว่าเราจะยอมจ่ายเงินที่เท่าไหร่ ตามจำนวนคนเห็นโฆษณา 1,000 ครั้ง

ส่วน Youtube Ads หรือ Video Ads นั้นจะมีระบบการคิดเงินเป็นรูปแบบ CPV(Cost per view) ราคาต่อ 1 view กับคิดเงินเป็น CPM เช่นกัน

 

Keyword Planner เครื่องมือหาไอเดียคีย์เวิร์ด

ตัวอย่างการใช้งาน Keyword Planner 

เครื่องมือสำคัญที่คนทำโฆษณาช่องทาง Google Ads ต้องใช้งานคือ Keyword Planner ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการช่วยหาไอเดียคีย์เวิร์ด โดยมีลักษณะการใส่คำที่เราคีย์เวิร์ดที่เราคิดได้ลงไป สูงสุด 10 คำ โดยจะช่วยหาคำต่างๆมาให้เพิ่มเติม

เราสามารถใช้ Keyword Planner ในการวิเคราะห์หาไอเดียคีย์เวิร์ดแล้ว เรายังสามารถใช้เพื่อดูจำนวนการค้นหาต่อเดือน(Search Volume) และใช้เพื่อประมาณราคาตอนตั้งค่า Max CPC ตอนเริ่มต้นของแคมเปญได้

 

Keyword Match types คืออะไร?

Keyword Match type คือการใส่เครื่องหมายเพิ่มเติมในคีย์เวิร์ด เพื่อสร้างเงื่อนไขในการที่คำค้นหาต่างๆจะมาติดคีย์เวิร์ดที่เราซื้อเพื่อให้โฆษณาแสดงผล

เมื่อเราได้ไอเดียการซื้อคีย์เวิร์ดมาจาก Keyword Planner แล้ว สิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญก็คือ Keyword Match types ซึ่งในส่วนนี้จะส่งผลต่อผลลัพธ์และงบประมาณค่าโฆษณา หากเราเลือกใช้ Match types ได้ถูกต้อง ค่าโฆษณาของเราก็ต้องถูกลง ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น โดย Keyword Match type มีด้วยกันทั้งหมด 4 รูปแบบ คือ

1. Broad match คือคีย์เวิร์ดรูปแบบนึงที่เราไม่ต้องใส่เครื่องหมายอะไรให้คีย์เวิร์ดนั้นๆเลย โดยรูปแบบการทำงานของ Match type ประเภทนี้คือ การไปจับหาคำค้นหาอะไรก็แล้วแต่ที่ระบบคิดว่าใกล้เคียงกับคำที่เราซื้อ เช่น ถ้าคุณซื้อคีย์เวิร์ดคำว่า บ้าน พิษณุโลก คำค้นหาคำว่า ที่ดิน พิษณุโลก ก็สามารถมาติดเราได้เช่นกัน

2. Broad match modiflier คือคีย์เวิร์ดที่แคบรองลงมาจาก Broad match อีก โดย Match type ประเภทนี้ใช้เครื่องหมายบวก(+) เป็นสัญลักษณ์ในการสร้างเงื่อนไขของคำที่จะมาติด เช่นเราขายสินค้า เฟอร์นิเจอร์ไม้ แล้วเราซื้อคีย์เวิร์ดคำว่า +เฟอร์นิเจอร์ +ไม้ คำค้นหาที่สามารถมาติดเราได้อย่างเช่น เฟอร์นิเจอร์เก้าอี้ไม้, สั่งทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ และ เฟอร์นิเจอร์ไม้ราคา คำค้นหาที่เข้ามาติดจะมารูปแบบเข้ามาต่อหรือแทรกทั้ง กลาง, หน้า และหลัง

3. Phrase match คือคีย์เวิร์ดที่แคบรองลงมาจาก Broad match modiflier โดย Match type ประเภทนี้จะใช้เครื่องหมายฟันหนู “Keyword” เขียนก่อนเริ่มคีย์เวิร์ดและปิดคีย์เวิร์ดท้ายคีย์เวิร์ด โดยลักษณะของการทำงานของคีย์เวิร์ดเป็นดังนี้ เช่นเราซื้อคีย์เวิร์ดคำว่า “รองเท้า Nike” คำที่สามารถมาติดเราได้อย่างเช่น รองเท้า Nike สีดำ, เว็บขายรองเท้า Nike และ สั่งรองเท้า Nike Lazada จะสังเกตได้ว่าเงื่อนไขของ Phrase match คือไม่ว่าคำค้นหาต่อหน้าและหลังคีย์เวิร์ดที่เราซื้อคืออะไรให้เอามาให้หมด แต่จะไม่มีคำที่มาแทรกตรงกลางภายในเครื่องหมาย “..”

4. Exact match คือคีย์เวิร์ดที่ถือว่าแคบที่สุดเป็น โดยเป็น Match type ที่ใช้เครื่องหมายวงเล็บแบบ [Keyword] โดยเงื่อนไขของ Exact match คือต้องเหมือนกับคีย์เวิร์ดที่เราซื้อเป๊ะๆ ห้ามมีอะไรต่อหน้าและหลัง เช่น ถ้าเราซื้อคีย์เวิร์ด [เมล็ดพันธุ์พืช] คำค้นหาที่จะมาติดคีย์เวิร์ดเราได้ เช่น เมล็ดพันธุ์พืช หรือ เมล็ดพันพืช ก็สามารถมาติดได้เช่นกัน

 

ระบบการประมูล Google Ads Auction

วิธีการคำนวณตำแหน่งการแสดงผล Ad Rank

วิธีคำนวณ Ad Rank ของระบบ Google Ads

ก่อนที่ระบบของ Google จะดึงโฆษณาของใครไปแสดงผลนั้น ระบบก็มีการคำนวณคะแนนมาจากหลายๆส่วน ส่วนแรกที่ทุกคนน่าจะทราบกันดีก็คือ ราคาต่อคลิก(CPC; Cost per click) หรือที่เรียกว่า Bid หรือ Bidding นั้นเอง

ส่วนที่สองก็คือ Quality Score หรือคะแนนคุณภาพของโฆษณาเรานั้นเอง โดย Quality Score ก็จะคำนวณความเกี่ยวข้องตัวโฆษณาและความเกี่ยวข้องของเว็บไซต์ ว่าเกี่ยวข้องกับ Keyword มากน้อยแค่ไหน

ซึ่งเมื่อนำ CPC มาคูณกับ Quality Score ก็จะได้เป็น Ad Rank ออกมา ก็คือตำแหน่งของเรานั้นเอง จากภาพข้างต้นจะสังเกตได้ว่าผู้ลงโฆษณาที่มี Quality Score สูงนั้น จะมีตำแหน่งที่ดี ในราคาที่ต่ำมากๆ

 

รูปแบบโฆษณาของโฆษณา Search Ads

โดยรูปแบบการโฆษณาของ Google รูปแบบ Search ads จะมีโฆษณา 3 รูปแบบหลักๆ

ตัวอย่างโฆษณา Google Search - Expanded Text ads

1. Expanded text ads คือโฆษณาแบบทั่วไป มี Headline 3 อัน, Description 2 อัน โดย Headline แต่ละอันจะมีความจุสูงสุด 30 ตัว ส่วน Description มีความจุที่ 90 ตัว ซึ่งวิธีการเขียนคำโฆษณานั้น ต้องเขียนให้สอดคล้องกับคีย์เวิร์ดที่เราซื้อด้วย เพื่อมี Quality Score ที่ดี

ตัวอย่างการตั้งค่า Responsive Search Ads

ตัวอย่างตอนสร้าง Responsive Search ads

2. Responsive search ads คือโฆษณารูปแบบใหม่ที่การสลับการแสดงผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยจะใส่ Headline ได้ 15 รูปแบบ และใส่ Description ได้ 4 รูปแบบ โดยระบบจะทำการสลับการแสดงผลไปมา โดยยึดข้อความที่จะดึงมาแสดงผลเข้ากับคีย์เวิร์ดของผู้ใช้ หลักสำคัญคือการกด pin ที่ Headline และ Description ต่างๆไม่ให้มันสลับความหมายมั่วไปมา

โดยหลักการสร้างโฆษณานั้นให้สร้าง Expanded text ads อย่างน้อย 2 โฆษณา และ Responsive search ads 1 โฆษณา

 

3. Dynamic search ads คือโฆษณารูปแบบที่เราไม่ต้องใส่คีย์เวิร์ดเข้าไปในแคมเปญ ระบบไปจับหาคำ Landing page ที่มีคำใกล้เคียงกับคำค้นหามาให้ แล้วดึงข้อมูลสินค้าจากในเว็บขึ้นมาแสดงให้ ส่วนใหญ่จะได้ใช้ในเว็บไซต์ E-Commerce

 

Landing page ตัวแปรสำคัญการทำโฆษณา

ตัวอย่าง Landing page ของ Geekster Digital

โฆษณาช่องทาง Google Ads การ Targeting และการคิดคีย์เวิร์ดให้เจาะจงพร้อมปิดการขายนั้นสำคัญมากๆ แต่หากส่งคนมาแล้วตัวเว็บไซต์ที่ส่งคนมานั้น ไม่มีข้อมูลที่สามารถจูงใจลูกค้าได้ ไม่มีรีวิว ไม่มีเนื้อหาชวนเชื่อ ไม่น่าเชื่อถือไม่สวยงาม ใช้งานยาก อ่านยาก ก็อาจทำให้ลูกค้าไม่ตัดสินใจซื้อ ซึ่งการมี Landing page ที่ดี ก็ช่วยในเรื่องของการปิดการขายได้ง่ายขึ้น

 

การใช้ Bid Adjustment ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแคมเปญ

Google Bid Multiplier หรือ Bid Adjustment 

Bid Multiplier หรือ Bid Adjustment คือส่วนนึงที่สำคัญสำหรับการทำแคมเปญโฆษณา Google Ads มากๆ Bid Multiplier คือการเพิ่มและลดส่วนต่างๆที่ต้องการเน้นและไม่ต้องการ โดยการเพิ่ม-ลดเป็นเปอร์เซ็น

ซึ่งในส่วนต่างๆที่สามารถทำการใช้งาน Bid Multiplier คือส่วนของ Demographics คือเพศ ช่วงอายุ, Ad Schedule คือช่วงเวลา, Location คือพื้นที่เป้าหมายที่เราเลือก และ Devices คือเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ tablet, smartphone และ PC ซึ่งเราสามารถทำการเน้น-ลด ส่วนต่างๆพวกนี้ได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแคมเปญมากขึ้น

 

Metrics พื้นฐานที่ต้องรู้

Impressions คือ จำนวนครั้งที่โฆษณาได้ทำการแสดงผล ไม่ว่าผู้ใช้จะเห็นเราจริงๆหรือไม่ก็ตาม เช่นหากเรา Bid ต่ำเกินไปจนอันดับไปอยู่ 4-5 ก็อาจส่งผลให้โฆษณาของเราถูกนำไปแสดงด้านล่างของหน้าแรก จนทำให้ผู้ใช้ไม่ได้เลื่อนลงมาข้างล่าง ทำให้ไม่เห็นโฆษณาจริงๆ ซึ่งส่วนนี้ก็จะถูกมานับเป็น Impression ด้วยเช่นกัน

Clicks คือ จำนวนครั้งที่โฆษณาได้ถูกคลิก ในส่วนนี้จะนับทันทีเมื่อเกิดการคลิก หากผู้ใช้คลิกที่โฆษณาแล้วเว็บไซต์โหลดช้า ทำให้ผู้ใช้ออกไปก่อนในส่วนนี้ก็จะถูกนับเป็นคลิกด้วยเช่นกัน

CTR(Click through rate) คือ อัตราการคลิกโฆษณาจากการแสดงผลทั้งหมด โดยคิดจากนำ Click หารด้วย Impression เช่นหาก CTR 10% ก็คือทุกๆการแสดง 100 ครั้ง จะเกิดการคลิก 10 ครั้ง เป็นต้น

Avg. CPC หรือ Average Cost per Click คือ ราคาเฉลี่ยต่อการคลิก 1 ครั้ง ซึ่งในหนึ่งวัน การคลิกแต่ละครั้งราคาอาจจะไม่เท่ากันเลย ซึ่งตรงนี้ก็จะแสดงเป็นราคาโดยเฉลี่ย ซึ่งเราสามารถกำหนด CPC ได้ที่ระดับ Ad group และระดับ Keywords

Conversions คือจำนวนการเกิดสิ่งที่เป็นผลลัพธ์ทางโฆษณาที่เราต้องการเช่น การกรอกรายชื่อ เบอร์โทร อีเมลไว้, การแอดไลน์, การกดโทรหาธุรกิจ, การ Add to cart หรือการซื้อสินค้า เป็นต้น

ซึ่งหากในเว็บไซต์มี Conversion หลายรูปแบบเราก็สามารถตั้งให้แคมเปญทำการ Optimize เน้นจุดหลักๆสำคัญได้ เช่น มีการสั่งซื้อ, การกด Add to cart และการทิ้งอีเมลเพื่อติดตามข่าวและโปรโมชั่น เราอาจเลือกการสั่งซื้อเป็นเป้าหมายหลักของเรา แล้ว Add to cart กับ Email Subscribe เป็น เป้าหมายลองก็สามารถทำได้ โดย Conversion จะถูกแบ่งออกมาเป็นสองรูปแบบคือ Conversions และ All Conv.(All Conversions)

Conversion Rate คืออัตราหรือเปอร์เซ็นการเกิด Conversion โดยคิดจากนำ Conversion หารด้วย Click อธิบายให้เข้าใจง่ายมากขึ้นคือ หลังจากเกิดคลิกแล้ว สามารถแปลงเป็นการเกิด Conversion ได้กี่เปอร์เซ็น เช่น ถ้า Conversion Rate 1% คือทุกๆ 100 คลิก เราจะเกิด 1 Conversion เป็นต้น

 

การทำ Remarketing และ RLSA(Remarketing list for search ads)

ตัวอย่างการทำงานของ Remarketing

Remarketing คือการทำโฆษณากลับไปหาคนที่สนใจสินค้าของเรา เคยเข้าเว็บไซต์เราแล้ว แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจสั่งซื้อสินค้า หรือยังไม่ได้เกิด Conversion ที่เราต้องการ เราก็จะทำการโฆษณากลับไปหาคนกลุ่มนี้เพื่อดึงให้กลับมาสร้าง Conversion

Facebook Ads ก็สามารถทำ Remarketing ได้เช่นกัน [อ่านเพิ่มเติม]

RLSA(Remarketing list for search ads) คือการเน้นการแสดงผลโฆษณาช่องทาง Search ads มากขึ้น หากคนที่เคยเข้าเว็บเราแล้ว มาค้นหาคำต่างๆที่เราซื้อคีย์เวิร์ดไว้

โดย Audiences พื้นฐานของ Remarketing ที่ระบบเตรียมมาให้ หรือคนที่ไม่ทำ Conversion Tracking ก็มักจะเป็นการยิงแบบ All Users คือยิงหาทุกๆคนที่เคยเข้าเว็บไซต์ของเรา ทางที่ดีในการทำ Remarketing นั้นคือการกำหนดเงื่อนไขของ Audiences เช่น ยิงกลับไปหาคนที่เคยเข้าเว็บไซต์เราแล้วยังไม่สร้าง Conversions หรือ ยิงโฆษณากลับไปหาคนที่ซื้อสินค้าประเภทนึงไปแล้ว แล้วเราต้องการให้เค้าซื้ออย่างอื่นต่อ เช่นถ้าลูกค้าซื้อสินค้าเคลือบเงาสีรถไปแล้ว เราอาจจะเอาคนกลุ่มนี้มา Remarketing แนะนำสินค้าน้ำยาขัดเบาะรถ แบบนี้ก็สามารถทำได้ หรือการครบรอบสินค้าประเภทนั้นแล้ว เช่น ลูกค้าสั่งโฟมล้างหน้าไป โดยถ้าเราคิดว่าประมาณ 1 เดือนลูกค้าน่าจะใช้หมด พอใกล้ๆครบระยะเวลานั้นเราก็นำคนที่เคยเกิด Conversion ไปแล้วมาทำการ Remarketing อีกครั้งได้

 

วัดผลลัพธ์โฆษณาด้วย Conversion Tracking

การทำโฆษณาช่องทาง Google Ads หรือโฆษณาช่องทางอื่นเกือบทุกรูปแบบนั้น จะไม่มีประสิทธิภาพสูงสุดเลยถ้าขาด Conversion Tracking ไป ซึ่งการทำ Conversion Tracking ในโฆษณารูปแบบ Google Ads นั้นก็จะทำให้ทราบว่า แคมเปญที่เราทำ บรรลุจุดประสงค์โฆษณาต่างๆของเราไปมากน้อยแค่ไหน การคุ้มค่าของการลงค่าโฆษณาไป ว่าคุ้มค่าไหม รวมถึงส่งผลต่อการ Optimize แคมเปญให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จะทำให้เราทราบข้อมูลที่มีคุณค่ากับธุรกิจของเรามากมาย เช่น คีย์เวิร์ดหรือข้อความโฆษณาแบบไหนที่เราเลือกใช้นั้นส่งคนมาที่เว็บไซต์แล้วเกิด Conversion หรืออย่าง ช่วงอายุ, ช่วงเวลา, พื้นที่ และอุปกรณ์สื่อสารแบบไหนที่เกิด Conversion คุ้มค่า หรือไม่คุ้มอย่างไร ก็จะทำให้เราสามารถปรับปรุงแคมเปญของเราต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

โดยการใช้ Conversion ก็ต้องคำนึงถึง Attribution Model ด้วย (อ่าน Attribution Model เพิ่มเติม)

 

การใช้งานร่วมกับ Google Analytics และ Google Tag Manager

การทำงานของ Google Tag Manager ร่วมกับแพลตฟอร์มอื่นๆ

การทำโฆษณาทาง Google Ads นั้น สามารถทำการเชื่อมบัญชีโฆษณาเข้ากับบัญชี Google Analytics ทำให้ข้อมูลจากทั้งสองช่องทาง รวมถึง Metrics สำคัญต่างๆก็จะถูก sync เข้าหากัน คนที่ใช้งานฝั่ง Google Analytics ก็จะสามารถเห็นข้อมูลจาก Google Ads ได้ ทำให้สามารถนำข้อมูลชุดนี้ไปวิเคราะห์ร่วมกับ Media Channel ต่างๆและใน Google Ads ก็จะได้เมทริกซ์จากฝั่ง Google Analytics มาเพิ่ม ทั้งยังสามารถเซ็ท Goal ผ่านช่องทาง Google Analytics และส่งให้มาเป็น Conversion ของ Google Ads ได้เช่นกัน รวมถึงการสร้าง Audiences รูปแบบต่างๆเพื่อนำมาทำโฆษณา Remarketing ต่อได้ ซึ่งสามารถ Segment ได้หลากหลายรูปแบบมากๆ

ส่วน Google Tag manager นั้นใช้เพื่อติดโค้ดต่างๆไม่ว่าจะเป็น Remarketing Code, Google Analytics Code, Conversion Tracking Code และ Facebook Pixel’s ด้วย ฯลฯ รวมทั้งยังสามารถใช้ในการทำ Event Tracking เพิ่มเติม เช่นจำนวนคนคลิกที่เมนูต่างๆในเว็บ จำนวนเท่าไหร่ จำนวนคนที่เลื่อน Scroll เม้าส์ลงมาจุดต่างๆ กี่เปอร์เซ็นกี่คน คนคลิกแอดไลน์ คลิกปุ่มต่างๆกี่คน ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งเราสามารถใช้ Event Tracking มาทำเป็น Conversion ได้ด้วย อย่างการ Track คนแอดไลน์ ก็ต้องใช้ Google Tag Manager ในการช่วยตรงจุดนี้

 

คุณพร้อมหรือยัง?

Google Ads เป็นโฆษณาแบบ Paid Media อีกช่องทางนึงที่น่าสนใจมากๆ เพราะสามารถเห็นผลได้รวดเร็ว มีเครื่องมือให้ใช้หลากหลายรูปแบบ ตอบโจทย์การตลาดได้ตั้งแต่ขั้น Awareness จนถึง Purchase

แต่ไม่ใช่ว่าคุณทำ Google Ads เพียงช่องทางเดียว จะเพียงพอต่อธุรกิจของคุณ การใช้ช่องทางหลายๆร่วมกัน จะส่งผลให้ Media ต่างๆช่วยส่งเสริมกัน ทั้งยังดักคนได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นตัว Facebook ads, Instagram, SEO หรือแม้กระทั่ง Twitter ก็ตาม [เทคนิคการใช้ Google Ads ร่วมกับ SEO]

หากคุณมีเว็บไซต์ที่สวยงามพร้อมเนื้อหาที่น่าสนใจ มีสินค้าที่ดีมีคุณภาพ มีการวางแผนใช้กลยุทธ์ที่ตามหลักที่ถูกต้อง มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ตรงจุด รับรองว่า Google Ads จะเป็นช่องทางที่ทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตขึ้นได้อย่างแน่นอน

 

ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร

เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย

Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)

 

ขอบคุณภาพจาก https://www.wordstream.com

อ่านบทความ Digital Marketing อื่นๆเพิ่มเติม