Google Ads คืออะไร คู่มือการทำ Google Ads

Google Ads(Google AdWords)คืออะไร? คู่มือการทำโฆษณาบน Google Ads(เทคนิค)

  • Google Ads คืออะไร คู่มือการทำ Google Ads

Google Ads(Google AdWords) คือเครื่องมือการโฆษณาของ Google ซึ่งประกอบไปด้วยโฆษณา 5 รูปแบบหลัก โดยเครื่องมือที่ดังที่สุดของ Google Ads คือ Search ads หรือเครื่องมือรูปแบบการค้นหา ซึ่ง Google เป็น Search Engine อันดับ 1 ของโลก เป็นช่องทางที่แทบทุกคนในไทยใช้งาน ทั้งเวลาต้องการหาสินค้า หรือไม่ว่าจะมีปัญหา หรือต้องการคำตอบเรื่องอะไร ก็ต้องมาที่ Google Search Engine

ไม่ว่าธุรกิจไหนๆก็ต้องใช้โฆษณา Google Ads เกือบทั้งสิ้น ซึ่งโฆษณาแต่ละรูปแบบก็มีลักษณะการใช้งาน, จุดประสงค์ของการโฆษณาและการแสดงผลที่แตกต่างกัน ทั้งแสดงผลในหน้า Search Engine ของ Google, แสดงผลในเว็บไซต์พาร์ทเนอร์และเว็บไซต์ Youtube.com

หากใครยังไม่มีบัญชีโฆษณา > วิธีสมัครบัญชี Google Ads

 

Google Ads ทั้ง 6 รูปแบบมีอะไรบ้าง แล้วแสดงผลที่ไหน?

1. Search Ads หรือรูปแบบการค้นหา

Google Ads(Google AdWords)คืออะไร? ตัวอย่างการแสดงผลโฆษณา Google Search Ads 

Search Ads หรือที่เรียกว่า Paid Search คือโฆษณารูปแบบการค้นหา โดยมีลักษณะให้เราทำการซื้อคีย์เวิร์ด แล้วเมื่อมีคนค้นหาผ่าน Search Engine เข้ามาตามคีย์เวิร์ดที่เราซื้อ โฆษณาก็จะไปปรากฏบน Search Engine ทันที ซึ่งโฆษณาประเภทนี้ตรงกับเจตนา(Intent)ของผู้ค้นหามากๆ จึงทำให้ปิดการขายได้ง่ายที่สุด มีคุณภาพสูง เพราะผู้ใช้ที่ค้นหาตามคีย์เวิร์ดต่างๆเข้ามา ก็ต้องการซื้อสินค้าหรือบริการอะไรบางอย่างอยู่แล้ว ยิ่งเราสามารถเลือกคีย์เวิร์ดได้ตรงจุดมากเท่าไหร่ ก็จะส่งผลต่อ Conversion rate หรือการปิดการขายได้ง่ายขึ้น

2. GDN หรือ Google Display Network

GDN(Google Display Network)คือโฆษณารูปแบบแบนเนอร์ไปแสดงในจุดต่างๆทั้งเว็บไซต์พาร์ทเนอร์ของ Google อย่างในไทยก็จะเป็นพวก sanook.com, kapook.com, matichon.co.th, khaosod.com ฯลฯ และยังแสดงผลใน youtube.com อีกด้วย

ตัวอย่างการแสดงผลโฆษณา GDN(Google Display Network) ตัวอย่างการแสดงผลโฆษณา GDN(Google Display Network)ในเว็บไซต์ Publisher

จากภาพข้างต้นจะเห็นว่ามุมขวาของแต่ละช่องการแสดงผลจะมีเครื่องหมาย 2 รูปแบบ แบบแรกคือวงสีน้ำเงิน สัญลักษณ์แบบนี้จะเป็นโฆษณาของ Google โดยตรง ส่วนวงสีส้มจะเป็นโฆษณาของ Adchoices ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์ของ Google

GDN ยังมีประเภทแยกย่อยไปอีก 3 ประเภทก็คือ

        1. โฆษณาแบบแบนเนอร์ทั่วไป เหมือนตัวอย่างข้างบน
        1. Gmail ads คือโฆษณาที่ไปแสดงผลในส่วนของ Gmail
        1. Lightbox ads คือโฆษณาที่เน้นให้คนมา Engage กับแบรนด์เพื่อรับข่าวสารหรือโปรโมชั่นเพิ่มเติม ไม่เน้นสร้าง Click เข้าสู่เว็บไซต์ ซึ่งแสดงผลใน Slot อันเดียวกับ GDN แบบธรรมดา

3. Video Ads หรือ Youtube Ads

Video Ads(Youtube Ads)คือโฆษณาในรูปแบบวิดีโอที่มีการแสดงผลในเว็บไซต์ youtube.com และเว็บไซต์เครือข่ายพาร์ทเนอร์ต่างๆ โดย Youtube Ads ก็จะแบ่งเป็นโฆษณาย่อยๆอีกอีกหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบกดข้ามได้และกดข้ามไม่ได้

ตัวอย่างโฆษณา Youtube Ads รูปแบบ TrueView in-stream ads(Skippable ads) ตัวอย่างโฆษณา Youtube Ads – รูปแบบ TrueView in-stream ads(Skippable ads) แบบกดข้ามได้

4. Universal App Campaign หรือ Universal App Install Campaign

Universal App Campaign หรือ Universal App Install Campaign คือการโฆษณาเพื่อให้คนมาติดตั้งแอพพลิเคชั่น หรือโฆษณาหาคนเพื่อสร้างยอดสั่งซื้อในแอพฯ โดยจะแสดงผลใน Play Store, Search engine, Youtube, Publisher, Admob เป็นต้น

ตัวอย่างโฆษณา Universal App Campaign 

5. Shopping Ads หรือ Google Shopping Campaign

Shopping Ads คือโฆษณาที่แสดงผลในหน้าการค้นหา Search engine เช่นกัน โดยจะมีลักษณะแสดงเป็นการ์ดรายการสินค้าพร้อมรายละเอียด ราคา เว็บไซต์ คำอธิบาย โดยจะแบ่งเป็น Showcase Shopping ads และ Product Shopping ads ซึ่งในไทยของเราตอนนี้จะมีแค่ Product Shopping ads

ตัวอย่างโฆษณา Google Shopping Ads

6. Discovery Ads

Discovery Ads คือโฆษณาที่แสดงผลในแอพพลิเคชั่น Google หรือที่เรียกว่า Google Discover Feed มีลักษณะเป็นหน้าข่าวให้เราเสพ content เนื้อหาโฆษณามีลักษณะเป็น Native ads เนียนไปกับเนื้อหา Content

Discovery Campaign Surface

Discovery ads บนหน้า Youtube Home Feed, Google Discover Feed และ Gmail promotions tab.

 
หากเราหยิบเครื่องมือของ Google Ads ต่างๆมาใช้งานให้สอดคล้องกับ Buyer Journey ของลูกค้า ก็จะทำให้เราได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น
 

Campaign Structure โครงสร้างดี ต้นทุนลด ผลลัพธ์เพิ่ม

ไม่ว่าเราจะทำโฆษณาช่องทางไหนก็ตาม เราก็ต้องรู้จักกับโครงสร้างของบัญชีนั้นๆ ซึ่งการที่เราเข้าใจวิธีการวางโครงสร้างอย่างเป็นระบบ ก็จะทำให้เราสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น ผลลัพธ์โฆษณาดีขึ้น มีการทับซ้อนและการประมูลราคาแข่งกันเองของคีย์เวิร์ดน้อยลง

Search Ads - Campaign Structure

  • โดยโครงสร้างของแคมเปญ Google Ads นั้น ใน 1 บัญชีโฆษณาจะบรรจุไปด้วยหลายๆ Campaign
  • ใน 1 Campaign ประกอบไปด้วยหลายๆ Ad group
  • และใน 1 Ad group จะบรรจุไปด้วยหลายๆ Keywords และหลายๆ Ads
 
ตัวอย่างโครงสร้างแคมเปญ Search ads Campaign

ตัวอย่างการวางโครงสร้างร้านอุปกรณ์การแพทย์

โดยการแบ่ง Campaign และ Ad group นั้นเราจะแบ่งกันตามลักษณะของ Keyword จากภาพจะเห็นได้ว่าสินค้า 1 ประเภท สามารถมีคำค้นหาได้หลายรูปแบบมากๆ อย่างที่นอนลม มีทั้ง ที่นอนลม, เตียงลม, ที่นอนรังผึ้ง, ที่นอนกันแผลกดทับ ฯลฯ เราต้องทำการแบ่ง Keyword พวกนี้แยกออกจากกัน เพื่อเราจะได้เขียนคำโฆษณาให้สอดคล้องกับ Keyword เพื่อเพิ่ม Quality Score และลดงบประมาณโฆษณานั้นเอง

วิธีการคิดเงินของโฆษณา Google Ads

วิธีการคิดเงินค่าโฆษณาของระบบ Google

การคิดเงินของระบบ Google Ads นั้นมีหลายรูปแบบ อย่างโฆษณา Search และ Shopping Ads รวมถึง GDN ก็จะมีคิดเงินเป็นรูปแบบ CPC(Cost per click) คือเสียเงินเมื่อมีคนคลิกที่โฆษณาเข้าสู่เว็บไซต์เราเท่านั้น

ซี่ง GDN ก็จะมีการคิดเงินอีกรูปแบบคือ CPM(Cost per 1,000 Impression) หรือคิดราคาต่อ1,000 คนที่เห็นโฆษณา คือกำหนดไปเลยว่าเราจะยอมจ่ายเงินที่เท่าไหร่ ตามจำนวนคนเห็นโฆษณา 1,000 ครั้ง

ส่วน Youtube Ads หรือ Video Ads นั้นจะมีระบบการคิดเงินเป็นรูปแบบ CPV(Cost per view) ราคาต่อ 1 view กับคิดเงินเป็น CPM เช่นกัน

 

Keyword Planner เครื่องมือหาไอเดียคีย์เวิร์ด

ตัวอย่างการใช้งาน Keyword Planner 

เครื่องมือสำคัญที่คนทำโฆษณาช่องทาง Google Ads ต้องใช้งานคือ Keyword Planner ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการช่วยหาไอเดียคีย์เวิร์ด โดยมีลักษณะการใส่คำที่เราคีย์เวิร์ดที่เราคิดได้ลงไป สูงสุด 10 คำ โดยจะช่วยหาคำต่างๆมาให้เพิ่มเติม

เราสามารถใช้ Keyword Planner ในการวิเคราะห์หาไอเดียคีย์เวิร์ดแล้ว เรายังสามารถใช้เพื่อดูจำนวนการค้นหาต่อเดือน(Search Volume) และใช้เพื่อประมาณราคาตอนตั้งค่า Max CPC ตอนเริ่มต้นของแคมเปญได้

 

Keyword Match types คืออะไร?

Keyword Match type คือการใส่เครื่องหมายเพิ่มเติมในคีย์เวิร์ด เพื่อสร้างเงื่อนไขในการที่คำค้นหาต่างๆจะมาติดคีย์เวิร์ดที่เราซื้อเพื่อให้โฆษณาแสดงผล

เมื่อเราได้ไอเดียการซื้อคีย์เวิร์ดมาจาก Keyword Planner แล้ว สิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญก็คือ Keyword Match types ซึ่งในส่วนนี้จะส่งผลต่อผลลัพธ์และงบประมาณค่าโฆษณา หากเราเลือกใช้ Match types ได้ถูกต้อง ค่าโฆษณาของเราก็ต้องถูกลง ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น โดย Keyword Match type มีด้วยกันทั้งหมด 4 รูปแบบ คือ

1. Broad match คือคีย์เวิร์ดรูปแบบนึงที่เราไม่ต้องใส่เครื่องหมายอะไรให้คีย์เวิร์ดนั้นๆเลย โดยรูปแบบการทำงานของ Match type ประเภทนี้คือ การไปจับหาคำค้นหาอะไรก็แล้วแต่ที่ระบบคิดว่าใกล้เคียงกับคำที่เราซื้อ เช่น ถ้าคุณซื้อคีย์เวิร์ดคำว่า บ้าน พิษณุโลก คำค้นหาคำว่า ที่ดิน พิษณุโลก ก็สามารถมาติดเราได้เช่นกัน

2. Broad match modiflier คือคีย์เวิร์ดที่แคบรองลงมาจาก Broad match อีก โดย Match type ประเภทนี้ใช้เครื่องหมายบวก(+) เป็นสัญลักษณ์ในการสร้างเงื่อนไขของคำที่จะมาติด เช่นเราขายสินค้า เฟอร์นิเจอร์ไม้ แล้วเราซื้อคีย์เวิร์ดคำว่า +เฟอร์นิเจอร์ +ไม้ คำค้นหาที่สามารถมาติดเราได้อย่างเช่น เฟอร์นิเจอร์เก้าอี้ไม้, สั่งทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ และ เฟอร์นิเจอร์ไม้ราคา คำค้นหาที่เข้ามาติดจะมารูปแบบเข้ามาต่อหรือแทรกทั้ง กลาง, หน้า และหลัง

3. Phrase match คือคีย์เวิร์ดที่แคบรองลงมาจาก Broad match modiflier โดย Match type ประเภทนี้จะใช้เครื่องหมายฟันหนู “Keyword” เขียนก่อนเริ่มคีย์เวิร์ดและปิดคีย์เวิร์ดท้ายคีย์เวิร์ด โดยลักษณะของการทำงานของคีย์เวิร์ดเป็นดังนี้ เช่นเราซื้อคีย์เวิร์ดคำว่า “รองเท้า Nike” คำที่สามารถมาติดเราได้อย่างเช่น รองเท้า Nike สีดำ, เว็บขายรองเท้า Nike และ สั่งรองเท้า Nike Lazada จะสังเกตได้ว่าเงื่อนไขของ Phrase match คือไม่ว่าคำค้นหาต่อหน้าและหลังคีย์เวิร์ดที่เราซื้อคืออะไรให้เอามาให้หมด แต่จะไม่มีคำที่มาแทรกตรงกลางภายในเครื่องหมาย “..”

4. Exact match คือคีย์เวิร์ดที่ถือว่าแคบที่สุดเป็น โดยเป็น Match type ที่ใช้เครื่องหมายวงเล็บแบบ [Keyword] โดยเงื่อนไขของ Exact match คือต้องเหมือนกับคีย์เวิร์ดที่เราซื้อเป๊ะๆ ห้ามมีอะไรต่อหน้าและหลัง เช่น ถ้าเราซื้อคีย์เวิร์ด [เมล็ดพันธุ์พืช] คำค้นหาที่จะมาติดคีย์เวิร์ดเราได้ เช่น เมล็ดพันธุ์พืช หรือ เมล็ดพันพืช ก็สามารถมาติดได้เช่นกัน

 

ระบบการประมูล Google Ads Auction

วิธีการคำนวณตำแหน่งการแสดงผล Ad Rank

วิธีคำนวณ Ad Rank ของระบบ Google Ads

ก่อนที่ระบบของ Google จะดึงโฆษณาของใครไปแสดงผลนั้น ระบบก็มีการคำนวณคะแนนมาจากหลายๆส่วน ส่วนแรกที่ทุกคนน่าจะทราบกันดีก็คือ ราคาต่อคลิก(CPC; Cost per click) หรือที่เรียกว่า Bid หรือ Bidding นั้นเอง

ส่วนที่สองก็คือ Quality Score หรือคะแนนคุณภาพของโฆษณาเรานั้นเอง โดย Quality Score ก็จะคำนวณความเกี่ยวข้องตัวโฆษณาและความเกี่ยวข้องของเว็บไซต์ ว่าเกี่ยวข้องกับ Keyword มากน้อยแค่ไหน

ซึ่งเมื่อนำ CPC มาคูณกับ Quality Score ก็จะได้เป็น Ad Rank ออกมา ก็คือตำแหน่งของเรานั้นเอง จากภาพข้างต้นจะสังเกตได้ว่าผู้ลงโฆษณาที่มี Quality Score สูงนั้น จะมีตำแหน่งที่ดี ในราคาที่ต่ำมากๆ

 

รูปแบบโฆษณาของโฆษณา Search Ads

โดยรูปแบบการโฆษณาของ Google รูปแบบ Search ads จะมีโฆษณา 3 รูปแบบหลักๆ

ตัวอย่างโฆษณา Google Search - Expanded Text ads

1. Expanded text ads คือโฆษณาแบบทั่วไป มี Headline 3 อัน, Description 2 อัน โดย Headline แต่ละอันจะมีความจุสูงสุด 30 ตัว ส่วน Description มีความจุที่ 90 ตัว ซึ่งวิธีการเขียนคำโฆษณานั้น ต้องเขียนให้สอดคล้องกับคีย์เวิร์ดที่เราซื้อด้วย เพื่อมี Quality Score ที่ดี

ตัวอย่างการตั้งค่า Responsive Search Ads

ตัวอย่างตอนสร้าง Responsive Search ads

2. Responsive search ads คือโฆษณารูปแบบใหม่ที่การสลับการแสดงผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยจะใส่ Headline ได้ 15 รูปแบบ และใส่ Description ได้ 4 รูปแบบ โดยระบบจะทำการสลับการแสดงผลไปมา โดยยึดข้อความที่จะดึงมาแสดงผลเข้ากับคีย์เวิร์ดของผู้ใช้ หลักสำคัญคือการกด pin ที่ Headline และ Description ต่างๆไม่ให้มันสลับความหมายมั่วไปมา

โดยหลักการสร้างโฆษณานั้นให้สร้าง Expanded text ads อย่างน้อย 2 โฆษณา และ Responsive search ads 1 โฆษณา

 

3. Dynamic search ads คือโฆษณารูปแบบที่เราไม่ต้องใส่คีย์เวิร์ดเข้าไปในแคมเปญ ระบบไปจับหาคำ Landing page ที่มีคำใกล้เคียงกับคำค้นหามาให้ แล้วดึงข้อมูลสินค้าจากในเว็บขึ้นมาแสดงให้ ส่วนใหญ่จะได้ใช้ในเว็บไซต์ E-Commerce

 

Landing page ตัวแปรสำคัญการทำโฆษณา

ตัวอย่าง Landing page ของ Geekster Digital

โฆษณาช่องทาง Google Ads การ Targeting และการคิดคีย์เวิร์ดให้เจาะจงพร้อมปิดการขายนั้นสำคัญมากๆ แต่หากส่งคนมาแล้วตัวเว็บไซต์ที่ส่งคนมานั้น ไม่มีข้อมูลที่สามารถจูงใจลูกค้าได้ ไม่มีรีวิว ไม่มีเนื้อหาชวนเชื่อ ไม่น่าเชื่อถือไม่สวยงาม ใช้งานยาก อ่านยาก ก็อาจทำให้ลูกค้าไม่ตัดสินใจซื้อ ซึ่งการมี Landing page ที่ดี ก็ช่วยในเรื่องของการปิดการขายได้ง่ายขึ้น

 

การใช้ Bid Adjustment ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแคมเปญ

Google Bid Multiplier หรือ Bid Adjustment 

Bid Multiplier หรือ Bid Adjustment คือส่วนนึงที่สำคัญสำหรับการทำแคมเปญโฆษณา Google Ads มากๆ Bid Multiplier คือการเพิ่มและลดส่วนต่างๆที่ต้องการเน้นและไม่ต้องการ โดยการเพิ่ม-ลดเป็นเปอร์เซ็น

ซึ่งในส่วนต่างๆที่สามารถทำการใช้งาน Bid Multiplier คือส่วนของ Demographics คือเพศ ช่วงอายุ, Ad Schedule คือช่วงเวลา, Location คือพื้นที่เป้าหมายที่เราเลือก และ Devices คือเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ tablet, smartphone และ PC ซึ่งเราสามารถทำการเน้น-ลด ส่วนต่างๆพวกนี้ได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแคมเปญมากขึ้น

 

Metrics พื้นฐานที่ต้องรู้

Impressions คือ จำนวนครั้งที่โฆษณาได้ทำการแสดงผล ไม่ว่าผู้ใช้จะเห็นเราจริงๆหรือไม่ก็ตาม เช่นหากเรา Bid ต่ำเกินไปจนอันดับไปอยู่ 4-5 ก็อาจส่งผลให้โฆษณาของเราถูกนำไปแสดงด้านล่างของหน้าแรก จนทำให้ผู้ใช้ไม่ได้เลื่อนลงมาข้างล่าง ทำให้ไม่เห็นโฆษณาจริงๆ ซึ่งส่วนนี้ก็จะถูกมานับเป็น Impression ด้วยเช่นกัน

Clicks คือ จำนวนครั้งที่โฆษณาได้ถูกคลิก ในส่วนนี้จะนับทันทีเมื่อเกิดการคลิก หากผู้ใช้คลิกที่โฆษณาแล้วเว็บไซต์โหลดช้า ทำให้ผู้ใช้ออกไปก่อนในส่วนนี้ก็จะถูกนับเป็นคลิกด้วยเช่นกัน

CTR(Click through rate) คือ อัตราการคลิกโฆษณาจากการแสดงผลทั้งหมด โดยคิดจากนำ Click หารด้วย Impression เช่นหาก CTR 10% ก็คือทุกๆการแสดง 100 ครั้ง จะเกิดการคลิก 10 ครั้ง เป็นต้น

Avg. CPC หรือ Average Cost per Click คือ ราคาเฉลี่ยต่อการคลิก 1 ครั้ง ซึ่งในหนึ่งวัน การคลิกแต่ละครั้งราคาอาจจะไม่เท่ากันเลย ซึ่งตรงนี้ก็จะแสดงเป็นราคาโดยเฉลี่ย ซึ่งเราสามารถกำหนด CPC ได้ที่ระดับ Ad group และระดับ Keywords

Conversions คือจำนวนการเกิดสิ่งที่เป็นผลลัพธ์ทางโฆษณาที่เราต้องการเช่น การกรอกรายชื่อ เบอร์โทร อีเมลไว้, การแอดไลน์, การกดโทรหาธุรกิจ, การ Add to cart หรือการซื้อสินค้า เป็นต้น

ซึ่งหากในเว็บไซต์มี Conversion หลายรูปแบบเราก็สามารถตั้งให้แคมเปญทำการ Optimize เน้นจุดหลักๆสำคัญได้ เช่น มีการสั่งซื้อ, การกด Add to cart และการทิ้งอีเมลเพื่อติดตามข่าวและโปรโมชั่น เราอาจเลือกการสั่งซื้อเป็นเป้าหมายหลักของเรา แล้ว Add to cart กับ Email Subscribe เป็น เป้าหมายลองก็สามารถทำได้ โดย Conversion จะถูกแบ่งออกมาเป็นสองรูปแบบคือ Conversions และ All Conv.(All Conversions)

Conversion Rate คืออัตราหรือเปอร์เซ็นการเกิด Conversion โดยคิดจากนำ Conversion หารด้วย Click อธิบายให้เข้าใจง่ายมากขึ้นคือ หลังจากเกิดคลิกแล้ว สามารถแปลงเป็นการเกิด Conversion ได้กี่เปอร์เซ็น เช่น ถ้า Conversion Rate 1% คือทุกๆ 100 คลิก เราจะเกิด 1 Conversion เป็นต้น

 

การทำ Remarketing และ RLSA(Remarketing list for search ads)

ตัวอย่างการทำงานของ Remarketing

Remarketing คือการทำโฆษณากลับไปหาคนที่สนใจสินค้าของเรา เคยเข้าเว็บไซต์เราแล้ว แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจสั่งซื้อสินค้า หรือยังไม่ได้เกิด Conversion ที่เราต้องการ เราก็จะทำการโฆษณากลับไปหาคนกลุ่มนี้เพื่อดึงให้กลับมาสร้าง Conversion

Facebook Ads ก็สามารถทำ Remarketing ได้เช่นกัน [อ่านเพิ่มเติม]

RLSA(Remarketing list for search ads) คือการเน้นการแสดงผลโฆษณาช่องทาง Search ads มากขึ้น หากคนที่เคยเข้าเว็บเราแล้ว มาค้นหาคำต่างๆที่เราซื้อคีย์เวิร์ดไว้

โดย Audiences พื้นฐานของ Remarketing ที่ระบบเตรียมมาให้ หรือคนที่ไม่ทำ Conversion Tracking ก็มักจะเป็นการยิงแบบ All Users คือยิงหาทุกๆคนที่เคยเข้าเว็บไซต์ของเรา ทางที่ดีในการทำ Remarketing นั้นคือการกำหนดเงื่อนไขของ Audiences เช่น ยิงกลับไปหาคนที่เคยเข้าเว็บไซต์เราแล้วยังไม่สร้าง Conversions หรือ ยิงโฆษณากลับไปหาคนที่ซื้อสินค้าประเภทนึงไปแล้ว แล้วเราต้องการให้เค้าซื้ออย่างอื่นต่อ เช่นถ้าลูกค้าซื้อสินค้าเคลือบเงาสีรถไปแล้ว เราอาจจะเอาคนกลุ่มนี้มา Remarketing แนะนำสินค้าน้ำยาขัดเบาะรถ แบบนี้ก็สามารถทำได้ หรือการครบรอบสินค้าประเภทนั้นแล้ว เช่น ลูกค้าสั่งโฟมล้างหน้าไป โดยถ้าเราคิดว่าประมาณ 1 เดือนลูกค้าน่าจะใช้หมด พอใกล้ๆครบระยะเวลานั้นเราก็นำคนที่เคยเกิด Conversion ไปแล้วมาทำการ Remarketing อีกครั้งได้

 

วัดผลลัพธ์โฆษณาด้วย Conversion Tracking

การทำโฆษณาช่องทาง Google Ads หรือโฆษณาช่องทางอื่นเกือบทุกรูปแบบนั้น จะไม่มีประสิทธิภาพสูงสุดเลยถ้าขาด Conversion Tracking ไป ซึ่งการทำ Conversion Tracking ในโฆษณารูปแบบ Google Ads นั้นก็จะทำให้ทราบว่า แคมเปญที่เราทำ บรรลุจุดประสงค์โฆษณาต่างๆของเราไปมากน้อยแค่ไหน การคุ้มค่าของการลงค่าโฆษณาไป ว่าคุ้มค่าไหม รวมถึงส่งผลต่อการ Optimize แคมเปญให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จะทำให้เราทราบข้อมูลที่มีคุณค่ากับธุรกิจของเรามากมาย เช่น คีย์เวิร์ดหรือข้อความโฆษณาแบบไหนที่เราเลือกใช้นั้นส่งคนมาที่เว็บไซต์แล้วเกิด Conversion หรืออย่าง ช่วงอายุ, ช่วงเวลา, พื้นที่ และอุปกรณ์สื่อสารแบบไหนที่เกิด Conversion คุ้มค่า หรือไม่คุ้มอย่างไร ก็จะทำให้เราสามารถปรับปรุงแคมเปญของเราต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

โดยการใช้ Conversion ก็ต้องคำนึงถึง Attribution Model ด้วย (อ่าน Attribution Model เพิ่มเติม)

 

การใช้งานร่วมกับ Google Analytics และ Google Tag Manager

การทำงานของ Google Tag Manager ร่วมกับแพลตฟอร์มอื่นๆ

การทำโฆษณาทาง Google Ads นั้น สามารถทำการเชื่อมบัญชีโฆษณาเข้ากับบัญชี Google Analytics ทำให้ข้อมูลจากทั้งสองช่องทาง รวมถึง Metrics สำคัญต่างๆก็จะถูก sync เข้าหากัน คนที่ใช้งานฝั่ง Google Analytics ก็จะสามารถเห็นข้อมูลจาก Google Ads ได้ ทำให้สามารถนำข้อมูลชุดนี้ไปวิเคราะห์ร่วมกับ Media Channel ต่างๆและใน Google Ads ก็จะได้เมทริกซ์จากฝั่ง Google Analytics มาเพิ่ม ทั้งยังสามารถเซ็ท Goal ผ่านช่องทาง Google Analytics และส่งให้มาเป็น Conversion ของ Google Ads ได้เช่นกัน รวมถึงการสร้าง Audiences รูปแบบต่างๆเพื่อนำมาทำโฆษณา Remarketing ต่อได้ ซึ่งสามารถ Segment ได้หลากหลายรูปแบบมากๆ

ส่วน Google Tag manager นั้นใช้เพื่อติดโค้ดต่างๆไม่ว่าจะเป็น Remarketing Code, Google Analytics Code, Conversion Tracking Code และ Facebook Pixel’s ด้วย ฯลฯ รวมทั้งยังสามารถใช้ในการทำ Event Tracking เพิ่มเติม เช่นจำนวนคนคลิกที่เมนูต่างๆในเว็บ จำนวนเท่าไหร่ จำนวนคนที่เลื่อน Scroll เม้าส์ลงมาจุดต่างๆ กี่เปอร์เซ็นกี่คน คนคลิกแอดไลน์ คลิกปุ่มต่างๆกี่คน ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งเราสามารถใช้ Event Tracking มาทำเป็น Conversion ได้ด้วย อย่างการ Track คนแอดไลน์ ก็ต้องใช้ Google Tag Manager ในการช่วยตรงจุดนี้

 

คุณพร้อมหรือยัง?

Google Ads เป็นโฆษณาแบบ Paid Media อีกช่องทางนึงที่น่าสนใจมากๆ เพราะสามารถเห็นผลได้รวดเร็ว มีเครื่องมือให้ใช้หลากหลายรูปแบบ ตอบโจทย์การตลาดได้ตั้งแต่ขั้น Awareness จนถึง Purchase

แต่ไม่ใช่ว่าคุณทำ Google Ads เพียงช่องทางเดียว จะเพียงพอต่อธุรกิจของคุณ การใช้ช่องทางหลายๆร่วมกัน จะส่งผลให้ Media ต่างๆช่วยส่งเสริมกัน ทั้งยังดักคนได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นตัว Facebook ads, Instagram, SEO หรือแม้กระทั่ง Twitter ก็ตาม [เทคนิคการใช้ Google Ads ร่วมกับ SEO]

หากคุณมีเว็บไซต์ที่สวยงามพร้อมเนื้อหาที่น่าสนใจ มีสินค้าที่ดีมีคุณภาพ มีการวางแผนใช้กลยุทธ์ที่ตามหลักที่ถูกต้อง มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ตรงจุด รับรองว่า Google Ads จะเป็นช่องทางที่ทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตขึ้นได้อย่างแน่นอน

 

ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร

เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย

Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)

 

ขอบคุณภาพจาก https://www.wordstream.com

อ่านบทความ Digital Marketing อื่นๆเพิ่มเติม

Discovery Campaign คืออะไร? สำคัญยังไง?

Discovery Ads คืออะไร? โฆษณาแบบใหม่ของ Google Ads ดียังไง?

วันนี้ผมนำอัพเดทใหม่ที่น่าสนใจมากๆ มาฝากทุกคนครับ โดยเดือนที่แล้ว Google Ads ได้ทำการเปิดผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่เรียกว่า Discovery Campaign ซึ่งจะเป็น Ad format แบบใหม่อีกรูปแบบนึง และมี Placement ที่แสดงผลแบบใหม่ที่ถือได้ว่าเป็นการพลิกโฉมการโฆษณาของ Google ครั้งใหญ่ เราว่าดูกันดีกว่าว่า Discovery Campaign มันน่าสนใจยังไง?

Discovery Ads คืออะไร?

Discovery Ads หรือ Discovery Campaign คือการโฆษณาอีกรูปแบบนึงของ Google โดยลักษณะโฆษณาจะเป็นรูปแบบ Native คือจะเนียนไปกับเนื้อหาคอนเทนท์ ใน Placement ต่างๆ ซึ่งหลักๆจะแสดงผลในแอป Google หรือที่เรียกว่า Google Discover feed รวมไปถึงจะไปแสดงผลที่ Youtube Home Feed, Social Tab และ Promotion Tab ใน Gmail อีกด้วย

Discovery Campaign Surface Discovery ads บนหน้า Youtube Home Feed, Google Discover Feed และ Gmail promotions tab.

Discover คืออะไร?

มันคือหน้า Feed ที่แสดงผลข่าวสารข้อมูลต่างๆที่เราสนใจในแอพพลิเคชั่น Google App ที่สามารถดาวน์โหลดได้จาก App Store และ Playstore และแสดงผลใน Google.com หน้า Homepage ด้วย แต่สำหรับเข้าทางมือถือนะครับ ซึ่งหน้า Feed ทาง Users สามารถปรับแต่งหน้า Feed ของตัวเองได้ว่าสนใจประเภทเรื่องแบบไหน

เราสามารถปรับแต่งได้ส่วนนึง แต่ Google ก็อาจจะเรียนรู้พฤติกรรมของเราจากเว็บและแอพฯต่างๆด้วย แล้วก็จะทำการจัดส่งเนื้อหาตามความสนใจที่ Google จับจากเราได้ ซึ่งทางบริษัท Google เคลมว่าจะมีคนใช้งานทั่วโลก 800 ล้านคนต่อเดือน

ซึ่งโฆษณา Discovery Ads เค้าจะเน้นไปที่คนที่กำลังค้นหาข้อมูล เช่น ดูข่าวใหม่ล่าสุด, ค้นหาข้อมูลใน Google, เลื่อนดูวิดีโอ หรือกดเข้าไปดูแทบโปรโมชั่น ซึ่ง Google บอกว่า “กลุ่มคนที่มีพฤติกรรมกำลังจะค้นหาสิ่งต่างๆนี้ จะมีโอกาสรับรู้แบรนด์อย่างมาก” กว่า 48% ค้นหาแบรนด์ที่ตัวเองชอบในขณะที่ค้นหาแบรนด์ต่างๆ และกว่า 71% ของผู้บริโภคมักจะมองหาแบรนด์หรือสินค้าใหม่ๆที่ทำให้ชีวิตของเค้าง่ายขึ้น

ซึ่งการ Targeting ก็สามารถทำได้แค่แบบ In-Market, Custom-Intent และแบบการทำ Remarketing และการคิดเงินเป็นรูปแบบ CPC(cost-per-click) โดยการสร้างโฆษณาจะมีลักษณะคล้ายกับ Responsive ads บน GDN Campaign

Discovery ads - Core Assets

ข้อมูลที่ต้องใส่ในโฆษณา Discovery ads

แล้ว Discovery Campaign สำคัญยังไง

Discovery Campaign หรือ Discovery ad เป็นโฆษณารูปแบบใหม่ที่มีลักษณะคล้ายเนื้อหาบนฟีด Facebook มีลักษณะเนียนและขั้นเนื้อหาต่างๆ และในส่วนของการกำหนด Targeting กลุ่มเป้าหมายที่อิงจากความสนใจ ไม่ใช่การซื้อคีย์เวิร์ดแบบตอนแรก ลักษณะก็จะคล้ายๆกับ Facebook ads ที่มีการ Targeting โดยใส่ Interest เอา

โฆษณาสามารถใส่รูปภาพและข้อความได้คล้ายโฆษณา GDN แต่การแสดงผลนั้นไปแสดงผลในขณะผู้ใช้กำลังมีพฤติกรรมค้นหาข้อมูลผ่าน Search Engine อย่าง Youtube.com และ Google.com ที่กำลังจะแปลงร่างให้มีฟีดไปในตัว(ตอนนี้เฉพาะโทรศัพท์มือถือ)

นี้จึงเป็นจุดที่น่าสนใจมากๆว่าช่องทางการโฆษณาอย่าง Discovery Campaign นี้ จะกลายเป็นช่องทางหลักที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจแค่ไหน หลังจากพลาดจากการทำ Social Media Platform อย่าง Google+ ซึ่งผมมองว่าน่าจะกลายเป็นอีกโซลูชันส์นึงที่สำคัญสำหรับการทำการตลาด แต่ยังไงพึ่งมาใหม่ คนยังใช้ไม่เยอะ ค่าโฆษณาก็ยังถูกอยู่ครับ

ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้นะครับ ถ้าชอบและมีประโยชน์ ฝากแชร์เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้เขียนด้วยน้าา แล้วเจอกันบทความถัดไปครับ 🙂


ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย

Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)

 

ที่มา:
https://searchengineland.com/google-discovery-campaigns-discover-feed-316920

Performace Planner ฟีเจอร์ใหม่

Performance Planner ฟีเจอร์ใหม่จาก Google พร้อมวิธีใช้งาน

Performance Planner คือ Tools ที่ใช้ในการคาดการณ์ผลลัพธ์ที่เราต้องการ โดยการใช้ข้อมูลที่เราเคยทำได้ มาคาดการณ์ผลลัพธ์ เช่น หากเราต้องการ Conversions จำนวน 30 Conv. จากข้อมูลที่ผ่านมาแล้ว เราจะต้องใช้เงินเท่าไหร่ จากประวัติ Conversion Rate เท่านี้ เราจะมี CPA(cost-per-acquisition)ที่ราคาเท่าไหร่ เป็นต้น

Performance Planner พื้นฐานการใช้งาน?

หลังจากที่เปิดเข้ามาที่ Performance Planner หลักๆเลยจะมีให้เลือก 2 เมทริกซ์ว่าเราจะดูเมทริกซ์ไหน 1. Clicks และ 2. Conversions ซึ่งแต่ละตัวเราก็จะสามารถเลือก Target ที่เราต้องการโฟกัสได้ อย่าง Clicks นั้นก็จะมีส่วนที่โฟกัสได้คือ clicks, spend หรือ average CPC แต่ถ้าเลือก Conversion เป็นคีย์เมทริกซ์ก็จะสามารถเรื่อง Target ได้คือ conversions, spend หรือ average CPA

Budget Planner - Starter Menu

Plan Forecast
ซึ่งเมื่อเราเลือก Target นั้นก็จะมีจำนวนตัวเลขให้ใส่ว่าเราต้องการ Target จุดต่างๆที่ประมาณเท่าไหร่ สามารถใส่ตัวเลขเองได้เลย หรือเลือกจาก Previous period conversions หรือ Same time last year conversions ซึ่งของผมไม่สามารถเรื่องสองอันนี้ได้เพราะบัญชีนี้เพิ่งรันยังไม่ถึงเดือน ซึ่งผมก็ได้ลองใส่ไปเล่นๆว่าต้องการ 18 Conversions

หลังจากเซ็ทตัวแปรที่เราต้องการดูแล้ว Google จะทำการสร้าง Budget Plan ให้เราดู โดยจะมี Forecast Chart ให้เราดูซึ่งมีจุดสองจุดในชาร์ท จุดแรก “จุดสีเทา” คือเราไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร ใช้การตั้งค่าเดิมของแคมเปญ จุดที่สอง “จุดสีน้ำเงิน” คือบอกว่าถ้าเราเปลี่ยนแปลงแคมเปญตามจุดต่างๆ จะมีผลต่อคีย์เมทริกซ์ของเราอย่างไร(Clicks หรือ Conversions)

นอกจาก Target ที่เราสามารถใส่ได้เองนั้น เราสามารถคลิกตามจุดในชาร์ทได้ ผลลัพธ์ด้านล่างก็จะเปลี่ยนตามจุดที่เราคลิก อย่างตัวอย่างตามภาพนั้นจุดสีน้ำเงิน หรือ Target ที่ผมเลือกนั้นบอกว่าถ้าผมใช้เงิน 22,900 บาท ผมจะได้ 18 Conversions และมี Average CPA ที่ 1,270 บาท (ต้องใส่ Conversion rate โดยประมาณตอนเริ่มด้วย)

Budget Planner - Plan Forecast

โดยด้านขวาของชาร์ทจะมีแถบ Forecast ที่สามารถเลือกได้ว่าเราจะโฟกัสที่จำนวนหรือราคา อย่างของผมคีย์เมทริกซ์ที่ผมเลือกคือ Conversion ผมก็จะมีแถบที่เลือกได้สองอันคือ “Most conversions for spend” หรือ “Lowest avg. CPA for spend”

และด้านล่างสุดจะมีชื่อแคมเปญของเราที่บอกว่าการตั้งค่าของเราตอนนี้มีใช้เงินเท่าไหร่ มี Conversions หรือ Clicks เท่าไหร่ Cost per Result เท่าไหร่ ซึ่งก็จะมีให้ดูเพิ่มเทียบกันว่าแล้วตามแพลนหรือจุดน้ำเงินที่เราเลือกนั้นจะมีผลลัพธ์ต่างๆเท่าไหร่ ซึ่งเราสามารถ “คลิกที่ชื่อแคมเปญ” แล้วจะมีแถบด้านขวาสุดเพิ่มออกมาตามภาพด้านบน ซึ่งสามารถใส่คีย์เวิร์ดเพิ่มเติมได้ จากที่ผมลองใส่เพิ่มนั้น ยังแสดงผลว่า Failed to retrieve forecasts อยู่

Budget Planner - Compare

Compare tab
หลังจากคลิกแถบ Compare มาแล้วนั้นก็จะมี Bar Chart ให้เราดูเปรียบเทียบ 3 ส่วน 1. Overall spend 2. Total conversions 3. Avg. CPA โดยสามารถเลือกเทียบกับช่วงเวลาที่ผ่านมาด้านขวาที่แถบ Past performance

โดยการใช้งานใน Performance Planner นั้น แคมเปญต้องมีข้อมูลระดับนึงแล้วจึงสามารถใช้งานได้ จะทำให้ไม่สามารถดู Performance Planner ได้ทุกแคมเปญ

โดยทาง Searchengineland ได้บอกวิธีคำนวณการ Forecast คร่าวๆที่ Google แจ้งไว้ว่า

  • การ Forecasts นั้นจะอัพเดททุกๆ 24-48 ชั่วโมง โดยจะอัพเดทจากประวัติการใช้งานแคมเปญ รวมถึงข้อมูลการเสนอราคาประมูล(auction)
  • ในการเรื่องช่วงเวลามาเปรียบเทียบนั้น ต้องคำนึงถึงช่วงวันหยุดและปริมาณการเข้าชมตาม Seasonal ต่างๆด้วย ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ
  • Google บอกว่าการ Forecasts จะแม่นยำมากขึ้น ยิ่งใกล้ถึงวันเริ่มต้นที่จะถึง

ในตอนแรกที่มีการปล่อยฟีเจอร์นี้มีการใช้ชื่อ Budget Planner แต่ตอนหลังก็ได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็น Performance Planner ซึ่งหลักๆ Tools นี้ไม่ได้แค่ใช้ในเรื่องการเห็น Budget ที่เราต้องใช้เพียงอย่างเดียว หากเราต้องการ Result เท่านั้นเท่านี้ มันยังใช้คาดการณ์ได้ เช่น ถ้าเราทำการ Optimize เพิ่ม Conversion Rate ผลลัพธ์ CPA แคมเปญเราจะเป็นยังไง, หากเราทำการเพิ่มคีย์เวิร์ดนี้ลงไป ผลลัพธ์จะเพิ่มเติมมาเป็นยังไง หรือหากเราทำการลด Target CPA ลง Budget กับจำนวน Conversions เราจะเหลือเท่าไหร่ ซึ่งใช้ดูเป็นแนวทางได้แม่นระดับนึง เพราะว่ามีการเอาข้อมูลเก่ามาคำนวณด้วย ซึ่งจะต่างจาก Forecast Tools ของ Keywords Planner ที่จะใช้สำหรับก่อนเริ่มแคมเปญ แต่อันนี้คือมีข้อมูลระดับนึงแล้วจึงคาดการณ์ขั้นต่อไป

หวังว่าทุกคนจะชอบนะครับ แล้วเจอกันบทความถัดๆไปครับ
ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร
รวมถึงพูดคุยแชร์เทคนิคกัน คลิก Thai Digital Marketing Hub – ความรู้การตลาดออนไลน์

อ่านบทความ Digital Marketing อื่นๆเพิ่มเติม

ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร
เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย
Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)

Keyword Planner คืออะไร? อัพเดทฟีเจอร์ 2019

คู่มือเทคนิคและวิธีใช้ Keyword Planner อัดแน่น ครบถ้วน

เครื่องมือช่วยวางแผนคีย์เวิร์ดของ Google  หลักๆใช้ในการค้นหาคีย์เวิร์ดต่างๆเพิ่มเติมจากที่เราได้ใส่ลงไป เพื่อใช้สำหรับการทำโฆษณา Paid Search ทั้งยังสามารถทราบราคาประมูลของคีย์เวิร์ดต่างๆ โดยประมาณ ใช้ดูสถิติการแข่งขันและจำนวนการค้นหาต่อเดือนของแต่ละคำค้นหา

Keyword Planner จะทำการค้นหาคำต่างๆจากต้นแบบคำที่เราใส่ลงไป ซึ่งก็จะทำให้เราได้คีย์เวิร์ด ได้ไอเดียจำนวนมาก ในการมาใช้กับแคมเปญของเรา และ Keyword Planner ยังมีฟีเจอร์ในการ Forecast ผลของแคมเปญได้อีกด้วย

วิธีใช้ Keyword Planner ใช้ยังไง?

การใช้ Google Keyword Planner นั้น ต้องมีบัญชี Google Ads ก่อน โดยใช้ Gmail สมัคร

เมื่ออยู่ที่หน้าต่าง Google Ads แล้ว เข้าที่ Tools เครื่องมือ Google Ads มุมขวาบน > ใต้เมนู Planning แล้วเลือก Keyword Planner

หน้าต่าง Keyword Planner

หลังจากเข้าตามวิธีข้างบนมาจะพบหน้าต่างสองอัน ซึ่งด้านซ้ายคือเมนูที่เราจะได้ใช้บ่อยที่สุด คือหาไอเดียคีย์เวิร์ดใหม่ๆนั้นเอง ส่วนด้านขวาคือเมนูที่ใช้เพื่อทำนาย ประมาณผลลัพธ์คีย์เวิร์ดต่างๆในอนาคต

เริ่มใช้งาน Keyword Planner - ใส่คีย์เวิร์ดตั้งต้น

ฝั่งขวาที่เขียนว่า Start with a website คือการให้เราใส่เว็บไซต์ของเรา แล้วให้ระบบนำคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับคำในเว็บไซต์ขึ้นมาแสดงผล แต่ในส่วนของฟีเจอร์นั้น ระบบจะแนะนำคำมาค่อนข้างน้อย หรือบางเว็บไซต์อาจจะไม่มีคำแนะนำเลย

เรามาดูที่ฝั่งซ้ายกันต่อครับ ส่วนนี้คือส่วนที่เราใช้บ่อย เมื่อเราคลิกด้านซ้าย Find new keywords กล่องที่ให้เราพิมพ์คีย์เวิร์ดใส่ก็จะแสดงขึ้น ซึ่งช่องใส่คีย์เวิร์ดนี้คือคีย์เวิร์ดตั้งต้นของเรา โดยสามารถใส่คีย์เวิร์ดได้สูงสุดถึง 10 คำ ทำให้เราสามารถใส่คำที่สามารถไปจับหาไอเดียคำอื่นๆได้มากขึ้น หลังจากเราใส่คีย์เวิร์ดเรียบร้อยแล้ว เราก็จะเข้าสู่หน้าถัดไป

ตัวอย่างการใช้งาน Google Keyword Planner

โดยกรอบสีน้ำเงินมุมซ้ายบนคือคำที่เราใส่ไว้ตอนแรกที่เป็นตัวตั้งต้น โดยกรอบสี่น้ำเงินด้านล่างถัดมา คือคำที่ระบบแนะนำเพิ่มเติม ให้เราเพิ่มคีย์เวิร์ดตั้งต้น ก็ให้เราดูเอานะครับว่าตรงกับสินค้าบริการเราไหม ไม่ต้องไปเชื่อระบบทั้งหมดครับ

ด้านล่างถัดมาในส่วนของกราฟแท่ง เราสามารถเอาเม้าส์ลากไปวางตรงกราฟแท่งแต่ละเดือนว่า จำนวนการค้นหา(Search Volume)ต่อเดือนอยู่ที่เท่าไหร่ ตามตัวอย่างข้างบน

Keyword Planner แนะนำไอเดียคีย์เวิร์ด

ในส่วนของกรอบสีฟ้าคือ คำที่เราใส่ไว้เป็นคำตั้งต้นไปหาคำอื่นๆต่อไป ในส่วนของกรอบสีชมพูคือ คำที่ระบบแนะนำให้ บางสินค้ายาวเป็นร้อยๆคำ บางครั้งก็หาสินค้าที่ใกล้เคียงกันมาให้

ฟีเจอร์ Filter ของ Keyword Planner

อีกส่วนที่น่าสนใจคือ Filter ตัวหนังสือสีเทาๆอยู่บนมุมขวาของกรอบสีฟ้า เมื่อกดลงมามีหน้าตาเป็น dropdown ไล่ลงมา โดยเราสามารถ Filter ข้อมูลที่เราอยากเห็นเป็นพิเศษได้ ดูเฉพาะประเภทคีย์เวิร์ดหรือแค่สินค้าที่เราสนใจ, จำนวนการค้นหา, การแข่งขัน ฯลฯ

Refine keyword ฟีเจอร์ใหม่ 2020

Refine Keywords ฟีเจอร์ใหม่ ช่วยจำแนกคำ
 
โดยฟีเจอร์นี้พึ่งมาใหม่ ยังอยู่ในช่วง Beta โดยฟีเจอร์นี้จะช่วยในการคัดแยกคำ โดยหากเราเลือกแบรนด์ หรือประเภทคีย์เวิร์ดไหน คำเหล่านั้นจะถูกดึงออกจากระบบการแสดงผลคีย์เวิร์ดของ Keyword Planner
แต่ในช่วง Beta นี้ระบบยังทำงานผิดพลาดอยู่ บางคำสั่งไม่ถูกคัดคำออก เดี๋ยวคงมีการปรับปรุงกันต่อไป
ฟีเจอร์นี้ก็ช่วยให้สะดวกขึ้นระดับนึง ที่จริงถ้าทุกคนอยากโฟกัสคีย์เวิร์ดคำไหน หรือไม่อยากดูคำไหนเป็นพิเศษ สามารถใช้ฟีเจอร์ Filter ได้เช่นกันนะครับ

Keyword Planner มี Metrics ด้วย อ่านยังไง?

การอ่านเมทริกซ์บน Keyword Planner

ในส่วนของสีชมพูนั้น คือการตั้งค่าคอลัมน์ว่าเราต้องการเห็นเมทริกซ์อะไรบ้าง

ใส่ส่วนของสีฟ้า คือเมทริกซ์ต่างๆที่เราจะต้องใช้กันเป็นประจำ เรามาดูความหมายของแต่ละเมทริกซ์กันครับ

Avg. monthly searches(Average monthly searches) คือ จำนวนการค้นหาต่อเดือนโดยเฉลี่ย คำนวณจากทั้งตัวคีย์เวิร์ดตรงๆและคำที่ใกล้เคียงกัน โดยจะขึ้นแสดงผลเปลี่ยนแปลงไปตามตำแหน่งที่เราเลือกด้วย

Keyword planner - Average monthly searches Update และ Avg. monthly searches นั้น เราสามารถเอาเม้าส์ไปวางเพื่อดูกราฟแท่งการค้นหาย้อนหลังตามเวลาที่เราเลือกได้

 

Competiton คือ การแข่งขันของคำที่เราเลือก โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ “High”, “Medium”, “Low”

Competition (indexed value) คือ เมทริกซ์ที่ใช้ประเมินว่าคีย์เวิร์ดต่างๆ นั้นมีการแข่งขันแค่ไหน ซึ่งมีเลเวลตั้งแต่ 0-100 ซี่งเลเวลที่ต่ำหมายถึงการแข่งขันที่ต่ำ อันดันสูงหมายถึงการแข่งขันสูง ซึ่งจากที่ผมสังเกตมันสามารถใช้อธิบาย เมทริกซ์คอลัมน์ “Competition” ที่บอกเป็น 3 ระดับคือ Low, Medium และ High เพิ่มเติมได้เป็นอย่างดี ซึ่งตอนแรกนั้นการดูแค่เมทริกซ์ Competition อย่างเดียวนั้น Google น่าจะมองว่ายังละเอียดไม่พอ ซึ่งตัวมองว่าเป็นประโยชน์อย่างมากครับ โดยจะคำนวณจาก Slot โฆษณาที่ถูกใช้ หารด้วย Slot โฆษณาทั้งหมดที่สามารถลงได้

Top of page bid (low range) และ Top of page bid (high range) คือ การแสดงราคา Bid เฉลี่ยในตำแหน่ง Top of page หรือตำแหน่งบนๆของ Search engine โดยเป็นช่วงประมาณราคาของตำแหน่งต่ำสุดและสูงสุดของ Top of page

Grouped ideas ฟีเจอร์การจัดกลุ่มคำทรงประสิทธิภาพ

Keyword planner - Grouped ideas

ฟีเจอร์นี้เป็นฟีเจอร์ที่ผมชอบมากๆสำหรับการอัพเดทครั้งนี้ คือ Keyword Planner ทำการจับกลุ่มคีย์เวิร์ดให้เราเลย ซึ่งก็ทำให้ง่ายต่อการไปทำแคมเปญต่อ เหมือนการจัด ad group คร่าวๆให้เรา แต่ยังไง ผมแนะนำให้เรียงเพิ่มเติมเองนะครับ ไม่ยึดตาม Keyword Planner ทั้งหมด

นอกจากนี้เรายังสามารถ เพิ่มคีย์เวิร์ดต่างๆ จากแถบ “Keyword ideas” หรือ “Grouped ideas” ด้านซ้าย เข้าสู่ ad groups ในแถบ “ad groups” ได้ โดยทำการสร้าง ชื่อ ad groups ไว้ก่อน แล้วเราก็มาติ๊กเลือกหน้าช่อง คีย์เวิร์ดต่างๆ เลือก Keywords Match Type ที่ต้องการ หลังจากนั้น ก็ทำการ Add เข้า ad groups ได้เลย ทำการจัดเรียง ad groups แล้วค่อยดึงเข้าแคมเปญ หรือจะเลือกคีย์เวิร์ดต่างๆ แล้วไปเพิ่มใส่แคมเปญที่มีอยู่แล้วทันทีเลยก็สามารถทำได้เช่นกัน

แต่โดยส่วนตัวแล้ว ผมยังชอบดาวน์โหลดออกมาแล้วทำการจัดวาง ad group เองใน excel แล้วค่อยนำใส่ของแคมเปญ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับฟีเจอร์ใหม่ของ Keyword Planner ถือว่าเป็นฟีเจอร์ที่ช่วยให้เห็นข้อมูลชัดขึ้น แล้วก็ลดเวลาของนักการตลาดได้เป็นอย่างดี ยังไงลองไปใช้งานกันดูนะครับ ขอบคุณที่ติดตามกันจนจบบทความ แล้วพบกันบทความถัดไปครับ

อ่านบทความ Digital Marketing อื่นๆเพิ่มเติม


ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร

เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย
Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)

 

Attribution Model คืออะไร? สำคัญยังไง?

Attribution Model คืออะไรแล้วอันไหนดีที่สุด ? [ละเอียด]

หลายๆคนที่ทำโฆษณาทางช่องทาง Google Ads(AdWords) นั้นไม่ว่าจะเป็นช่องทาง Search Ads แม้กระทั่ง Shopping Campaign เราคงหนีไม่พ้นเรื่องการทำ Conversion เพื่อติดตามและวัดผลโฆษณาของเรา ซึ่งการเซ็ท Conversion นั้นก็ไปเกี่ยวข้องกับการเลือก Attribution Model ในการให้เครดิต Conversion กับแคมเปญโฆษณา และคีย์เวิร์ดต่างๆด้วย

Attribution Model คืออะไร?

Attribution Model คือ รูปแบบการระบุแหล่งที่มาว่าแคมเปญหรือคีย์เวิร์ดไหนที่จะได้รับเครดิต Conversion บ้าง ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า Customer Journey ของลูกค้านั้นมีความซับซ้อน กว่าจะซื้อสินค้านั้น อาจจะค้นหามากกว่า 1 ครั้ง ถึงจะทำการตัดสินใจซื้อได้ โดยค่าเริ่มต้นของ Google Ads นั้นจะเซ็ท Attribution Model มาให้เป็นรูปแบบ Last Click Attribution คือการให้เครดิตเต็มๆกับแคมเปญสุดท้ายเพียงแคมเปญเดียว ซึ่งกว่าจะมาเจอแคมเปญสุดท้ายนั้น เค้าต้องค้นหาผ่านหลายๆแคมเปญ กว่าจะมาถึงแคมเปญสุดท้าย ทำให้แคมเปญอื่นไม่ได้คะแนน Conversion ซึ่งทำให้เรา Optimize โฆษณาของเราได้อย่างไม่ถูกจุด เราอาจมองว่าแคมเปญที่ไม่มี Conversion นั้น เป็นแคมเปญที่ไม่ดี แต่ Campaign เหล่านั้นอาจเป็นต้นกำเนิดของ Conversion หลายๆครั้ง

ตัวอย่างเส้นทาง Conversion Path

ตัวอย่างเส้นทาง Conversion Path ผ่านคีย์เวิร์ดต่างๆ

จากภาพจะเห็นได้ว่า ก่อนที่จะไปซื้อขั้นสุดท้ายนั้น User ได้ผ่านคีย์เวิร์ดต่างๆหลายคำกว่าจะมาซื้อสินค้าของเรา ซึ่งถ้าเราใช้เป็น Last Click Attribution ทำให้อีกสองคำก่อนหน้าไม่ได้เครดิต ซึ่งส่งผลต่อการ Optimize ของเราโดยตรง หลายๆคนคงเข้าใจแล้วว่า Attribution Model คืออะไร ทีนี้เรามาดูกันดีกว่า Attribution Model มีรูปแบบไหนบ้าง?

Attribution Model มีอะไรบ้าง

ตัวอย่างภาพ Attribution Model ทั้งหมด

ขอบคุณภาพจาก sunbaymarketing.com

1. Last Click Attribution คือการให้เครดิต Conversion ทั้งหมดกับโฆษณาหรือคีย์เวิร์ดที่ได้รับคลิกสุดท้าย โดยเป็นค่าพื้นฐานที่ Google ตั้งมาให้ ซึ่งผมแนะนำว่าหลังจากเซ็ท Conversion เสร็จแล้วให้ทำการแก้ไขเป็นโมเดลอื่นเลยครับ อย่างที่บอกไปครับ ทำให้พลาดข้อมูลหลายๆอย่าง

2. First Click Attribution คือการให้เครดิต Conversion ทั้งหมดกับโฆษณาหรือคีย์เวิร์ดที่ได้รับคลิกแรกสุด First Click Attribution นั้นผมไม่แนะนำให้ใช้เช่นเดียวกันกับข้อแรก เพราะว่าจะทำให้เราเห็นข้อมูลแค่ส่วนเล็กๆส่วนเดียว

3. Linear Attribution คือการให้เครดิต Conversion เท่าๆกันในทุกๆโฆษณาหรือคีย์เวิร์ดที่ได้รับการคลิกผ่าน ซึ่งข้อดีของมันก็คือแบ่งคะแนนให้ทุกจุดเท่าๆกัน ข้อเสียก็คือในบางจุดที่ไม่สำคัญก็จะได้คะแนนเท่ากับจุดที่สำคัญด้วย

4. Time decay Attribution คือการให้เครดิตกับ Click ที่ใกล้เวลาเกิด Conversion กล่าวคือ คีย์เวิร์ดที่ได้รับการคลิกแรกๆจะได้คะแนนน้อยสุด ส่วนคีย์เวิร์ดท้ายๆ จะได้คะแนนสูงสุด ซึ่งคีย์เวิร์ดแรกๆจะเป็นคีย์เวิร์ดที่ยังไม่มี Intent ในการซื้อสินค้ามาก ก็ถือว่าสมเหตุสมผล แต่ข้อเสียของมันก็คือในบางครั้งอาจจะไปแบ่งคะแนนให้พวก Brand Keywords หรือ Remarketing มากเกินไป

5. Position-based Attribution คือการให้เครดิตกับตัวแรกกับตัวสุดท้ายมากที่สุด โดยจะให้คะแนนคลิกแรกและคลิกสุดท้ายอย่างละ 40% และให้เครดิตที่เหลือ 20% กับคลิกต่างๆระหว่างเส้นทาง ข้อดีของมันก็คือมันเน้นไปที่จุดสำคัญทั้งตอนเริ่มและตอนสุดท้าย และข้อเสียของมันก็คือในระหว่างคลิกแรกและคลิกสุดท้าย อาจมีจุดที่สำคัญเช่นกัน ซึ่งจะทำให้จุดนั้นได้คะแนนน้อยมากๆ

6. Data-Driven Attribution คือการให้เครดิต Conversion กับโฆษณาหรือคีย์เวิร์ดที่ระบบมองว่าส่งผลต่อแคมเปญในด้านบวกมากที่สุด จะใช้ข้อมูลเก่าๆจากบัญชีของเรา มาทำการเปรียบเทียบกับเส้นทางที่เกิด Conversion และเส้นทางที่ทำให้ไม่เกิด Conversion และมาตัดสินว่าคีย์เวิร์ด โฆษณา หรือแคมเปญไหนที่ส่งผลบวกมากกว่าตัวอื่นๆ แล้วจึงมากระจายคะแนน Conversion ให้ตามความสำคัญของแต่ละจุด

Data Driven Attribution ถือว่าเป็น Attribution Model ที่ดีที่สุดก็ว่าได้ แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนสามารถใช้งานได้ จะใช้งาน Data Driven Attribution ได้นั้น ต้องมีคลิกอย่างน้อย 15,000 ครั้ง และมี Conversion อย่างน้อย 600 ครั้ง ใน 30 วัน

แล้วถ้าใช้ Data Driven Attribution ไม่ได้จะเลือกใช้ Attribution Model อะไรดีกว่ากัน?

ซึ่งการเลือก Attribution Model ที่จะมาใช้งานนั้น อาจจะต้องมองที่ตัวธุรกิจเอง อย่าง Time decay Attribution นั้นจะเหมาะกับสินค้าที่มีระยะเวลาในการตัดสินใจค่อนข้างนาน เป็นเดือนๆ มีเส้นทางที่ค่อนข้างซับซ้อน ซึ่ง Time decay ก็เหมาะที่จะใช้ดูว่ากระบวนการขายของเรายาวนานแค่ไหนด้วย ส่วน Position-based Attribution นั้นเป็นเหมือนกับการเอา First Click, Last Click และ Linear Attribution ผสมกัน ซึ่ง Position-based นั้นจะเน้นไปที่จุดแรกที่ส่งผลให้เกิด Conversion และจุดสุดท้ายที่เกิด Conversion โดยก็ยังให้คะแนนกับจุดต่างๆระหว่างทางด้วย ผมมักจะใช้ตัวนี้ เพราะทำให้เรารู้ว่าแคมเปญหรือคีย์เวิร์ดไหนที่ทำให้ลูกค้าสนใจสินค้าเรา แล้วก็รู้ว่าแคมเปญหรือคีย์เวิร์ดในที่ช่วยในการปิดการขาย ทั้งยังรู้ว่าคำไหนที่สนับสนุนระหว่างทางของ Journey

โดยวิธีการเปลี่ยน Attribution Model นั้น ต้องเซ็ท Conversion ให้เรียบร้อยก่อน หลังจากนั้นทำตามขั้นตอนด้านล่าง

  1. ให้เลือกที่ Tools
  2. ภายใต้เมนู Measurement เลือก Conversion หลังจากนั้น
  3. คลิกชื่อ Conversion ที่ต้องการแก้ไขกด Edit Setting และเลือก Attribution Model ที่ต้องการ

โดยหากใครที่รันโดยการใช้ Attribution Model แบบอื่นไปก่อนหน้านี้ แล้วทำการเปลี่ยนเป็น Attribution Model แบบใหม่นั้น เราสามารถดูคอลัมน์ Conversion สำหรับตัว Attribution Model ก่อนหน้าได้ โดยการดึง “current model” คอลัมน์ ออกมา ซึ่ง Attribution Model แบบใหม่จะไปแสดงค่าในช่อง Conversions และ All conversions

สำหรับวันนี้ทุกๆคนคงได้ความรู้เรื่อง Attribution Model พอสมควร ยังไงผมจะนำความรู้ดีๆมาฝากกันอีกนะครับ ขอให้ทุกคนมีความสุขกับการทำโฆษณาครับ

ที่มา:
https://support.google.com/google-ads/answer/6259715
https://searchengineland.com/whats-best-attribution-model-ppc-252374

 

เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!
Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย

Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)