Digital Marketing Funnel คือ

Marketing Funnel คืออะไร? กลยุทธ์พื้นฐาน หลักคิดที่ต้องรู้เพื่อการตลาดครบวงจร

หลายๆคนที่สนใจการตลาดออนไลน์ สิ่งที่ผมอยากจะเน้นย้ำให้ทุกคนโฟกัสก่อนทำโฆษณา ก็คือการเริ่มวางแผนการตลาดก็คือ Marketing Funnel

Marketing Funnel คืออะไร?

Marketing คือการตลาด | Funnel คือ ปล่องหรือกรวย

Marketing Funnel คือ กรวยทางการตลาดที่เราใช้ศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมของ User(ผู้ใช้ก่อนจะเป็นลูกค้า) ว่าพฤติกรรมลูกค้าแต่ละแบบนั้น จัดอยู่ใน Marketing Funnel ระดับไหนกันบ้าง

เพื่อที่เราจะได้นำ Marketing Funnel มาใช้ในการสร้างเครื่องมือทางการตลาดว่ามันเหมาะสมกับแต่ละขั้น Funnel

ตัวอย่าง Marketing Funnel

Marketing Funnel มีหลายระดับ บางตำราก็แบ่งแยกย่อยพฤติกรรมลูกค้าไปเยอะแยะมากมาย

แต่ผมอยากให้ทุกคนโฟกัสแค่ระดับพื้นฐานก่อน เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้น ไม่ปวดสมอง ประยุกต์ใช้กับแคมเปญโฆษณาได้ทันที

  1. Tofu(Top of funnel) หรือ Awareness stage คือ ขั้นตอนการรับรู้แบรนด์ ทำให้ลูกค้ารู้จักเรามากขึ้น
  2. Mofu(Middle of funnel) | Interest stage คือ ขั้นที่ลูกค้าเริ่มสนใจ เริ่มเสาะหาข้อมูลเพิ่มเติม
  3. Mofu(Middle of funnel) | Consideration stage คือ ขั้นที่เริ่มคิดถึงแบรนด์ เริ่มทำการเปรียบเทียบ
  4. Bofu(Bottom of funnel) | Purchase, Decision คือ ขั้นที่ลูกค้าทำการตัดสินใจสั่งซื้อสินค้า
  5. Bofu(Bottom of funnel) | Retention คือ ขั้นที่เราจะสื่อสารกับลูกค้าเก่าต่างๆเพื่อสร้างยอดขายเพิ่ม

Marketing Funnel แต่ละระดับ

  1. Tofu(Top of funnel) หรือ Awareness stage

ขั้นตอนการรับรู้แบรนด์ ทำให้ลูกค้ารู้จักเรามากขึ้น

เช่น

อ่าน Blog/Article ต่างๆ

ฟัง Podcast ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ

ดูวิดีโอเกี่ยวกับแบรนด์ หรือวิดีโอให้ความรู้ต่างๆ

ตามข่าวสารอัพเดทของแบรนด์ทาง Social Media

ถ้าทำโฆษณาใน stage นี้ก็ต้องทำให้ user รับรู้ให้ได้ว่าเราช่วยแก้ปัญหาอะไรให้เค้าได้บ้าง จี้ที่ Painpoint หนักๆ หาคนเข้ามาในกรวยให้ได้มากที่สุด(ส่วนใหญ่ FB ผมจะใช้เป็นวิดีโอ ดักคนได้เยอะ)

การใช้ Influencer

  1. Mofu(Middle of funnel) | Interest stage 

ขั้นตอนที่ user เริ่มรู้จักตัวแบรนด์คุณแล้ว เค้าจึงเริ่มค้นหารายละเอียดยิบย่อยเกี่ยวกับเรื่องที่เค้าสนใจ ความสงสัย ลึกลงไปอีก ซึ่งการค้นหานี้ก็มักจะเกี่ยวโยงกับแบรนด์ของคุณด้วย

จุดนี้เราก็ต้องทำให้ธุรกิจเรา ค้นหาเจอได้ง่าย มีข้อมูลสินค้าครบครัน พร้อมใช้โน้มน้าวลูกค้าในอนาคตให้ไป Funnel ขั้นถัดไปได้

  1. Mofu(Middle of funnel) | Consideration stage

ขั้นตอนที่ user เริ่มสนใจแบรนด์มากๆ เริ่มพิจารณาแบรนด์ คิดถึงแบรนด์ รวมถึงเริ่มนำตัวแบรนด์มาเปรียบเทียบกับคู่แข่งเจ้าอื่นๆ อย่าลืมว่าในตลาดก็มีคู่แข่งอีกมากมาย ไม่ว่าจะแข่งด้วยเรื่อง คุณภาพ, ภาพลักษณ์ หรือ ราคา ฯลฯ

ดังนั้นเราจึงต้องคิดกลยุทธ์การตลาดมาตอบสนองคนกลุ่มนี้ให้ลงมาในขั้นตอนถัดไปให้ได้

เช่นทำ Checklist มาเปรียบเทียบคุณภาพ ความคุ้มค่า

หรือ ปล่อยโฆษณารีวิวจากลูกค้า, คำอธิบายจากผู้เชี่ยวชาญ อะไรแบบนี้ก็ช่วยให้ปิดการขายได้ง่ายขึ้นใน Funnel ขั้นถัดไป

  1. Bofu(Bottom of funnel) | Purchase

ขั้นตอนนี้คือ ขั้นตอนการปิดการขาย โดยขั้นตอนนี้เราต้องทำให้ลูกค้าตัดสินใจให้ได้ อาจกระตุ้นลูกค้าด้วยโปรโมชั่น หรือ ประโยคที่ทำให้ลูกค้าเข้าใจว่าถ้าไม่ตัดสินใจตอนนี้จะพลาดอะไรไป

สิ่งที่สำคัญเลยในการทำ Marketing Funnel คือ

  1. การตาม Retargeting/Remarketing ในลูกค้าแต่ละช่วง เพื่อดึงให้ลูกค้าที่ยังไม่ตัดสินใจ ทำการตัดสินใจได้ง่ายขึ้น 
  2. การเลือกเครื่องมือให้เหมาะกับแต่ละ stage

เช่นการรันโฆษณา Facebook Ads ถ้าผมต้องการปิดยอดขายใน stage consideration/purchase แต่ผมดันไปใช้ Objective VDO Views อย่างเดียว แบบนี้ก็จะปิดได้ยาก เพราะมันหาคนมาดูวิดีโอ
ดังนั้น ถ้างบน้อย ก็ต้องเลือก Message/Conversion หรือถ้า Retargeting ก็เป็น Reach เป็นต้น
หรือถ้าผมเน้นยอดขาย แต่ผมไปรันโฆษณา Youtube Ads อย่างเดียวอะไรแบบนี้มันก็จะได้ยอดขายยากหน่อย
ไม่มีตัวช่วยปิดการขาย แต่ถ้าเน้นการรับรู้ ให้คนดูรับรู้แบรนด์ผ่านการดู VDO ก่อน แล้วค่อยมาทำการตลาดต่อผ่านแคมเปญรูปแบบต่างๆไม่ว่าจะ FB Message/Conversion/Reach
หรือ Google Search Ads/GDN/Youtubeโฆษณาตัวถัดไป แบบนี้ Youtube Ads อาจจะคุ้มเพราะสร้างการรับรู้ ให้แคมเปญรูปแบบอื่นไปสร้างยอดขายต่อ

ไม่ใช่ว่า Youtube Ads หรือ VDO Views มันรันขายไม่ได้นะ แต่มันต้องใช้ประกอบกับหลายๆรูปแบบแคมเปญ การเลือกเครื่องมือมาใช้ในแต่ละ Funnel จึงสำคัญมาก

 

สรุปความสำคัญ Marketing Funnel

  1. ช่วยให้เข้าใจพฤติกรรมลูกค้ามากขึ้น และรู้ว่าเรามีกลุ่มหรือฐานลูกค้าอยู่ใน Stage ไหนบ้าง
    เพิ่มโอกาสให้เราสามารถทำโฆษณา ใช้ Media หรือทำ Content ต่างๆ ได้ตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมาย Stage ที่ลูกค้าอยู่ และใช้งบประมาณได้เหมาะสมกับจำนวนของกลุ่มเป้าหมาย
  2. ช่วยให้เราสามารถวางแผน จัดการ เลือก Platform, Media และช่องทางในการโฆษณา รวมถึงบริหารงบประมาณได้เหมาะสมมากขึ้น
  3. เมื่อวางแผนได้ดีขึ้น เราจะสามารถใช้ช่องทางในการทำ Digital Marketing ต่างๆ ได้ถูกต้อง มีประสิทธิภาพ วัดผล ปรับปรุง และเห็นแนวทางในการพัฒนาได้มากขึ้น
  4. เมื่อเห็นช่องทางในการพัฒนา เราจะสามารถสเกลธุรกิจของเราได้ ไม่ตัน เพราะรู้จุดแข็ง จุดด้อย จุดที่ต้องเพิ่ม/ลดการบริหาร รู้วิธีการดึงลูกค้า และปิดการขายได้อย่างเหมาะสม
  5. ยอดขายและ ROI เมื่อสามารถวางแผน บริหารจัดการ และดำเนินการโฆษณาได้มีประสิทธิภาพ เราก็จะได้ยอดขาย และ ROI มากขึ้น และปรับให้เหมาะสมได้ตามความต้องการของเรา

สำหรับคนที่อยากรับข่าวสารอัพเดท รวมถึงพูดคุยสอบถามเรื่อง Digital Marketing ร่วมเป็นครอบครัวเดียวกัน พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย
Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)

iOS 14 ส่งผลต่อ Facebook ads อย่างไร พร้อมวิธีแก้ไข

iOS 14 สิ่งที่คนทำโฆษณา Facebook Ads ต้องรู้และต้องทำ! [สรุป]

หลังจาก Apple ประกาศปล่อย iOS 14 มานั้น ก็มาพร้อมกับระบบรักษาความเป็นส่วนตัวที่มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบเต็มๆกับนักพัฒนาต่างๆที่เก็บข้อมูลผู้ใช้ Facebook ก็คือ 1 ในนั้น
Facebook Audience ที่หายไปจากการทำโฆษณา เมื่อมี iOS 14
โดย Facebook แจ้งว่า ระบบใหม่นี้จะ
ส่งผลต่อการรับ Conversion และกระบวนการต่างๆของนับ Conversion event(เหตุการณ์ที่เรานับเป็น Conversion) ผ่านเครื่องมืออย่าง Facebook Pixel

ภาพรวมเอฟเฟกท์ต่อ Facebook ads จาก iOS14

ซึ่งจะมีผลกระทบกับธุรกิจที่โฆษณาไปยังแอพฯโทรศัพท์ต่างๆ รวมถึงส่งผลต่อการ Optimize(ปรับปรุงประสิทธิภาพ), กับ Target(การนับความสนใจและการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย), และ Report เกี่ยวกับ Conversion event จากเครื่องมือจาก Facebook ทั้งหมด

คำถามเรื่อง Privacy ก่อนเข้าแอพฯ

Apple เริ่มให้แอพฯทุกแอพฯใน App Store ทำการแสดงการเตือนก่อนเข้าแอพฯว่า “ขออนุญาตเก็บข้อมูลจากผู้ใช้ก่อนเข้าแอพพลิเคชั่น” นโยบายของ Facebook จะกีดกันเรื่องการเก็บข้อมูลและการแชร์ข้อมูล เว้นแต่ผู้ใช้จะตอบตกลงยินยอมจากข้อความที่แจ้งเตือน แต่ก็นั่นแหละครับ คนส่วนใหญ่ก็อาจจะตอบไม่ยินยอมการเก็บข้อมูลด้านต่างๆ


การทำงานข้างต้นมาจาก Protocol ตัวใหม่ของ Apple ที่เรียกว่า Private Click Measurement(PCM) PCM มีหน้าที่เข้ามากีดกันเรื่องการแชร์ข้อมูลระหว่างธุรกิจและแพลตฟอร์มออนไลน์ต่างๆ

ผลกระทบต่อการเก็บ Data ของFacebook ads จาก iOS14

ตัวอย่างการนับ event บน Facebook ads จาก iOS14 ใหม่

โดยการใช้งานบนแอพฯ Facebook ผ่าน iOS14 นั้น ข้อมูลเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นอยู่ในหน้าแพลตฟอร์ม Facebook จะไม่มีปัญหาอะไร ข้อมูลปกติ แต่ถ้าผู้ใช้คลิกโฆษณาแล้วออกจากเฟสบุ๊คไปเข้าเว็บ มันจะส่งค่ากับมาที่รีพอร์ทของเราแค่ 1 Event เท่านั้น ดังนั้นใครเล่น Event เยอะๆ ต้องมาพิจารณาจุดนี้มากขึ้น เพราะเราต้องเลือก Event สำคัญเพียงอีเว้นท์เดียวที่จะส่งผลลัพธ์กลับมา(ในกรณีที่คนส่วนใหญ่กดปฏิเสธการแชร์ข้อมูล มันจะรีเทิร์นค่ามาแค่ 1 Event)

ตอนนี้ Facebook กำลังทำการพัฒนา การนับ Event อีกแบบเรียกว่า Aggregated Events Measurement เพื่อแก้ปัญหาเพิ่มเติม

สิ่งที่ต้องรู้และสิ่งที่ต้องทำจากการมาของ iOS14

Reporting

1. ข้อมูลจะไม่เรียลไทม์ ดีเลย์ช้าได้สูงสุด 3 วัน เท่ากับว่า 3 วันแรกที่รันแคมเปญ มีสิทธิ์ที่จะยัง Optimize ตั้งแต่วันแรกไม่ได้เพราะว่ารีพอร์ทที่แสดงผล ข้อมูลยังไม่เข้าทั้งหมด

iOS14 ทำให้ Conversion ในรีพอร์ทน้อยลง Breakdown ดูข้อมูลไม่ได้

2. จำนวน Conversion จะน้อยลง

3. แคมเปญ Conversion ทั้งเว็บไซต์และแอพฯ ไม่รองรับการ Segment/Breakdown ข้อมูลต่างๆทั้ง อายุ, เพศ, พื้นที่ และ placement(พื้นที่แพลตฟอร์มที่ใช้แสดงโฆษณา) 


Attribution Window

Attribution Window ของ Facebook ก่อนมีหลายรูปแบบและมีระยะการนับ Conversion ที่นานทั้ง 28-day click-through, 28-day view-through and 7-day view-through attribution windows ซึ่งจะถูกยกเลิกทั้งหมด โดยจะย้ายไปใช้ 7-day click (default) เป็นรูปแบบพื้นฐาน

iOS14 New Attribution Windows

Attribution Model แบบใหม่ที่เหลือให้ใช้คือ

1-day click

7-day click (default)

1-day click and 1-day view

7-day click and 1-day view

วิธีเปลี่ยน Attribution Windows

Facebook แนะนำว่าให้ใช้ Comparison Windows(อยู่ในที่ปรับ Column เข้าไปเสร็จอยู่มุมขวาล่างของหน้าต่างป็อปอัพ) ดู Attribution Model หลายๆแบบว่ามีการแบ่ง Conversion ยังไงบ้าง เพื่อเข้าใจรีพอร์ทมากขึ้น หากใครต้องการข้อมูลเก่าๆให้ทำการดาวน์โหลดข้อมูลเก็บเอาไว้

Targeting limitations การจำกัดของกลุ่มเป้าหมาย

1. จำนวนคน App Connection, Custom Audience แบบกิจกรรมบนแอพฯ และ Custom Audience บนเว็บไซต์จะมีจำนวนลดลง

2. Retargeting จาก Custom Audience ลดลงแน่นอน 

3. ความแม่นยำและจำนวน Audience ของ Dynamic Ads ลดลง

8 Conversion Events ต่อ 1 โดเมน

วิธีการจัดอันดับ Event ตามลำดับความสำคัญ จากอัพเดทใหม่ iOS14 Facebook ads

1. ผู้ที่ใช้ Agency หลายๆคนกับหลายๆ Business manager เพราะว่าต่อ 1 เว็บโดเมน ต้องลดเหลือแค่ 8 Event ดังนั้น ใครที่ใช้หลายๆเอเจนซี่ในเว็บฯเดียว จะโดนเต็มๆ

2. ผู้ที่แทร็ค Event ต่างๆไว้เกิน 8 Event ต้องพิจารณาปรับลดให้เหลือไม่เกิน 8 Event ถ้าใครแทร็คอะไรไว้เยอะๆ หรืออย่างพวกเว็บ E-Commerce อาจต้องทำการปรับลดจำนวนอีเว้นท์ลง


หลังจากจัดอันดับความสำคัญ Prioritize event รอ 3 วัน

3. ทำการจัดอันดับความสำคัญของ Event ที่เราต้องการให้ Facebook ทราบ 1-8 หลังจากจัดอันดับ ทำการรอ 3 วัน ค่อยการรันแคมเปญ Conversion

การใช้ 8 Event ต่อ 1 Domain

4. ผู้ที่โฆษณาไปหลายๆประเทศ คุณต้องทำการแยก Sub-domain จะแยก Subdirectory ไม่ได้ เพราะ Event จะเกิน 8 ตั้งแต่ 2 ประเทศแรกเลยละ

Domain Verification การยืนยันโดเมน
การยืนยันโดเมน Verify domain Facebook Ads

ให้เราทำการยืนยันโดเมนผ่าน Business Manager
อ่านเพิ่มเติม:
Best Practice การยืนยันโดเมน

สำหรับแอพพลิเคชั่น อัพเดท Facebook SDK สำหรับ iOS 14 เวอร์ชั่น 8.1

ผมจะไม่ได้พูดถึงส่วนของการรันโฆษณาไปลงที่แอพฯ หรือ App Install Campaign กลัวแปลและอธิบายเพิ่มเติมได้ไม่ครอบคลุม เพราะไม่ได้มีเชี่ยวชาญด้านแอพพลิเคชันโดยตรง

 

สรุป:
  1. ยืนยันโดเมน ผ่าน Facebook Business Manager
  2. เตรียมปรับให้เหลือไม่เกิน 8 Event ต่อ 1 เว็บโดเมน
  3. แก้ Attribution Windows และอัพเดทกฏ Automated Rule ให้สอดคล้อง
  4. Testing ทำการเทสกลยุทธ์ วิธีการทำแคมเปญ อย่างพวก Audience(กลุ่มผู้ชมโฆษณา), ลองเทส Bidding Strategy หลายๆแบบ

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ส่งผลต่อวิธีทำการตลาดทาง Facebook Ads อย่างมหาศาล ซึ่งจะส่งผลต่อผลลัพธ์โฆษณาและการ Retargeting ทำให้การรันโฆษณายากขึ้น เพราะเราแทร็คติดตามคนไม่ได้ทั้งหมด ต้องลองไปเทส นำวิธีการต่างๆไปปรับใช้กับแคมเปญ

คอนเทนต์นี้พยายามรีบๆสรุปข้อมูลหลายๆที่มาให้อ่านกัน หากผิดพลาดตรงไหน ก็ขอโทษด้วยนะครับ ข้อมูลตรงไหนตกหล่นไป ผิดพลาด แนะนำกันได้เด้อ ส่วนใครมีความเห็น เทคนิค วิธีแก้อะไร ลองคอมเมนท์มาพูดคุยกันครับ

Sad for Advertising 🙁

อ้างอิง:

https://developer.apple.com/app-store/user-privacy-and-data-use/
https://web.facebook.com/business/help/126789292407737
https://web.facebook.com/business/help/331612538028890
Deep dive : How Advertisers using Web business tools are impacted and key actions to take.

ใครที่อยากได้อัพเดทใหม่ๆ ก่อนใคร
เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย
Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)

 

Facebook Pixel คืออะไร? พร้อมวิธีการติดตั้งโค้ดพิกเซล

Facebook Pixel คืออะไร? เหตุผลที่คุณต้องใช้งานพร้อมวิธีติดตั้งง่ายๆ

Facebook Pixel คืออะไร? พร้อมวิธีการติดตั้งโค้ดพิกเซล

Facebook Pixel คือโค้ด(code)ประเภทนึงที่ Facebook ใช้ในการ Tracking เพื่อติดตามพฤติกรรม, เรียนรู้พฤติกรรมลูกค้า รวมถึงใช้วัดผลลัพธ์ของการโฆษณาได้อีกด้วย

วิธีการในการทำ Facebook Pixel คือเราจะนำโค้ดเฟสบุ๊คพิกเซลพื้นฐานไปติดตั้งในเว็บไซต์ทุกๆหน้า

โดยเราสามารถใช้ Facebook Pixel ในการทำ Custom Audience ได้ลึกขึ้นกว่าเดิม ไม่ว่าจะเป็นการทำ Custom Audience เพื่อมาทำ Retargeting หรือทำ Custom Audience เพื่อมาสร้าง Lookalike Audience แบบคุณภาพสูง

อ่าน: วิธีการทำ Custom Audience และ Lookalike Audience ตอนนี้

6 เหตุผลว่าทำไมเราจำเป็นต้องใช้งาน Facebook Pixel

Facebook Pixel คืออีกวิธีการนึงที่ทำให้แคมเปญโฆษณาของเรายกระดับขึ้นไปอีกระดับนึง และจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการโฆษณาปัจจุบันที่มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือด เรามาดูเหตุผลที่คุณไม่ควรพลาดการใช้งาน Facebook Pixel กันดีกว่า

ทำไมคุณถึงต้องติดตั้ง Facebook Pixelขอบคุณภาพจาก https://itarsenal.com

  1. Facebook Pixel นั้นจะทำการส่งมอบข้อมูลต่างๆที่ได้รวบรวมไม่ว่าจะเป็นเรียนรู้พฤติกรรมจากในเว็บไซต์และบนเพจเฟสบุ๊ค ทำให้แคมเปญโฆษณาของเรามีความแม่นยำขึ้น เพราะระบบสามารถเรียนรู้และ Optimize ได้เก่งมากขึ้นจากการทำ Event ต่างๆเช่น การสั่งซื้อ, การ Add to cart, การกรอกฟอร์มรายชื่อ หรือ การกดโทรหาธุรกิจ

    ซึ่งระบบจะสามารถเรียนรู้สิ่งพวกนี้ เมื่อเกิดกระทำเหล่านี้ซ้ำๆบ่อยๆ ระบบก็จะฉลาดขึ้น ระบบสามารถวิ่งหาคนที่ใกล้เคียงข้อมูลตั้งต้นได้อย่างแม่นยำ(ถ้าเป็นการทำแคมเปญ Message วิธีการ Optimize ของระบบการจะวิ่งหาคนที่ทักหาเพจ ซึ่งมันเรียนรู้ได้แค่นั้น ไม่สามารถเรียนรู้หาคนสั่งซื้อหรือการกระทำอื่นๆได้)
  1. สามารถวัดผลด้วย Conversion ประเภทต่างๆได้ การ Subscribe อีเมล, หยิบใส่ตระกร้า, การสั่งซื้อ, การกดโทร แชทไลน์ แอพ Messenger เราสามารถวัดผลพวกนี้ได้ทั้งหมด รวมถึงเราสามารถสั่งให้ระบบวิ่งหาผลลัพธ์ประเภทไหนก็ได้ ที่ทำ Conversion(Event) ไว้
  1. เราสามารถเห็น Metrics ROAS และวัดผลได้ตรงมากขึ้น(Return on ad spend)ได้ ROAS คือผลตอบแทนจากการลงโฆษณา สมมติ ROAS 400% คือลงค่าโฆษณา 100 บาท เราขายได้ 400 บาท ซึ่งเมื่อเราเห็นเมทริกซ์นี้ ก็ทำให้เราวัดผลลัพธ์โฆษณาได้ลึกขึ้น มีผลตอบแทนจากลงทุนโฆษณาที่ดีขึ้น
  1. สามารถสร้าง Custom Audience แบบ Website Visitors คนเข้าเว็บไซต์ได้ รวมถึงการทำ Custom Audience แบบต่างๆไม่ว่าจะเป็นเวลาการอ่านในเว็บ, คนที่ Scroll ในหน้าเว็บไปต่างๆไปกี่เปอร์เซ็น หรือคนที่เข้าหน้าเว็บเนื้อหาต่างๆ
  1. สามารถสร้าง Custom Audience คนที่สั่งซื้อ หรือกรอก Lead ไปแล้ว และทำการ Exclude เอาออกจาก Campaign โฆษณาได้ ทำให้เราประหยัดงบค่าโฆษณามากขึ้น
  1. สามารถสร้าง Lookalike Audience ได้ Advance มากขึ้น ทำการสร้างคนที่ใกล้เคียงกลุ่มแรกแบบขั้นสูง เรียนรู้ได้ ไม่ว่าจะเป็นหาคนที่คล้ายๆคนที่ซื้อไปแล้ว, หาคนที่คล้ายๆคนที่เข้าหน้าสินค้า ฯลฯ

 

วิธีการติดตั้งโค้ด Facebook Pixel

ก่อนที่เราจะสามารถไปใช้งาน Facebook Pixel ได้ เราจะต้องมีเว็บไซต์เพื่อไว้สำหรับติดตั้งโค้ด Facebook Pixel

วิธีการสร้าง Facebook Pixel นั้นเราสามารถสร้างได้จากสองที่ เรามาดูวิธีแรกกันก่อนดีกว่า

วิธีแรก สร้างผ่าน Ads Manager ที่เราใช้ทำการขึ้นแคมเปญปกติ

เมื่อเราอยู่ที่หน้า Ads Manager นั้นให้มองไปที่มุมขวาบนเครื่องหมายจุด 9 จุด หรือ ขีด 3 ขีดแล้วแต่เวอร์ชั่น UI หลังจากนั้นเลือก Event Manager

เมนู Ads Manager เพื่อเข้า Event Manager ไปติดตั้ง Facebook Pixel

1. เมื่อเราเข้ามาใน Event Manager แล้วให้เรามองที่

ฝั่งซ้ายตรงเครื่องหมาย + เมื่อเอาเมาส์ไปวางจะเห็นคำว่า Connect Data Sources ทำการเลือกเมนูนี้

Event Manager สร้าง New data source สำหรับติดตั้ง Facebook Pixel

2. หลังจากนั้นทำการเลือก Web ฝั่งซ้าย มาอีกแท็บนึงให้ทำการเลือก Facebook Pixel ต่อ

วิธีการติดตั้ง Facebook Pixel เลือก เว็บไซต์

 

3. ระบบจะถามเราว่า เราจะติด Facebook Pixel ยังไง

วิธีการติดตั้ง Facebook Pixel เลือกฝั่งขวา Facebook Pixel

 

4. ทำการตั้งชื่อของพิกเซล ทำการใส่โดเมนเว็บไซต์(ไม่ใส่ก็ได้)
ใส่ชื่อพิกเซลกับโดเมนเว็บไซต์

 

5. Facebook Pixel สามารถติดตั้งผ่านเครื่องมืออะไรได้ไหม?

  • ติดด้วยตัวเองผ่านเครื่องมือต่างๆ
  • ส่งโค้ดไปให้โปรแกรมเมอร์หรือ WebMaster ทำการติดตั้งโค้ดให้
  • ติดผ่านเครื่องมือช่วยติดสำหรับพาร์ทเนอร์ของ Facebook

อย่างถ้าใครใช้งาน Shopify, Wix, Magento, WooCommerce ฯลฯ รวมถึง WordPress และ Google Tag Manager Facebook ก็มีฟีเจอร์การติดตั้ง Facebook Pixel อย่างง่ายรองรับช่องทางต่างๆ ในระบบอยู่แล้ว เราสามารถเลือกฝั่งขวาได้(ปกติที่ผมใช้ WordPress และ GTM ผมก็จะทำการติดตั้งโค้ดด้วยตัวเอง ไม่ทำการติดผ่านเครื่องมือช่วยต่างๆของเฟสบุ๊ค วิธีการคือติดตั้ง Google Tag Manager ก่อนแล้วค่อยติดตั้ง Facebook Ads ผ่าน Google Tag Manager)

วิธีการติดตั้งโค้ด 2 วิธี

ถ้าใครใช้ WordPress, Google Tag Manager, เว็บสำเร็จรูปในไทย, ติดตั้งโค้ดด้วยตัวเอง หรือฝาก Webmaster ติดโค้ดให้
แนะนำเลือกฝั่งซ้าย Manually add pixel code to website

 

6. ก้อปโค้ดพิกเซล Facebook Base code เพื่อทำการติดตั้ง

  • หากใครที่จะติดตั้ง Facebook Pixel ใน WordPress ด้วยตัวเอง

โดยไม่ผ่านโปรแกรมเมอร์และไม่ผ่าน Google Tag Manager นั้นให้ทำการดาวน์โหลด Plug-in ชื่อ Insert Headers and Footers นำโค้ดวางในส่วนของแท็ก

  • สำหรับเว็บใครที่ใช้ Google Tag Manager

เราเอาโค้ดของ GTM มาวางไว้ในส่วนของแท็กและตามที่ระบบ GTM แนะนำ แล้วค่อยเอาโค้ด Facebook Pixel ไปติดในระบบ GTM แทน

เมื่อทำการติดตั้ง Facebook Pixel base code เสร็จทำการกด Continue ต่อ

วิธีการติดตั้งโค้ด Facebook Pixel

 

7. หลังจากนั้นจะพบ Automatic Advanced Matching

Automatic Advanced Matching ช่วยในการจับกลุ่ม Custom Audience ได้เยอะขึ้น แม่นยำขึ้น

มีผลตอบแทนตอบแทนจากค่าโฆษณาที่ดีขึ้น อันนี้คือจากทางที่ Facebook แจ้งไว้ ให้เรากดเปิดไว้นะครับ

Advanced Matching ของ Facebook

 

8. Launch Event Setup Tool

ระบบก็จะพาให้เราไปกรอกเว็บไซต์ เพื่อพาเราไปสู่หน้าเว็บไซต์ ซึ่งเมื่อก่อนก็เป็นยืนยันโค้ดพิกเซล Facebook base code และ Test ว่าระบบรับ Event ต่างๆไหม

แต่ตอนนี้มีฟีเจอร์ที่พึ่งมาใหม่คือการทำ Event อย่างง่ายมากๆ

Lauch Event Setup tools

ผมขออธิบายเพิ่มเติมคำว่า Event หน่อยละกันครับ คือ Event ก็เปรียบเหมือนเหตุการณ์ต่างๆในเว็บไซต์ของเราไม่ว่าจะเป็นคนคลิกที่จุดไหนบ้าง, จำนวนคน Scroll ไปถึงตรงไหนบ้าง, จำนวนคนคลิกแอดไลน์, จำนวนคนสั่งซื้อ, หรือคนเข้าไปอ่าน blog เหตุการณ์อะไรก็แล้วแต่ไม่มีจะมีความสำคัญน้อยหรือมาก เราสามารถสร้างเป็น Event ไว้ได้ทั้งสิ้น

เมื่อเราทำการสร้าง Event ไว้เสร็จแล้วนั้น เราสามารถนำ Event ต่างๆมาเป็น Conversion ของแคมเปญโฆษณาได้ทั้ง Facebook Pixel(Facebook Ads) และฝั่ง Google ก็เป็นแบบนี้เช่นกัน แต่อย่างถ้า Event ไหนไม่ได้มีความสำคัญมาก อย่างเช่นจำนวนคนดูวิดีโอ หรือคนจำนวนคนคลิกไปอ่าน blog ไรพวกนี้เราก็จะไม่ได้นำ Event มาเป็น Conversion ของแคมเปญ

ขั้นตอนการ Test โค้ดและติดตั้ง Event

เมื่อเราทำการติดตั้งโค้ด Facebook Pixel แล้ว ปกติจะให้เรา Test เว็บไซต์โดยการใส่เว็บไซต์เข้าไปในช่อง แล้วระบบก็จะแจ้งว่ามี Traffic เข้าเว็บแล้วนะ โค้ดในเว็บไซต์ทำงานแล้วอะไรประมาณนั้น

แต่ตอนนี้นอกจากในช่องนี้จะใช้เพื่อเทสโค้ดแบบเดิมแล้ว มันยังมีความสามารถเพิ่มเติมมาอีกคือการทำ Event Tracking การเอา Event ต่างๆในเว็บไซต์มาเป็น Conversion

โดยวิธีการนั้นง่ายมากๆ

เดี๋ยวมาเขียนเรื่อง ฟีเจอร์ใหม่ Facebook Ads การทำ Event Tracking ในเว็บไซต์อย่างง่าย สำหรับมือใหม่เริ่มใช้แคมเปญ Conversion เพิ่มเติมอีกบทความนึงนะครับ

เมื่อเราใส่เว็บไซต์ไปในช่องนั้นจะพาเราไปสู่หน้าเว็บไซต์ ให้เราทำการกด Save เพื่อยืนยัน Base code ไปก่อน

 

เช็คโค้ด Facebook Pixel ว่าทำงานไหม ทำยังไง?

เมื่อเราผ่านขั้นตอนข้างต้น เราต้องทำการเช็คว่า Facebook Pixel ของเราทำงานจริงๆไหม โดยให้เราเข้าไปที่ Browser: Google Chrome แล้วเข้าไปที่เว็บไซต์ https://chrome.google.com/webstore/category/extensions เพื่อทำการดาวน์โหลด Extension เครื่องมือเสริมติดตั้งไว้ใน Browser

ให้ทำการค้นหา “Facebook Pixel Helper”

เช็คโค้ดเฟสบุ๊คพิกเซลด้วย Facebook Pixel Helper

 

Facebook Pixel Helper คืออะไร?

Facebook Pixel Helper คือเครื่องมือเอาไว้เช็คโค้ดพิกเซลของ Facebook ว่ามีการทำงานไหม มีโค้ดอะไรทำงานบ้างในหน้านี้ เกิดความผิดพลาดอะไรในการนำส่งข้อมูลจากโค้ดบาง ซึ่งมันจะรายงานผ่าน Facebook Pixel Helper หลักๆแล้วนั้น เราเอาไว้ใช้เช็คการทำงานของเว็บไซต์ตัวเองว่ามีการทำงานโค้ดสมบูรณ์ไหม

นอกจากนั้นเรายังสามารถใช้ดู Event ต่างๆในเว็บไซต์ของคนอื่นได้อีกด้วย โดยการเข้าไปในเว็บไซต์ที่เราอยากรู้ แล้วก็กดใช้ Facebook Pixel Helper แล้วเราก็ลองสร้างการกระทำต่างๆ แล้วลองสังเกตุว่ามี Event อะไรของเค้าทำงานบ้าง

 

การสร้าง Custom Audience ด้วย Facebook Pixel

1. ในหน้า Ads Manager เลือกเมนูฝั่งซ้ายบน เครื่องหมาย ขีดสามขีดหรือที่เป็นจุดๆ หลังจากนั้นเลือก Audience Manager

สร้าง Custom Audience ด้วย Facebook Pixel

2. เลือก Create Audience สีน้ำเงินเข้มฝั่งซ้ายหลังจากนั้น เลือก Website

3. เราสามารถเลือกได้เลยว่าเราจะสร้าง Custom Audience แบบไหนจากเว็บไซต์

สร้าง Custom Audience จากคนเข้าเว็บไซต์

พื้นฐานที่มีมาให้ก็จะเป็นคนเข้าเว็บไซต์ทั้งหมด, เข้าที่หน้าไหน หรือเวลาที่อยู่ในเว็บอันนี้จะเป็น % เช่นคนอยู่ในเว็บนานสุด Top 10%

เรายังสามารถนำข้อมูล Event ต่างๆที่เราติดตามไว้ นั้นมาสร้างเป็น Custom Audience และ Lookalike Audience แบบขั้นสูง มันจะมาอยู่ต่อตรง PageView

**แต่เราต้อง Track Event ก่อนนะ ถ้าเราเริ่มรันโฆษณาไปแล้ว แล้วพึ่งมาเริ่ม Track Event ตอนหลัง ระบบไม่เก็บข้อมูลย้อนหลังเกี่ยวกับ Event นั้นๆให้ ระบบมันก็จะเริ่มนับ 1 Event นั้นหลังจากที่เราทำการติดตั้งเสร็จ

ก็ต้องรอเวลาให้มันเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับ Event นั้นใหม่ ถึงจะเอาไปต่อยอดอะไรได้**

วิธีที่สอง การสร้าง Facebook Pixel สำหรับคนที่ใช้ Business Manager

ให้เราทำการเข้าไปที่ Business setting ในหน้า Business Manager หรือ Ads Manager จะเป็นรูปเฟือง 

วิธีการสร้าง Facebook Pixel ผ่าน Business Manager

ชวนคนในทีมมาใช้งาน Facebook Pixel

เพิ่มเพื่อนมาทำงานใน Facebook Pixel

ฝั่งซ้ายเลือกเมนู Pixel หลังจากนั้นเลือกชื่อ Facebook Pixels ที่เราต้องการจัดการ
หากเราต้องการชวนคนในทีม คนที่อยู่ใน Business Manager แล้ว มาใช้ Pixel กดตรง Add People ได้เลย

วิธีชวนเพื่อนให้มาทำงานใน Facebook Pixel

กดเลือกสิทธิ์ให้ทีมงาน ว่าจะให้ดูและสร้าง Conversion Ads ได้เฉยๆ

หรืออีกอันคือสามารถจัดการ, ลบ, สร้าง Conversion Ads, สร้าง Audience จากพิกเซลได้

เมื่อทำการเลือกเสร็จแล้วกด Assign ปุ่มสีน้ำเงินโล่ด

หากทีมยังไม่ได้อยู่ใน Business Manager เราจะมา Add เข้าไปใน Pixel ไม่ได้

เราต้องไปชวนทีมงานเข้ามาใน Business Manager ก่อนตรงแถบ People ฝั่งซ้ายบนๆ

และหลังจากนั้นเราสามารถ Assign Facebook Pixel นี้ได้ว่าเราจะให้เข้าไปใน Ad Account หรือบัญชีโฆษณาไหน ตรงข้างๆ Add People จะมีคำว่า Add Assets

ปุ่มนั้นคือการยัด Pixel ที่สร้างเข้าไปในบัญชีโฆษณา เพื่อให้ใช้งานร่วมกันได้

# สรุป

Facebook Pixel นั้นมีประโยชน์อยากมากในหลายๆด้านเลย อย่างที่กล่าวไปก็คือ

การสร้าง Custom Audience และ Lookalike Audience ได้แบบลึกมากๆ

รวมถึงยังช่วยในเรื่องของยอดขายและการวัดผลลัพธ์โฆษณาที่ชัดเจนมากขึ้น

สามารถเล่นกับ Event ต่างๆได้มากมาย

การเลือกให้ระบบ Optimize หา Event ไหนที่เราต้องการ

โดยเฉพาะถ้าเราอยากสเกลธุรกิจและยอดขายได้มากขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเรียนรู้พวก Facebook Pixel และแคมเปญ Conversion ไว้ เพราะมันเรียนรู้พฤติกรรมคน ทำการวิ่งนำโฆษณาไปแสดงกับคนที่แม่นยำกว่าการโฆษณาแคมเปญทั่วไปเยอะ

ขอบคุณที่อ่านกันมาถึงตรงนี้ หวังว่าบทความนี้คงถูกใจใครหลายๆคน ถ้าคิดว่ามีประโยชน์ แชร์ให้กับเพื่อนๆคนใกล้ตัวด้วยนะ

ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร
เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย
Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)

Feeling Love Digital Marketing 😀

อ้างอิง: https://www.facebook.com/business/help/742478679120153?id=1205376682832142
https://www.oberlo.com/blog/facebook-pixel
https://adespresso.com/blog/facebook-pixel/

คำศัพท์การตลาดออนไลน์

คำศัพท์ Digital Marketing ที่ทุกคนต้องรู้!

คำศัพท์การตลาดออนไลน์

ศัพท์ Digital Marketing หรือศัพท์ของการตลาดออนไลน์นั้น ก็เป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักการตลาดเช่นกัน เพราะว่าเวลาเราอ่านบทความต่างๆ หรือพูดคุยกับคนในวงการ เราก็จะได้เข้าใจสิ่งที่เค้าทำการสื่อสารกัน

ศัพท์ Digital Marketing มีอะไรกันบ้าง?

Facebook Page คือหน้าที่เราเอาไว้นำเสนอธุรกิจของเรา ใช้เพื่อติดต่อสื่อสาร สร้าง Engage กับผู้ใช้ ใช้งานร่วมกับ Ad Account

Ad Account คือบัญชีโฆษณาของเฟสบุ๊ค ซึ่งถ้าเราจะรันโฆษณา เราต้องมารันผ่าน Ad Account

Ads Manager คือเครื่องมือไว้ใช้รันโฆษณาของ Google โดย Ads Manager จะอยู่ภายใต้บัญชีโฆษณาซึ่งเรียกว่า Ad Account

Business Manager คือบัญชีจัดการธุรกิจของ Facebook สำหรับใครที่มีหลายๆ Facebook page หรือมีหลายๆ Ad account ก็ต้องมาสร้าง Business Manager

Impressions คือจำนวนครั้งการแสดงผลของโฆษณา

Clicks คือจำนวนคลิกที่เกิดขึ้นกับโฆษณา

CTR(click-through-rate) คืออัตราการคลิก [Clicks / Impression * 100 = CTR]

Conversion คือหน่วยวัดผลรูปแบบนึง ซึ่งเป็นการกระทำที่มีค่าต่อธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการสั่งซื้อ หรือการกรอกฟอร์ม

ชื่อแคมเปญประเภทนึงของ Facebook ก็มีชื่อว่า Conversion เช่นกัน

Conversion rate คืออัตราการเกิด Conversion [Conversions / Clicks * 100 = Conversion rate]

Lead generation คือการตลาดรูปแบบนึงที่เน้นการเก็บฟอร์มรายชื่อข้อมูลส่วนตัวลูกค้า เพื่อสร้างโอกาสขายในโอกาสถัดๆไป แต่ก็เป็นชื่อแคมเปญประเภทนึงของ Facebook ads เช่นกัน

Search ads คือโฆษณารูปแบบการค้นหาผ่านเว็บไซต์ Search Engine อย่างเช่น Google, Bing หรือ Yahoo แต่ที่ดังในไทยจะเป็น Google.com

Banner Ads คือโฆษณารูปแบบแบนเนอร์อาจมีหลายๆเจ้าที่ให้บริการแบนเนอร์เช่นพวก Native Ads, Taboola, GDN หรือการซื้อแบนเนอร์ผ่านเว็บไซต์ต่างๆโดยตรง

GDN คือโฆษณารูปแบบแบนเนอร์ ชื่อเต็มคือ Google Display Network รวมถึงเป็นชื่อเครือข่ายเน็ตเวิร์กของ Google ที่ไว้แสดงโฆษณาแบนเนอร์

Shopping Ads คือโฆษณารูปแบบช้อปปิ้ง เป็นรายการสินค้า ส่วนใหญ่ที่เราเห็นแสดงผลใน Google.com ซึ่งมีการแสดงผลในเว็บไซต์ Youtube และ Gmail อีกด้วย

A/B Testing คือการทดสอบบางสิ่งบางอย่างเพื่อหาผลลัพธ์ โดยทำการเปรียบเทียบกัน เช่น การแบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็น 2 กลุ่ม, หรือการแบ่งโฆษณาเป็น 2 ชิ้นเพื่อทำการเปรียบเทียบกัน

Outbound Marketing คือการตลาดแบบผลักออก ที่ไปคั่นลูกค้าขณะเสพสื่อต่างๆเช่น Facebook ads ไปคั่นลูกค้าขณะลูกค้าดู Facebook News Feed, Banner GDN ที่ขึ้นในเว็บไซต์ข่าว

Inbound Marketing คือการตลาดแบบดึงดูดเข้ามา เช่นการทำ Blog ทำ SEO ทำ content ให้คนติดตาม แล้วค่อยๆสร้างให้กลายเป็นลูกค้าต่อไปด้วยวิธีต่างๆ จะเป็นลักษณะที่ลูกค้าเข้ามาหาเราเอง

Content คือสื่อออนไลน์ทุกรูปแบบไม่ว่าจะ ภาพ,เนื้อหา หรือวิดีโอ ที่จริงคำว่า Content มักใช้พูดถึงกลุ่มงานเขียนคอนเทนต์ แต่ว่าที่จริงใช้รวมได้ทั้งหมด

E-Commerce คือเว็บไซต์ขนาดใหญ่ที่มีสินค้าเยอะๆ สามารถปิดการขายผ่านเว็บไซต์ได้

Email Marketing คือการทำการตลาดผ่านรูปแบบอีเมล

Own media คือสื่อที่อยู่ในมือเราเองไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์, Blog, Facebook page, Youtube Channel

Earn media คือสื่อที่เราได้รับมาโดยเราไม่ได้เสียเงินเช่น มีคนรีวิวถึงเรา, มีคนพูดถึงเราในโลกออนไลน์ เป็นต้น

Paid media คือการจ่ายเงินเพื่อซื้อสื่อ เช่น Facebook ads, Google ads, Tiktok ads หรือ Taboola เป็นต้น

Keyword คือคำที่เราจะใช้เป็นคำหลักของ Content ใน blog เพื่อให้รองรับกับการทำ SEO หรือการซื้อ Keyword เพื่อให้โฆษณาแสดงผลใน Google Ads

SEM(Seach engine marketing) คือการทำการตลาดบนเครื่องมือการค้นหา Search engine เช่น Google.com, Bing.com หรือ Yahoo.com เป็นต้น ในความหมายที่แท้จริงหมายถึง SEO และ PPC ทั้งคู่ด้วยกัน แต่คนชอบเรียก SEM ว่าคือ PPC

Pay-per-click(PPC) แปลว่าการจ่ายเป็นคลิก ใช้เรียกโฆษณาของ Google Ads ที่จ่ายเป็นคลิก ส่วนใหญ่จะใช้เรียก Search ads แต่ความหมายจริงๆก็หมายถึง Gdn ด้วยเช่นกัน

Paid Search คือการทำโฆษณาผ่าน Search engine ด้วยการเสียเงินเพื่อแสดงโฆษณา

Organic Search คือการที่เว็บไซต์ติดอันดับหน้า Search engine แบบไม่เสียเงิน

SEO(Search engine optimization) คือวิธีการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ติดอันดับหน้า Search engine แบบไม่เสียเงิน

Traffic คือจำนวนคนเข้าเว็บไซต์

Organic Traffic คือจำนวนทราฟฟิคที่เข้าเว็บไซต์จากตำแหน่ง Organic(ตำแหน่งที่ติดแบบธรรมชาติ ไม่เสียเงิน)

Paid Traffic คือจำนวนทราฟฟิคที่เข้าเว็บไซต์จากโฆษณาแบบเสียเงิน

Google Analytics(GA) คือเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลบนเว็บไซต์

Google Tag Manager(GTM) คือเครื่องมือที่ใช้ในการแทรกโค้ดในเว็บไซต์โดยไม่ต้องผ่านโปรแกรมเมอร์ รวมถึงการวัดผลเหตุการณ์ต่างๆในเว็บไซต์ ก็สามารถทำได้ผ่าน Tag Manager

Google Adwords หรือ Google Ads คือเครื่องมือทำโฆษณาของ Google ซึ่งมีโฆษณาแยกย่อยไปอีกหลายรูปแบบคือ Search ads, GDN, video ads, shopping ads และ app install ads

Landing page คือเว็บไซต์ 1 หน้าที่เราเอาไว้ส่งคนจากโฆษณามาลงหน้านี้

Sale page คือเว็บไซต์ 1 หน้าที่มีลักษณะเขียนเพื่อโน้มน้าวขายสินค้า

Facebook pixel คือโค้ดของ Facebook ที่เอาไว้ใช้เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมและใช้วัดผลลัพธ์

Audience คือกลุ่มผู้ชมโฆษณา

Algorithm คือระบบขบวนการทำงานของคอมพิวเตอร์ ที่ปฏิบัติตามกฏต่างๆที่คนสร้างระบบได้สร้างไว้ ในการตลาดออนไลน์ ระบบโฆษณาทุกอันมีอัลกอริทึ่มของตัวเอง ที่จะใช้ประเมินสิ่งๆต่าง ไม่ว่าจะเป็นการจัดอันดับ, การนำส่งโฆษณา, ระบบการประมูล ฯลฯ

CTA(Call-to-action) คือส่วนนึงในเว็บไซต์หรือในโฆษณา ที่เราสั่งให้ผู้ชมโฆษณากระทำการบางอย่าง ไม่ว่าจะด้วยรูปหรือข้อความ เช่น สั่งเลย, ซื้อตอนนี้ หรือโทรเลย

บทความนี้น่าจะพอช่วยให้ทุกสื่อสาร อ่านสื่อต่างๆได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น แล้วเจอกันบทความถัดไปครับ 😀

ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร
เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย
Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)

7 Application ฟรีสำหรับนักการตลาดออนไลน์ Digital Marketing

7 Application ฟรี! ที่สาย Digital Marketing ต้องมีติดเครื่อง

7 Application ฟรีสำหรับนักการตลาดออนไลน์ Digital Marketing

รวมแอพฯ โหลดฟรีบนมือถือ สำหรับนักการตลาด digital marketing เรามาดูกันดีกว่าว่าแอพฯ แต่ละตัวมีประโยชน์อย่างไรบ้าง

Facebook Ads Manager

แอพ Facebook Ads Manager

Ads manager คือเครื่องมือรันโฆษณาของ Facebook ads ซึ่งปกติเราจะตั้งค่า Campaign ทำงานกันผ่านคอมฯ แต่ในส่วนของโทรศัพท์มือถือ Smartphone นั้น ทาง Facebook ก็ได้ทำแอพฯออกมารองรับการทำโฆษณาด้วยเช่นกัน โดยเราสามารถทำการตั้งค่า Campaign ผ่านทางโทรศัพท์ได้เลย รวมถึงการวิเคราะห์ Campaign ได้ด้วย 

Google Ads

แอพฯ Google Ads

แอพ Google Ads คือแอพฯจากฝั่งโฆษณา Google Ads เราสามารถ Pause ส่วนที่เราไม่ต้องการใช้งาน เพิ่ม Keyword, ปรับ Bid Adjustment ได้ รวมถึงการใช้วิเคราะห์ข้อมูล

ทั้ง Facebook ads และ Google Ads แนะนำให้ใช้เช็คผลลัพธ์ตอนอยู่ข้างนอกบ้าน หรือปิด-เปิด-ปรับ Campaign ตอนเร่งด่วน ตั้งค่าผ่านคอมยังคงตอบโจทย์ที่สุด

Pages Manager

แอพฯ Facebook Page Manager

Pages Manager คือแอพสำหรับบริหารจัดการ Facebook page จะโฟกัสไปที่เพจเฟสบุ๊ค แตกต่างจาก Facebook ads manager อันนั้นจะบริหารโฆษณา

ในส่วนของ Pages manager นั้นสามารถทำเกือบทุกอย่างเหมือนในเพจเฟสบุ๊คพวก โพสต์เนื้อหา, ภาพ, วิดีโอ หรือชวนเพื่อนไลค์เพจ รวมถึงการวิเคราะห์ Page insight และการตอบแชททางกล่องข้อความ เราสามารถทำได้จากแอพฯนี้ทั้งหมด

Facebook Analytics

แอพฯ Facebook Analytics

Facebook Analytics คือเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลบน Facebook หลักๆจะวิเคราะห์ข้อมูลจาก Facebook Pixel มาแสดงผลลัพธ์ให้เราดู รวมถึงวิเคราะห์ข้อมูลจาก Facebook Page ได้ด้วย โดยเราสามารถใช้ Facebook Analytics ผ่าน Ads manager ในคอมฯได้เช่นกัน

Google Analytics

แอพฯ Google Analytics

Google Analytic คือเครื่องมือสำหรับวิเคราะห์ข้อมูลบนเว็บไซต์ ในแอพฯสามารถใช้วิเคราะห์คร่าวๆได้ มี Interface ที่ใช้งานง่าย มีรีพอร์ทให้ครบเหมือนตอนเข้าผ่านเว็บไซต์ เราสามารถเลือกรูปแบบรีพอร์ทได้จากมุมซ้าย

My Business

แอพฯ Google My Business

My Business คือแอพฯของ Google My Business

Google My Business คือวิธีการที่เราทำให้ธุรกิจของเราขึ้นไปอยู่ใน Google Maps ซึ่งเมื่อเราสร้าง Google My Business เสร็จแล้ว เราสามารถเอาอีเมลที่เราใช้สร้างมาล็อกอินในแอพฯเพื่อบริหารจัดการข้อมูลของธุรกิจ, โพสต์ที่เราจะอัพเดท, ภาพบรรยากาศ-ภาพสินค้า และดู-ตอบรีวิวลูกค้า เราสามารถบริหารจัดการทุกอย่างที่กล่าวมาผ่านในแอพได้

Tag me

แอพฯ Tag Me

ข้อมูลแอพอื่นๆเราพูดถึงพวกโฆษณา,เพจ,เว็บไรไปหมดละ แอพพลิเคชั่นนี้เอาใช้นักการตลาดสาย Instagramer หน่อย สำหรับใครที่ชอบปวดหัวเวลาหา hashtag มาใช้ประกอบภาพ Instagram ทางออกของคุณมาแล้ว คุณสามารถใช้แอพฯนี้ > หา Categorey ที่ต้องการ แล้วคุณทำการ Copy tag ที่คุณเลือกไว้ไป paste ได้หมดเลย

หลังจากเพื่อนๆรู้จักแอพฯสำคัญสำหรับนักการตลาดไปแล้ว อย่าลืมไปโหลดใส่เครื่องตัวเอง จะได้ทำงานได้ทุกที่ทุกเวลา ทำงานแบบมีประสิทธิภาพสุดๆ T T

ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร
เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย
Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)

วิธีการสร้าง Facebook page

วิธีการสร้าง Facebook Page พร้อมเทคนิคเพิ่มผู้ติดตามเพจ ฟรี!

การสร้างเพจ Facebook page มักเป็นจุดเริ่มต้นของใครหลายๆคนที่จะเริ่มทำการตลาดออนไลน์แรกๆ บทความนี้สำหรับหลายๆคนที่สงสัยเกี่ยวกับวิธีการสร้างเพจ facebook ขายของหรือทำธุรกิจต่างๆ

วิธีการสร้าง Facebook page

การสร้างเพจ Facebook นั้น เราจะต้องทำการสร้างเพจจากเฟสบุ๊คส่วนตัว

ดังนั้นหากใครยังไม่มีบัญชี Facebook ก็ทำการสมัครบัญชีส่วนตัวก่อน facebook.com

วิธีการสร้างเพจ Facebook Page สำหรับธุรกิจด้วย 6 วิธีง่ายๆ

Step 1: กรอกรายละเอียดธุรกิจ

คลิกเข้าลิ้งค์: https://www.facebook.com/pages/creation/

หรือเราสามารถเลือก Create ขวาบน ตรงแถวๆคำว่า Home แล้วเลือก Create page ได้เหมือนกัน

หลังจากเลือก Create page ระบบจะให้เราเลือกว่าเพจเราเป็น ธุรกิจ หรือเป็น พวกข่าว community ต่างๆ

คุณจะเห็น 2 ตัวเลือก ทำการเลือกฝั่งซ้ายถ้าเป็น

หลังจากในกรอกรายละเอียด

  • Page Name ชื่อเพจ
  • Categories ประเภทของเพจ
  • Address ถ้าเป็นประเภทธุรกิจมีหน้าร้าน เช่นอาหาร ต้องกรอกที่อยู่
  • Phone number เบอร์โทรศัพท์

การสร้างเพจ Facebook ในส่วนของชื่อเพจนั้น เราสามารถมาเปลี่ยนได้ในภายหลัง หากใครยังคิดไม่ออกให้ตั้งชื่อไปก่อน

Step 2: ใส่ภาพ Profile page และภาพปก Facebook cover

หลังจากนั้นระบบจะให้เราสามารถรูป Profile และภาพปก Facebook Cover ตามลำดับ

การใส่ภาพโปรไฟล์ Facebook และภาพปก Facebook cover

  1. ภาพ Profile ขนาดเล็กสุดที่เราจะใช้ได้นั้นคือ 170 x 170 pixels แต่ขนาดใหญ่กว่านั้นสามารถใช้ได้ ขอแค่มีอัตราส่วน 1:1 ระบบจะทำการย่อให้เอง
  2. ภาพปก Facebook cover ให้เราทำภาพขนาด 820 x 312 pixels โดยการแสดงผลใน Desktop ก็จะแสดงผล 820 x 312 pixels แต่ว่าในโทรศัพท์ Smartphone มันจะตัดด้านข้างซ้าย-ขวา ตัดไปด้านละ 90 pixels ดังนั้นข้อมูลอะไรที่สำคัญ ข้อมูลการติดต่อ รวมถึงหน้านายแบบจะถูกหั่นครึ่งอะไรพวกนั้น ระวังไว้ก่อนดีกว่าครับ

คลิกตรงไฮไลท์สีดำๆทั้งสองจุดเพื่อทำการอัพโหลด

Tips: หรือถ้าใครจะไม่จ้างออกแบบ Facebook Cover จะลองใช้เว็บ Canva.com ก็สามารถทำได้

Facebook Cover สามารถใช้งานเป็นรูปแบบวิดีโอหรือสไลด์ได้ด้วย

Step 3: Page information ใส่รายละเอียดเกี่ยวกับธุรกิจในเพจ Facebook

ในส่วนแรกคือให้ดูที่ Tabs บนๆหน้าที่เราบริหารจัดการเพจคำว่า Setting > Page Info

หลังจากนั้นทำการกรอกข้อมูลแต่ละส่วน

  • Description คำอธิบายเกี่ยวกับธุรกิจ
  • Categories ประเภทของธุรกิจ
  • Contact information ช่องทางการติดต่อ
  • Location สถานที่(เมื่อพิมพ์ที่อยู่ของเราเสร็จ Pin Location มันไม่เด้งไปตามให้เราลาก Pin ไปวางเอา)
  • Hours ช่วงเวลาที่ให้บริการ
  • More ในส่วนนี้จะใส่หรือไม่ใส่ก็ได้

แถบ About ของ Facebook page

ที่เราได้กรอกไป มันจะไปแสดงผลในแถบ About หน้าเพจเฟสบุ๊ค และเราสามารถแก้ไขจากตรงนั้นได้เลย รวมถึงการเพิ่ม Story ที่จะไปแสดงผลในหน้าเพจเฟสบุ๊ค

โดยเราสามารถเช็คการสร้างเพจ Facebook ของเราได้ว่ามีหน้าตาอย่างไร โดยการเข้าที่ … ปุ่มจุดไข่ปลาข้างปุ่มแชร์เพจ แล้วเลือก View as page visitors

Tips

อีกจุดนึงคือการตั้งชื่อ Username จะต้องตั้งให้กระชับเข้าใจง่าย เพราะว่าจะต้องเอาไปใช้เป็นชื่อลิ้งค๋แปะในที่ต่างๆ

Link: fb.me/digitalmindhub หรือ facebook.com/digitalmindhub

ปุ่ม CTA(call-to-action) เพจเฟสบุ๊ค

ให้เราทำการใส่ปุ่ม Call-to-action(CTA) ปุ่มอยู่ฝั่งขวาล่างของ Facebook Cover จุดนี้จะเป็นจุดกระตุ้นให้ผู้ใช้สร้างการกระทำบางอย่าง

ให้เราทำการเลือกตามวัตถุประสงค์ของธุรกิจที่ต้องการ ใครต้องการข้อความเลือก Message หรือ ต้องการให้ลูกค้าโทรเลือก Call now

Step 4: สร้าง Customize หน้าเพจ Facebook

การทำเพจเฟสบุ๊ค เค้าให้เราสามารถปรับแต่งในส่วนของ Templates and Tabs ได้ว่าเราจะเอาเมนูอะไรไว้ อะไรออก

ตัวอย่างแถบ Facebook page tab ที่สามารถทำการแก้ไขปรับแต่งได้

Setting > Templates and Tabs

ที่จริงเฟสบุ๊คก็มี template ให้เลือก ถ้าเราไม่โอเคก็สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้

การแก้ไข facebook page template

หลังจากเลือก template เสร็จให้เราทำการปรับแต่งได้เลยจะเอาแท็บอะไรออก อะไรขึ้นก่อน

Step 5: เพิ่มทีมงานเข้าสู่เพจ Facebook

วิธีการเพิ่มทีมงานให้เราเข้าไปที่

Setting > Page roles

โดยจะมีระดับสิทธิ์ในการเข้าถึงอยู่ 5 ระดับ

Admin – มีสิทธิ์ทำทุกอย่างได้ในเพจ (ค่าพื้นฐานเราเป็น admin อยู่แล้ว)

Editor – สามารถแก้ไขเพจ, ส่งข้อความ ขึ้นโพสในนามของเพจ, สร้าง Facebook ads, ดูว่า admin คนไหนสร้าง post หรือ comment และสามารถดูข้อมูล insight ของเพจได้

Moderator – สามารถตอบ Comment หรือลบ Comment ได้เช่นกัน,  ส่งข้อความในนามของเพจ, สามารถสร้าง ad โฆษณา, ดูว่า admin คนไหนสร้าง post หรือ comment และสามารถดูข้อมูล insight ของเพจได้

Advertiser – สามารถสร้างโฆษณา, ดูว่า admin คนไหนสร้าง post หรือ comment และสามารถดูข้อมูล insight ของเพจได้

Analyst – สามารถดูว่า admin คนไหนสร้าง post หรือ comment และสามารถดูข้อมูล insight ของเพจได้

Step 6: ปล่อยโพสต์แรกของเรา

โพสต์ที่เราใช้ลงสามารถลงได้ทั้งแบบภาพเดี่ยว, ภาพอัลบั้ม, วิดีโอ หรือแม้แต่ สไลด์โชว์เลื่อนๆ เราก็สามารถนำมาใช้เป็น Post ของเพจได้

ตัวอย่างโพสต์แรก Facebook page

ก่อนที่เราจะชวนใครเข้ามาเพจ Facebook เรานั้นให้เราทำการลงคอนเทนต์ไปก่อนสัก 3-5 โพสต์เพื่อที่ให้เพจเรามันดูน่าสนใจ ไม่เป็นเพจร้างๆ ไม่น่าเชื่อถือ

เช่นถ้าเป็นโรงยิม คนที่เข้ามาก็คงจะอยากเห็นว่าโรงยิมของคุณหน้าตาเป็นยังไง?

ถ้าเป็นร้านอาหาร ร้านและเมนูคุณเป็นอย่างไร?

รวมถึงการแสดงความรู้ เทคนิคต่างๆ เพื่อให้ลูกค้ารับรู้ถึงแบรนด์ของเรา

เทคนิคการเพิ่มยอดผู้ติดตาม Facebook page แบบไม่เสียเงิน

ชวนเพื่อนมาไลค์เพจ

แน่นอนคนส่วนใหญ่มักใช้คนกลุ่มแรกมักจะเป็นเพื่อนของเรา โดยเทคนิคการช่วยเพื่อนในเฟสบุ๊คให้มาไลค์เพจเรา ที่จริงก็สามารถทำได้ ไม่ได้เสียหายอะไร แต่ไม่ควรเยอะเกินไป เพราะมันจะทำให้เพจเรามันไม่ตรงกลุ่มเป้าหมาย ทั้งตอนคน Engagement กับโพสต์ แล้วเรานำไปใช้เป็นข้อมูลสร้าง Custom Audience และ Lookalike Audience ต่อ รวมถึงตอนวิเคราะห์ Audience Insight 

แชร์คอนเทนต์ความรู้เข้าไปในกลุ่ม Facebook group ต่างๆ

เทคนิคนี้ถือว่าใช้ได้ผลดีเลยทีเดียว ให้เราสร้างคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเรา แต่ไม่ได้มีเนื้อหาในการขายสินค้า เน้นให้ความรู้กับลูกค้าก่อน เทคนิคแบบนี้จะทำให้เราได้กลุ่มเป้าหมายของเราจริงๆ สนใจในเรื่องเดียวกับเรา แต่ต้องเป็นคอนเทนต์ที่มีประโยชน์ต่อลูกค้าจริงๆนะ ไม่งั้นโพสต์อาจจะเงียบไปเลย

แปะ Facebook page ของเราไว้ในเว็บไซต์

การที่ทำให้ผู้ใช้จากเว็บไซต์ทราบและเห็นว่าเราก็มีเฟสบุ๊คเพจ ในตำแหน่งที่เด็ดชัด ก็จะช่วยเพิ่มยอดผู้ติดตามของเพจเราได้

ตัวอย่าง

นำลิ้งค์ Facebook page ไปไว้ในในช่องทางต่างๆ

การใส่ลิ้งค์ Facebook เข้าไปในช่างทางต่างๆ และอีเมลก็เป็นอีกวิธีนึงที่เวลาเราติดต่อสื่อสารกับคนอื่น เค้าอ่านข้อความเราจบ และจะเห็นลิ้งค์ Facebook page ของเรา รวมถึงการนำลิ้งค์ Facebook ของเราไปแปะในช่องทางออนไลน์ Digital Marketing Channel ต่างๆของเรา และการสร้าง QR Code ไว้บนโลก Offline

การใช้ Hashtags

Hashtags ถือเป็นอีกช่องทางนี้ที่สามารถใช้เพื่อเข้าถึงผู้ติดตามได้เพิ่มเติม หากผู้ใช้กดเข้าไปที่ Hashtag ต่างๆ เฟสบุ๊คก็สามารถใช้ Hashtags ได้เช่นกัน ดังนั้นให้ใส่ไว้ด้วย เพื่อจะได้สามารถเข้าถึงผู้ติดตามได้เพิ่มเติม

ซื้อ Page Like เถื่อน

เห็นวิธีเป็นวิธีที่นิยมของคนไทยหลายๆคน แต่ผมไม่แนะนำนะ เพราะการซื้อ Page Like เราซื้อมาเค้าไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายเราจริงๆ ทีนี้มันจะเกิดไรขึ้นถ้าปล่อยคนที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายมาไลค์เพจเราดองไว้แบบนั้น

ก็คือเวลาเราโพสต์บทความ ภาพ คอนเทนต์ อะไรลงไป กลุ่มนี้เค้าจะไม่ตอบสนองเรา ทั้งเป็นบัญชีเปล่าและเป็นคนที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย ทีนี้เราลงอะไรไป เค้าจะไลค์ ไม่แชร์ ไม่คอนเมนต์ ไม่สร้าง Reaction อะไรกับเราทั้งนั้น

ทำให้ Reach เรามันจะต่ำลงเรื่อยๆ เหตุผลมันจะคล้ายๆชวนเพื่อนเยอะเกินไปแหละ แต่อันนี้แย่กว่าอีกทั้งการซื้อ Page Like และการชวนเพื่อนเยอะเกินไป เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ทั้งสองกลุ่มนี้ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย เวลานำข้อมูลจากสองกลุ่มนี้ไปทำ custom audience กับ Lookalike audience มันก็จะกลุ่มเป้าหมายมามั่วๆหน่อย

สมมติเราเลือก Custom audience แบบ Engagement ก็จะติดเพื่อนหรือไลค์ปลอมมา ถ้าเค้าเคยคลิกโฆษณาเรา ที่สำคัญถ้าซื้อ Page Like ฟีเจอร์ Audience Insight เลิกใช้ไปเลย มั่วยาวๆ

ไม่อยากให้ยึดติดกับยอดไลค์แฟนเพจ(Page Like) อะไรขนาดนั้น มันไม่ได้การันตีทุกอย่าง แค่มีไว้ให้มันน่าเชื่อถือระดับนึง ถือว่าโอเคแล้ว

 

หลังจากทุกคนทำตามนี้ทุกคนก็จะได้เพจเฟสบุ๊คเป็นของตัวเอง พร้อมกับได้ผู้ติดตามจำนวนนึงเรียบร้อยแล้ว หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์กับทุกคน แล้วพบกันบทความถัดไป

อ้างอิง: https://buffer.com/library/how-to-create-manage-facebook-business-page/
ขอบคุณภาพจาก: freepik.com

ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร
เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย
Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)

 

Conversion สำคัญยังไง? พร้อมเทคนิคการเพิ่ม Conversion rate

Conversion คืออะไร สิ่งที่คุณต้องรู้ก่อนทำการตลาดออนไลน์

Conversion คืออะไร 

Conversion คือ หน่วยหรือสิ่งบ่งชี้ที่แสดงให้เห็นว่ากลุ่มเป้าหมาย  take action ตามที่ตั้งเป้าหมายของแคมเปญนั้นไว้ เช่น สั่งซื้อของ ลงทะเบียน กรอกลีดส์ เป็นต้น  นอกจากนี้ ยังแบ่งประเภท Conversion ออกเป็น Macro Coversion และ Micro Conversion

ภาพแสดง Conversion Funnel

ที่มา: Freepik

Macro Conversion คือ 

เป้าหมายหลัก ของ conversion ของการทำเว็บไซต์ในแคมเปญนั้น ๆ เช่น สั่งซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ ลงทะเบียนกรอกฟอร์ม เป็นต้น

Micro Conversion คือ 

เป้าหมายรองอันเป็นผลมาจาก Macro Conversion ของการทำเว็บไซต์ในแคมเปญนั้น ๆ เช่น กดเลือกสินค้าใส่ในตะกร้า สมัครบัญชีเป็น member ของเว็บไซต์ เป็นต้น

Lead Conversion คือ

กระบวนการหรือขั้นตอนที่แปลงรายชื่อว่าที่ลูกค้าหรือลีดส์ให้กลายเป็นโอกาสในการสร้าง conversion ของแคมเปญต่อไป

Conversion rate คือ  

อัตราส่วนของจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ take action ตามเป้าหมายของแคมเปญกับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ โดยนำจำนวนครั้งที่กลุ่มเป้าหมาย take action จนเกิด conversion หารกับจำนวน conversion ของ sessions ทั้งหมด

การวิเคราะห์ Conversion

ที่มา: emanuel

วิธี optimize Conversion Rate นั้น จะเกิดขึ้นเมื่อมีคนเข้ามาเยี่ยมชมหน้าเว็บไซต์ ซึ่งต่างจาก Conversion ของ seo หรือ paid ads ที่จะโฟกัส

การเพิ่ม clicks through rate จำนวนคลิก และคีย์เวิร์ด 

การเพิ่ม Conversion Rate ทำได้อย่างไร

การวัด Conversion rate ขึ้นอยู่กับเป้าหมายแคมเปญแต่ละประเภทว่าต้องการอะไร วิธีเพิ่ม conversion rate นั้นทำได้ง่าย ๆ และเหมาะกับแคมเปญแต่ละแบบ ดังนี้

เน้น call to action ให้ดี

call to action คือปุ่มหรือลิงก์ที่จะช่วยให้กลุ่มเป้าหมาย take action ตามที่เราต้องการได้ เช่น Add to Cart Register Now เป็นต้น การออกแบบดีไซน์และ copy text ของ call to action ให้หลากหลายจะช่วยให้เราได้ไอเดียของการสร้าง call to action ที่ดีในการทำแคมเปญครั้งต่อไปหากไม่มีสูตรสำเร็จของการทำ call to action ที่ดีที่สุดนักการตลาดจึงต้องทดสอบด้วยชุดข้อมูลหลายประเภทและหาว่า call to action แบบไหนที่ตอบโจทย์แคมเปญของเรามากที่สุด

การเล่น call to action ที่ดีจะช่วยเพิ่ม conversion rate ได้มากถึง 20% การเขียน call to action ด้วยคำที่ชัดเจนตรงไปตรงมาและสื่อให้รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายควรจะทำอะไรเมื่อจะ take action ต่อไปจะช่วยให้เกิด conversion rate ได้สูงยิ่งขึ้น

สร้าง user experience ที่ดี

UX หรือ user experience ที่ดีนั้นประกอบด้วยการวาง layout เนื้อหาและการใช้งานของ landing page ที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริงโดยทั่วไปแล้วฟังก์ชันของ landing page แบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่

  • ให้รายละเอียดข้อมูลว่าแบรนด์ offer อะไรให้ลูกค้า
  • โน้มน้าวกลุ่มเป้าหมายว่า offer ของแบรนด์ดีและแตกต่างจากแบรนด์อื่นอย่างไร
  • แสดงให้เห็นว่ากลุ่มเป้าหมายจะได้รับ offer ตามที่ต้องการด้วยการทำอย่างไร

หากดูจากคำอธิบายข้างต้นแล้ว หน้าที่หลักของ Landing Page ก็คือกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายต้องการ take action รวมทั้งช่วยไกด์ให้พวกเขาทำตาม action นั้น ตามที่เราตั้ง conversion ไว้ 

นักการตลาดจึงต้องวางแผนและวิเคราะห์การสร้างสรรค์ Landing Page ออกมาให้หลากหลายโดยอาจปรับเปลี่ยนการจัดวางองค์ประกอบศิลป์อย่างแตกต่าง เลือกใช้ font ถ้อยคำหรือเนื้อหา content ที่หลากหลาย รวมทั้งติดตามผลดูว่าองค์ประกอบศิลป์แบบไหน เนื้อหาแบบใดที่กระตุ้นให้ผู้คน take action จนเกิด conversion ได้มากที่สุด

ติดตามผลองค์ประกอบต่าง ๆ

องค์ประกอบทุกอย่างของการทำแคมเปญล้วนส่งผลต่อเป้าหมายของแคมเปญแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มยอดวิว การลงทะเบียน กรอกลีดส์ หรือจำนวนการดาวน์โหลดต่าง ๆ การติดตามผลขององค์ประกอบเหล่านั้นจะช่วยให้คุณเห็นว่าสิ่งที่เราทำลงไปก่อให้เกิด impact มากน้อยแค่ไหน กลุ่มเป้าหมาย take action ตามที่ต้องการหรือไม่

ยกตัวอย่างบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์แห่งหนึ่งตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเพิ่มยอดขายไม่ได้กลุ่มเป้าหมายของพวกเขาอาจมาจาก 3 ช่องทางได้แก่

  • คลิก call to action จากการดูวีดีโอในหน้าโฮมเพจ
  • คลิก call to action จัดการกรอกแบบฟอร์มสำหรับสมัคร account ของเว็บไซต์
  • ลงทะเบียนรับข้อเสนอพิเศษในหน้าเว็บไซต์

บริษัทได้ทำแคมเปญแบบ A/B testing เพื่อหวังจะเพิ่มจำนวนกลุ่มเป้าหมายเข้ามาอย่างหน้าเว็บไซต์ โดยพวกเขาติดตามผลจากจำนวนคลิกทั้ง 3 ช่องทาง เพื่อดูว่าช่องทางไหนและวิธีใดที่ช่วยหากลุ่มเป้าหมายเข้ามาหน้าเว็บไซต์และทำให้เกิด conversion ได้มากที่สุด

การติดตามผลขององค์ประกอบต่าง ๆ จะช่วยให้มองเห็นภาพรวมและวิธีออกแบบเว็บไซต์ที่ได้ผลตรงกับเป้าหมายของแคมเปญ

ทดสอบกับกลุ่มเป้าหมายที่ใช่

เมื่อคุณรู้อยู่แล้วว่ากลุ่มเป้าหมายของเราเป็นใคร marketing journey ของเขาอยู่ในขั้นไหน การออกแบบแคมเปญให้เหมาะสมกับพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายจึงเป็นเรื่องสำคัญ 

หากกลุ่มเป้าหมายของคุณเป็น organic traffic แน่นอนว่าพวกเขาคลิกเข้ามาในเว็บไซต์เพื่อหาข้อมูลที่ตนเองสนใจ ซึ่งอาจใช้เวลาในการอยู่ในหน้าเว็บไซต์นานกว่า ในขณะที่กลุ่มเป้าหมายที่เคยเข้ามาในเว็บไซต์แล้วอาจจะกลับเข้ามาในเว็บไซต์ของแบรนด์อีกครั้ง เพื่อตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของแบรนด์ก็ได้

นักการตลาดจึงต้องวางแผนและวิเคราะห์ให้ขาดว่ากลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงของเรานั้นคือใคร เพื่อที่จะได้ไปพัฒนาแคมเปญให้เหมาะสมและตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายของเราต่อไป

test test test

การทดสอบถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำแคมเปญการตลาดออนไลน์ เพราะจะทำให้เรารู้ว่าสิ่งที่เราลงมือทำไปนั้น อันไหนได้ผลและอันไหนไม่ได้ผล ซึ่งผลลัพธ์ทั้งสองแบบนี้ล้วนทำให้แบรนด์มองเห็นโอกาสในการเติบโตได้ การเพิ่ม conversion rate ที่ดีนั้นจึงต้องทดสอบหลายครั้ง

การทดสอบแคมเปญในแต่ละครั้งจะช่วยให้เราเห็นข้อบกพร่องและนำไปปรับปรุงได้ถูกจุด ทั้งนี้ การทดสอบแคมเปญยังถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรและสร้างวัฒนธรรมของการวัดผลโดยยึดหลักตามข้อมูลและข้อเท็จจริงได้อย่างถูกต้องและเที่ยงตรงที่สุด

ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร
เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย
Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)

สูตร CTR | CTR คืออะไร?

CTR คืออะไร สำคัญต่อการยิง ads อย่างไร + แจกสูตรคำนวณค่า CTR ง่าย ๆ

CTR หรือ Click-Through Rate อีกหนึ่งศัพท์ในแวดวงดิจิทัลที่นักการตลาดออนไลน์มักได้ยินและต้องเจออยู่บ่อย ๆ โดย CTR ถือว่าสำคัญมากหากคุณเป็นนักยิงโฆษณาตัวยง ไม่ว่าจะมาทางสาย bidding ในกูเกิ้ล หรือสาย optimize ใน Facebook บอกได้เลยว่าต้องเจอ CTR แน่นอน

บทความนี้ จะพาคุณไปทำความรู้จัก CTR ให้มากขึ้น รวมทั้งสอนคำนวณ CTR ง่าย ๆ ในแบบฉบับตัวเองกัน

CTR คือ

ค่าสัดส่วนของจำนวนผู้คนที่เห็นโฆษณาและคลิกเข้ามาหาเรา ซึ่งนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดว่าโฆษณาและคีย์เวิร์ดที่เรา optimize ไปนั้น แสดงผลได้ดีมีประสิทธิภาพหรือไม่ ทำได้ดีมากน้อยแค่ไหน โดยทั่วไปแล้ว เราสามารถดูค่า CTR หรือ Click-Through Rate ได้ที่แดชบอร์ดของบัญชีที่ใช้ยิงโฆษณาได้เลย ยิ่งค่า CTR สูงเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีเปอร์เซ็นต์ที่คนจะคลิกโฆษณาของเราง่ายขึ้นมากเท่านั้น

อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนก็คงเกิดคำถามว่าตกลงแล้ว CTR ที่ดีนั้นควรมีค่าเท่าไหร่ คำตอบก็คือ ไม่มีตัวเลขตายตัว ตัวเลขเฉพาะไม่สามารถชี้วัดได้ว่าแคมเปญโฆษณาในแต่ละครั้งของคุณดีหรือไม่ดี เพราะค่า CTR จะสูงหรือไม่สูงขึ้นอยู่กับคีย์เวิร์ดและการวางแผนโฆษณาในแต่ละแคมเปญ ค่าเฉลี่ยของ CTR ในธุรกิจแต่ละประเภทก็หลากหลายและแตกต่างกันไป ที่สำคัญ อันดับของโฆษณาที่แสดงผลในหน้าการค้นหานั้น ถือเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยให้ค่า CTR สูงหรือต่ำก็ได้

ลองมาดู ค่าเฉลี่ย CTR การทำ AdWords ของธุรกิจแต่ละประเภท ตามแผนภูมิข้างล่าง จะเห็นได้ว่าตัวเลข CTR นั้นหลากหลาย รวมทั้งธุรกิจแต่ละแบบก็มีค่าเฉลี่ยที่ต่างกันด้วย

CTR GDN Benchmark CTR เปรียบเทียบในอุตสาหกรรมต่างๆ

ที่มา: wordstream

ถึงอย่างนั้น หากเราอยากได้ตัวเลขค่า CTR โดยประมาณ เพื่อนำมาเทียบเคียงและวางแผนสำหรับทำการตลาดต่อไป อาจยึดว่า ค่า CTR สำหรับแคมเปญเสิร์ชคือ 4-5% + ส่วนค่า CTR สำหรับแคมเปญ display ads คือ 0.5-1% + 

CTR ใน Google กับ Facebook ต่างกันอย่างไร

เมื่อพูดถึงค่าเฉลี่ย CTR แล้ว ก็อาจมีอีกคำถามตามมา สรุปแล้ว ค่า CTR ใน Google กับ Facebook แตกต่างกันอย่างไร มาไล่ดูกันเลยดีกว่า

ค่าเฉลี่ย CTR ของ Google Display ad คือ .4% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย CTR ของ Facebook ad ประมาณสี่เท่าตัว

ค่าเฉลี่ย CTR ของ Google Search คือ 2-3% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย CTR ของ Google Display ad ประมาณสิบเท่าตัว และสูงกว่าค่าเฉลี่ย CTR ของ Facebook ad ร้อยเท่าตัว นอกจากนี้ ค่าเฉลี่ย CTR ของ Google Search ก็อาจพุ่งสูงถึง 30% ซึ่งขึ้นอยู่กับอันดับของโฆษณาที่แสดงในหน้าการค้นหาด้วย

ค่าเฉลี่ย CTR ของ Facebook คือ .051% ต้องบอกก่อนว่าค่านี้ไม่ใช่ตัวเลขที่ทางเฟซบุ๊กเปิดเผยออกมาอย่างเป็นทางการ แต่เป็นตัวเลขที่มีคนทำวิจัยจากการเก็บข้อมูลแคมเปญโฆษณาในเฟซบุ๊กจำนวน 11,000 กรณีศึกษา จนได้ตัวเลขเฉลี่ยออกมาเป็นค่านี้

หลายคนคงสงสัยต่อว่าทำไมค่าเฉลี่ย CTR ของเฟซบุ๊กถึงต่ำกว่ากูเกิล ประเด็นนี้อธิบายได้ด้วยสองเหตุผล อย่างแรก ก็เพราะเฟซบุ๊กมีรูปแบบโฆษณาและการเลือกกลุ่มเป้าหมายหลากหลาย ซึ่งช่วยให้เจาะจงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่มจริง ๆ ที่อาจไม่ได้มีเยอะเมื่อเทียบกับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าไปค้นหาในหน้า search engines อย่างที่สองก็เพราะความสนใจของผู้ใช้งานในเฟซบุ๊กน้อยกว่า ลองนึกดูว่า เมื่อเราเข้าแอปพลิเคชันจำพวกโซเชียลมีเดีย เราจะเน้นเสพความบันเทิงและเรื่องราวของคนใกล้ตัวหรือเรื่องที่สนใจ มากกว่าโฆษณาที่ยิงมาหาเรา จึงไม่แปลกที่ผู้คนจะเลื่อนหน้าฟีดส์ผ่านเวลาเจอแบนเนอร์โฆษณาในเฟซบุ๊ก

CTR ช่วยให้โฆษณาทำงานดีได้อย่างไร

หากเราอยากให้แคมเปญโฆษณาที่ทำมีค่า CTR สูง ตามมาตรฐานที่ตั้งเป้าไว้ ต้องมุ่งไปที่สิ่งสำคัญหลัก ๆ สองอย่าง ได้แก่  Ad Rank (อันดับที่ปรากฏบนหน้าการค้นหา) และ Quality Score ซึ่งเราจะมาไล่ดูกันว่า CTR จะสูงหรือไม่สูงนั้น ปัจจัยจากทั้งสองตัวนี้จะมีส่วนช่วยได้อย่างไรบ้าง

Ad Rank จะช่วยชี้วัดว่าโฆษณาของเราควรแสดงผลอยู่อันดับใดในหน้าการ search engines แน่นอนว่าในโลกของ bidding โฆษณาที่ได้อยู่อันดับแรกสุดไม่ใช่คนที่ bid ด้วยงบที่สูงเสมอไป เพราะการที่จะเลือกให้โฆษณาตัวไหนติดอันดับต้น ๆ นั้น ไม่ได้มีแค่เรื่องงบประมาณเพียงอย่างเดียว เพราะอัลกอริธึ่มจะประเมินค่า CTR ที่มีคนคลิกเข้ามาจริง ๆ กับค่า CTR ที่เราคาดการณ์ว่าจะต้องได้ (Actual CTR vs Expected CTR)

ยกตัวอย่าง คุณยิง ads หลายตัว แต่เรต CTR ที่ได้กลับต่ำมาก อัลกอริธึ่มจะคาดการณ์และประเมินว่าโฆษณาตัวต่อไปของบัญชีโฆษณานี้จะต้องมีค่า CTR ต่ำเหมือนอันที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้อันดับโฆษณาของคุณตกไปอยู่ล่าง ๆ แทน

คราวนี้มาดูกันที่ Quality Score บ้าง ต้องบอกก่อนว่า Quality Score จะวัดผลโฆษณาจากคีย์เวิร์ด copy และ Landing page หากเราสามารถสร้างสรรค์องค์ประกอบทั้งสามอย่างนี้ให้ร้อยเรียงเป็นเรื่องราวหรือข้อมูลที่กลุ่มเป้าหมายมองหาและตอบโจทย์พวกเขาด้วยแล้ว ก็จะทำให้ได้รับ Quality Score ที่ดี ยิ่งเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสิ่งที่พวกเขามองหามากเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้รับ Quality Score สูงมากเท่านั้น โดยการคำนวณ Quality Score จะประเมินจากเรต CTR ที่ตั้งไว้ ความเกี่ยวข้องของเนื้อหา และ UX ของ Landing page

CTR vs Conversion Rate ต่างกันอย่างไร

เมื่อเริ่มจับทางออนไลน์ นักการตลาดหลายคนคงเคยได้ยินและสับสนระหว่าง CTR กับ Conversion Rate กันอยู่บ้าง จริง ๆ แล้ว ทั้งสองอย่างนี้ต่างกัน ค่า CTR สูง ไม่ได้หมายความว่าจะได้ Conversion Rate ที่สูงตามไปด้วย เพราะ CTR วัดค่าจำนวนคนที่เห็นและคลิก ads เข้ามา ไม่ได้ชี้วัดยอดปิดการขาย ลงทะเบียน หรืออะไรก็ตามที่เราวางให้เป็น conversion ของแคมเปญนั้น ๆ จึงอาจกล่าวได้ว่าค่าร้อยละของ Conversion Rate ที่สูงนั้นค่อนข้างสำคัญในการวัดผลความสำเร็จของแคมเปญทั้งหมด

แต่อย่าลืมว่า CTR ก็เป็นส่วนสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะการจะมี CTR ที่ดีนั้น จะส่งผลต่อ Ad Rank และ Quality Score ให้มีคะแนนสูงขึ้นด้วย ซึ่งหมายความว่านี่คือสะพานด่านแรกที่พาเราไปปิดการขายหรือไปสู่ conversion ที่แท้จริงได้นั่นเอง ถึงแม้ CTR จะไม่ได้ส่งผลต่อ Conversion โดยตรง แต่ก็ถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญในการวิเคราะห์แคมเปญ และส่งผลต่อ Ad Rank และ Quality score

CTR สูตร คำนวณก่อนยิงโฆษณา

การคำนวณค่า CTR ของโฆษณาแต่ละประเภทจากกูเกิลและเฟซบุ๊กนั้น ใช้สูตรคำนวณเหมือนกัน โดยใช้จำนวนคลิกกับอิมเพรสชันเท่านั้น ได้เป็น

(จำนวนคนคลิกโฆษณา / จำนวน impression) x 100 = CTR

ยกตัวอย่าง คุณสร้างแคมเปญโฆษณาขึ้นมา โดยยิง ads แสดงผลจำนวน 5,000 ครั้ง แต่มีจำนวนผู้ที่เห็นและคลิกโฆษณานั้นเข้ามาทั้งหมด 200 คน คุณสามารถคำนวนค่า CTR ของแคมเปญนี้ได้ ดังนี้

(200 / 5,000) x 100 = 4%

สูตร CTR | CTR คืออะไร?

ที่มา: business2community 


ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร

เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย
Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)

Retargeting คือ? Facebook Remarketing คือ? custom audience & Lookalike audience คืออะไร

Retargeting คืออะไร? Custom Audience vs Lookalike Audience เลือกแบบไหน[พร้อมวิธีทำ]

Retargeting หรือ Facebook Remarketing คือ

การทำโฆษณากลับไปหาคนที่เคยมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์แล้ว ไม่ว่าจะผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับเพจเฟซบุ๊ก, ผ่านเว็บไซต์โดยการเก็บข้อมูลผ่าน Facebook Pixel หรือจากคนดูวิดีโอหรือจากคนกดเข้าฟอร์มกรอกรายชื่อจากโฆษณาแบบ Lead generation

Remarketing หรือ Retargeting คืออะไร

โดยเราจะทำการโฆษณาใส่คนกลุ่มนี้เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจเค้า เพราะเค้าอาจจะสนใจแบรนด์ในระดับนึง แต่ยังไม่ได้ทำการตัดสินใจหรือลืมเราไป เราก็จะนำโฆษณาอีกชุดนึงไปกระตุ้นลูกค้ากลุ่มนี้

โดยการทำ Retargeting จะใช้ฟีเจอร์ Custom audience เพื่อใช้งานในส่วนนี้

อีกส่วนคือ Lookalike audience ที่มีความสำคัญต่อการสเกลธุรกิจมากๆ

Custom Audience และ Lookalike Audience หนึ่งในเรื่องสำคัญที่นักการตลาดออนไลน์ต้องรู้เมื่อคิดจะทำ retargeting ในเฟซบุ๊ก เพราะการสร้างฐานลูกค้าที่ดี ต้องมาจากการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน โดยกลุ่มเป้าหมายทั้งสองแบบนั้น ถือเป็นว่าที่ฐานลูกค้าที่เราควรเข้าไปตีตลาดให้ได้

แผนภาพแสดง Custom Audience ใช้นับไปสร้างเป็น Lookalike Audience

Credit: adespresso

มาดูกันว่า Custom Audience และ Lookalike Audience คืออะไร แล้วมีวิธีไหนหรือเทคนิคอะไรที่จะนำไปใช้เมื่อต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายสำหรับยิง ads ได้บ้าง

custom audience vs lookalike audience คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร

Custom Audience คือ

กลุ่มเป้าหมายที่รู้จักและเคยมีปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์มาอยู่ก่อนแล้ว อย่างการคลิก ads เข้ามา หรือดูรายละเอียดสินค้าหรือบริการในเว็บไซต์ของแบรนด์ การสร้าง Custom Audience จะช่วยให้ลงรายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งเพิ่ม conversions ของการทำโฆษณาบนเฟซบุ๊กได้

ภาพอธิบายส่วนประกอบ Custom audience

Credit: dataethics

เพราะอย่างน้อยแบรนด์ก็มีข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่เคยเข้ามาดูหรือสร้าง engagement กับแบรนด์ทั้งทางแพลตฟอร์มโซเชียลหรือเว็บไซต์อยู่แล้ว นักการตลาดจึงอาจนำข้อมูลจำพวกอีเมล เบอร์โทรศัพท์ และอื่นๆ มาทำ Custom Audience ได้ 

แต่จริงๆ แล้ว ยังมีวิธีการทำ Custom Audience อีกหลายวิธี ซึ่งเราจะมาคุยเรื่องนี้ในหัวข้อถัดไปกัน

Lookalike Audience คือ

กลุ่มเป้าหมายใหม่ที่ไม่เคยรู้จักแบรนด์เรามาก่อน แต่มี persona ที่ตรงกับลักษณะของการเป็นว่าที่ลูกค้าเราได้ ถือเป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะมาเปลี่ยนเกมทำการตลาดออนไลน์ รวมทั้งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยขยายฐานลูกค้าจาก Custom Audience ไปอีกหนึ่งก้าวด้วย

Lookalike audience คืออะไร?

Credit: megalytic

เพราะแบรนด์สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายใหม่ ซึ่งมีโอกาสและกำลังซื้อเหมือนกับกลุ่มเป้าหมายที่เราตั้งไว้ วิธีทำ Lookalike Audience ก็มีหลายแบบ ทั้งเริ่มทำจาก customer data, custom audience แบบคนเข้าเว็บหรือคน Engagement กับเพจหรือแม้แต่คนที่เข้ามาดูวิดีโอของเราเอง โดยเฟซบุ๊กจะวิเคราะห์โปรไฟล์ของข้อมูลที่ได้ และคัดกรองว่าโปรไฟล์ไหนที่มีคุณสมบัติหรือลักษณะเหมือนกับที่เราปักธงไว้แต่แรก

 

Custom Audience ต้องทำอย่างไร

มาถึงวิธีการทำ Custom Audience กันบ้าง ซึ่งจริงๆ แล้ว ทำได้หลายวิธี วิธีที่นำมาบอกต่อกันวันนี้ ทำได้เองง่ายๆ ไม่ต้องใช้เวลายุ่งยากมากเกินไป ดังนี้

อัปโหลดข้อมูล

อัปโหลดไฟล์รายชื่อข้อมูลลูกค้าตรงเมนู Audience ใน Ads manager จากนั้นเฟซบุ๊กจะประมวลข้อมูลที่ได้และสร้าง Custom Audience จากการจับคูู่โปรไฟล์ที่แมตช์กับข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่เราตั้งไว้

Custom audience โดยการอัพโหลดข้อมูลรายชื่อ

ทั้งนี้ ความแม่นยำในการจับคู่มีมากถึง 50-80% ขึ้นอยู่กับว่าเราป้อนข้อมูลไปให้มากน้อยแค่ไหน โดยการใส่ข้อมูลจำพวกเบอร์โทรศัพท์ ชื่อจริง นามสกุล อีเมล เมือง จังหวัด หรือรหัสไปรษณีย์ จะช่วยทำให้จับคู่ได้แม่นยำมากถึง 80% ถ้าที่สามารถรวบรวมได้ แต่ที่สำคัญๆสามส่วนที่แนะนำให้ใส่หาคือ ชื่อ เบอร์และอีเมล แต่ถ้าไม่มีส่วนใดส่วนนึงไม่เป็นไรก็สามารถใช้งานได้ แต่การจับหาผู้ใช้เจอก็จะลดลงเช่นกัน

เจาะข้อมูลจาก pixel

Custom audience จาก Facebook pixel

เราอาจนำข้อมูลจากการติด facebook pixel ไปสร้าง Custom Audience ได้ โดยนำข้อมูลจากผู้ที่เคยเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราก่อนหน้าหรือการมีการกระทำกับ Event ต่างๆที่เรา Tracking ไว้มากำหนดตั้งค่าให้เป็นกลุ่มเป้าหมายในการทำแคมเปญ remarketing

วิธีอื่นๆ

นอกจากนี้ ยังมีวิธีสร้าง Custom Audience อีกหลายวิธี โดยนำข้อมูลจากการทำกิจกรรมในแอปพลิเคชัน หรือข้อมูลการมี engagement ในเฟซบุ๊ก มาทำได้

การสร้าง Custom Audience จะช่วยให้โฆษณาออนไลน์ทางเฟซบุ๊กได้รับคะแนนดีขึ้น ซึ่งวัดจากศักยภาพในการสร้าง conversions ยิ่งถ้าเราครีเอตข้อความสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งได้คะแนนส่วนนี้มากขึ้น

ที่สำคัญ คะแนนที่สูงขึ้นจะช่วยให้เรามีโอกาสสร้าง CTR เยอะขึ้นในขณะที่ CPC ต่ำลงด้วย ทำให้ได้ผลตอบรับที่ดี แต่ไม่ใช้ budget เยอะ ซึ่งถือว่าลงทุนได้อย่างคุ้มค่าเลยทีเดียว

อีกจุดนึงที่อยากให้ทุกคนโฟกัสคือ การสร้าง Custom Audience เพือทำ Retargeting กับ การสร้าง Custom Audience เพื่อทำ Lookalike Audience

การสร้าง Custom Audience เพื่อทำ Retargeting นั้น เราต้องทำการ Exclude คนที่ซื้อสินค้าเราไปแล้วออก เช่น ถ้าเราขายสินค้าทางเว็บ เราอาจ Retargeting ไปหาทุกคนที่เคยเข้าเว็บไซต์เรา แต่ยังไม่ได้ซื้อ(exclude คนซื้อแล้วออก)

แต่การสร้าง Custom Audience เพื่อทำ Lookalike Audience นั้นเราต้องใช้ข้อมูลเยอะๆมาสร้าง ยิ่งเยอะยิ่งดี และเป็นข้อมูลที่เคยส่งผลลัพธ์ที่ดีต่อธุรกิจมาแล้ว

 

เทคนิค Audience Retention

หลังจากรู้วิธีการทำ Retargeting แบบทั่วไปกันไปแล้ว อีกอันนึงที่ผมอยากจะพาให้ทุกคนไปรู้จักก็คือ Retention
 

Retention คือ stage ใน Marketing Funnel คือกลุ่มลูกค้าเก่าที่เคยซื้อสินค้าไปแล้ว

โดยปกติผู้ลงโฆษณา มักจะทำการโฆษณาหาลูกค้าใหม่อย่างเดียว โดยไม่ได้คำนึงถึงผู้ที่ซื้อไปแล้วเลย ที่จริงเราสามารถสร้าง Audience ชุดนี้ได้ แล้วทำการโฆษณาเพื่อขายสินค้าชิ้นถัดไป หรือประเภทต่างๆ

เช่น ลูกค้าพึ่งซื้อขวดนมไป เราอาจจะคิดว่า ลูกค้ายังไม่มีรถเข็นเด็ก เราเลยทำการโฆษณาขายรถเข็นเด็กต่อ เป็นต้น

หรือซื้อโฟมล้างหน้าไป เราคาดการณ์ว่าลูกค้าใช้ 30 วันน่าจะหมด พอซื้อไปครบถึงวันที่ 31 ให้นำโฆษณาเราไปแสดงผลให้ Audience ชุดนี้

เราก็จะสามารถสร้างรายได้ จากลูกค้ากลุ่มนี้เพิ่มเติมได้อีก แถมใช้งบประมาณน้อยกว่าโฆษณาหาลูกค้าใหม่ๆเยอะ

Lookalike Audience เทคนิคสร้างง่ายๆ ด้วยตัวเอง

การทำ Lookalike Audience นั้น มีอยู่หลายวิธีด้วยกัน  ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้

ทำ segment

การทำ segment คือขั้นแรกของการทำ Lookalike โดยเราต้องคำนึงถึงฐานข้อมูลของกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งลักษณะของกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่เราจะเข้าหาด้วย เราอาจใช้ข้อมูลลูกค้าที่มีอยู่แล้วตั้งแต่ 1,000-50,000 รายชื่อ วิเคราะห์หรือถอดลักษณะร่วมที่กลุ่มเป้าหมายใหม่ควรจะมีแบบเดียวกับฐานลูกค้าเรา

นอกจากนี้ เราอาจดูว่าใครสร้าง engagement ในเฟซบุ๊กกับแบรนด์บ่อยๆ เช่น กดไลก์ คอมเมนต์ แชร์ เป็นต้น หรือคนที่เคยสั่งซื้อสินค้าเรา ผู้คนกลุ่มนี้ล้วนเป็น Lookalike Audience ของเราทั้งนั้น โดยให้ทำการลองทดลองและวัดผล การทำ segment จะช่วยให้เราวางแผนครีเอตข้อความที่จะสื่อสารได้อย่างถูกต้อง ตรงประเด็น เพราะเรารู้ว่ากลุ่มเป้าหมายต้องการอะไรและกำลังมองหาอะไรอยู่

วางแผน budget

เมื่อพูดถึงเรื่องงบประมาณหรือค่าใช้จ่ายในการยิง ads สิ่งสำคัญก็คือ ต้องรู้จักแบ่งสันปันส่วนให้ดี ลงทุนไม่มาก แต่ผลตอบรับต้องกลับมาให้คุ้มค่า โดยเราอาจเริ่มแบ่ง budget ออกมาใช้ทีละน้อย และค่อยๆ เพิ่มขึ้นตามสมควร จำกัดว่าวงเงินสูงสุดที่ควรจ่ายและต้องจ่ายเป็นเท่าไหร่ ไม่จำเป็นต้องใช้ budget ทั้งหมดในคราวเดียว

สื่อสารเหมาะสม

ทั้งเนื้อหา วิธีการ ช่วงเวลาที่ปล่อย ต้องเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย เรียกง่ายๆ ว่าต้องส่งคอนเทนต์ที่ใช่ ในเวลาที่ใช่ ไปยังคนที่ใช่นั่นเอง โดยคอนเทนต์ที่ดีนั้นก็มาจากเป้าหมายที่เราวางไว้ตั้งแต่ต้น เราอาจทุ่นเวลาในการทำคอนเทนต์ขึ้นมาใหม่ โดยใช้คอนเทนต์เดิมที่มีอยู่แล้วมาประยุกต์ใช้ ปรับแต่งให้เหมาะสม ดูว่าคอนเทนต์อะไร รูปแบบไหน ที่ดึงดูดและน่าจะสร้าง conversions กับกลุ่มเป้าหมายได้ ก็นำมาใช้ในแคมเปญ Lookalike ได้เช่นกัน

 

วิธีการสร้าง Custom Audience และ Lookalike Audience

การที่เราจะทำ Retargeting ได้นั้นเราต้องทำการสร้าง Custom Audience ก่อน และเช่นกันสำหรับ Lookalike Audience เราก็ต้องสร้าง Custom Audience ก่อนเช่นกัน

เรามาดูวิธีการสร้าง Audience กันดีกว่า

1. วิธีสร้าง custom audience และ Lookalike audience ให้เราไปที่เมนู Audience โดยเลือกเครื่องหมายจุดเก้าจุดหรือขีดสามขีด(ในเวอร์ชั่นเก่า)

มุมซ้ายบน Facebook Ads เลือก Dropdown > Audience

2. เมื่อเข้ามาในเมนู Audience แล้ว ให้รีเชคบัญชีโฆษณาด้วยว่าใช่อันที่เราจะทำการสร้างหรือไม่ หลังจากนั้นให้เลือก Create Audience

หลังจากเข้า Audience ให้ทำการกดสร้าง Create Audience

3. Custom Audience จะถูกจับมาจากหลายๆแหล่งข้อมูล โดยแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ

ส่วนแรก ข้อมูลจากธุรกิจคุณเองเช่น รายชื่อลูกค้า, ข้อมูลคนเข้าเว็บไซต์(ใช้งานร่วมกับ Facebook Pixel), กิจกรรมใน Application หรือข้อมูลจาก Offline อย่างเช่นข้อมูลการขายจากหน้าร้าน

ส่วนสอง ข้อมูลจาก Facebook ของคุณ ไม่ว่าจะจากวิดีโอ, คน Engage กับ Instagram Facebook, คนเข้า Event และ Instant Experience หรือ Collection Ads(ชื่อเก่า Canvas Ads)สิ่งพวกนี้เราสามารถนับมาสร้างเป็น Custom Audience ได้ทั้งหมด

ขั้นตอนการสร้าง custom audience และ Lookalike audience

ตัวอย่างนี้ผมจะทำการเลือก Custom Audience แบบ Facebook Page นะครับ

4. หลังจากเลือกประเภท Custom Audience ที่เราต้องการแล้ว จะนำเราเข้ามาสู่หน้าด้านล่างนี้ โดยระบบจะให้เราตั้งเงื่อนไขที่เราต้องการสร้าง Custom Audience โดยกรอบสีน้ำเงินเข้มที่ผมสร้างไว้ เราสามารถคลิก dropdown ลงมาเพื่อเลือกวิธีการทำ custom audience ประเภทอื่นๆของ Facebook page Custom audience ได้ อย่างเช่น คนที่บันทึกโพสต์หรือเฟซบุ๊กเพจของเรา, คนที่เคยกดปุ่ม Call to action, คนที่ engaged(ปฏิสัมพันธ์)กับเฟซบุ๊กเพจและโพสต์

วิธีสร้าง custom audience สำหรับทำ Lookalike Audience แบบ Message

ขั้นตอนการตั้งเงื่อนไข Custom audience

5. หลังจากเราคลิก Create Audience จากรูปด้านบน จะมี Popup เด้งมาบอกว่าเราสร้างสำเร็จแล้วจะสร้าง Lookalike Audience ต่อเลยไหม ตรงกรอบสีน้ำเงินเข้ม

ถ้าเราสร้าง Audience เพื่อทำ Retargeting

ขั้นตอนการสร้าง custom audience และ Lookalike audience

หรือกด Done แล้วเลือกเครื่องหมายถูกหน้า Audience ที่ต้องการนำไปสร้าง Lookalike audience หลังจากนั้นกดเครื่องหมาย … > Create Lookalike

วิธีสร้าง Lookalike audience

6. ช่อง 1 ก็เป็นชื่อ custom audience ที่เราต้องการนำมาสร้าง Lookalike

ช่อง 2 เป็นสถานที่ของกลุ่มผู้ชมโฆษณาที่เราต้องการให้ไปทำเป็น Lookalike

ช่อง 3 select audience size ขนาดของ Audience โดย 1% คือส่วนที่เข้มข้นพฤติกรรมตรงกับ custom audience ของเราที่สุด โดยสามารถเลือกแบ่ง Lookalike ได้หลายรูปแบบ

ขั้นตอนการสร้าง Lookalike audience

แน่นอนว่า นี่ก็เป็นเพียงเทคนิคและเกร็ดความรู้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ความสำเร็จในการทำแคมเปญออนไลน์นั้น มาจากการลงมือทำจริง ซึ่งอาจมีทั้งได้ผลและผิดจากที่คิดไว้บ้าง คงต้องเรียนรู้และปรับเปลี่ยนกันไปตามสถานการณ์เฉพาะหน้า

ถึงอย่างนั้น การรู้เทคนิคหรือไกด์ไลน์ที่ดี ก็ช่วยให้เรามีแนวทางและไอเดียที่จะนำไปประยุกต์ใช้เองต่อไปได้

ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร
เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย
Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)

click 3 ประเภทของโฆษณา Facebook ads

Click 3 ประเภท ที่คนทำโฆษณา Facebook ads ต้องรู้!(เทคนิค)

ในการทำโฆษณาช่องทาง Facebook Ads นั้น มีเมทริกซ์ตัวเลขมากมายที่แสดงผลให้เราวิเคราะห์ สิ่งแรกที่เราที่เราจะโฟกัสกันส่วนใหญ่ก็ Impression, Reach และ Result หลักของแต่ละ Objective เช่น การทำแคมเปญ Lead generation ก็โฟกัสที่การเก็บรายชื่อ(Lead)ได้จำนวนเท่าไหร่ ในราคาที่เท่าไหร่

ทำแคมเปญ Conversion ก็อาจจะโฟกัสที่การเพิ่มในตระกร้ารถเข็น Add to Cart หรือการกดสั่งซื้อสำเร็จ Cart Success

ทำแคมเปญ Video views ก็จะโฟกัสไปที่ Thruplays หรือ 2-second continuous video views แล้วแต่เราเลือก

click คืออะไร

ส่วนแรกนี้คือเมทริกซ์หลักที่เราทุกคนก็ดูกันอันแรกๆอยู่แล้ว ซึ่งก็มีเมทริกซ์ในส่วนอื่นๆที่เราก็ควรต้องให้ความสำคัญและวิเคราะห์ด้วยนั้น ก็คือเมทริกซ์เกี่ยวกับการ Click นั้นเอง(วันนี้ขอพูดแค่เรื่อง Click ก่อนนะครับ)

ซึ่ง Click ใน Facebook ก็มีรูปแบบ Click หลากหลายประเภท ซึ่งถ้าเราไม่รู้ความหมายของมัน ไม่รู้หลักการวิเคราะห์ ก็ทำให้เราพลาดข้อมูลสำคัญๆไปได้

โดยปกติคนส่วนใหญ่มักพลาดไปโฟกัสแค่ Click(All), CPC(All) และ CTR(All) เท่านั้น 

ซึ่งเมทริกซ์ประเภท Click นั้นใน Facebook จะมีอยู่ 3 ประเภทหลักก็คือ Click(All), Link Click และ Outbound Click

หลายๆคนอาจยังไม่รู้ความหมายของแต่ละตัว

1. Clicks(All) คือการคลิกทุกจุดบนโฆษณา เป็นเมทริกซ์ที่รวมคลิกทุกประเภทอยู่ในเมทริกซ์นี้

ตัวอย่างเช่น Link Click ก็เป็นส่วนนึงของ Clicks(all) 

และยังรวมถึง คลิกที่โปรไฟล์ธุรกิจบริเวณโฆษณา

การกด Post reaction อย่างพวก Like, Love, Wow ทั้งหลาย

การกดแชร์ กดคอมเมนต์

คลิกขยายโฆษณาหรือกดดูภาพ
และคลิกที่เกิดจากผลลัพธ์แคมเปญ Objective ต่างๆของเรา เช่นทำแคมเปญ Post engagement แล้วเกิด Page like ก็จะถูกนับเป็น Clicks(all) ด้วย

ซึ่งใน Clicks(All) นั้นจะเหมือนเอาไว้ดูภาพรวมๆ กว้างๆ ของคนที่มาคลิกโฆษณาของเราครับ

2. Link Clicks คือการคลิกลิ้งค์ในตัวโฆษณาที่นำไปสู่บนแพลตฟอร์ม Facebook เอง หรือทั้งออกไปนอกแพลตฟอร์ม

อย่างเช่นโฆษณาแบบ Collection คลิกเข้า Instant Experiences(Canvas) ก็นับเป็นลิ้งค์คลิก  (สำหรับ Instagram การเข้า profile views, การคลิกลิ้งค์ทั้ง Header และ Footer ทั้งหมดนี้จะถูกนับเป็น Link Clicks ด้วย)

แล้วส่วนไหนอีกที่ถูกนับเป็น Link Click อย่างพวก การคลิกเข้าเว็บไซต์, คลิกลิ้งค์ของแอพพลิเคชั่น, คลิกโทร, คลิกส่งข้อความ, คลิกขอเส้นทาง, Facebook Canvas, เปิดฟอร์ม Lead, Facebook Marketplace, Playable experiences(ชื่อเก่า Instant experiences), การคลิกวิดีโอหรือวิดีโอบนเว็บไซต์อื่นๆที่แสดงผลบน News Feed อย่าง Youtube และ Vimeo

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า Link Clicks นั้นดูจะเป็นคลิกที่สร้างคุณค่าให้กับธุรกิจมากกว่า Click(All) ซึ่งเราสามารถวิเคราะห์ Link Clicks ได้ด้วยการเอาไปเทียบกับ Landing page views หรือ Outbound Clicks ก็ได้ เพื่อดูเพิ่มเติมว่า Link Clicks ทั้งหมด ออกไปหน้าเว็บไซต์ หรือนอกแพลตฟอร์มจำนวนเท่าไหร่

3. Outbound Clicks คือการคลิกลิ้งค์ที่นำไปสู่แพลตฟอร์มที่ออกนอกเฟสบุ้ค เช่น เว็บไซต์, การคลิกต่อจากใน Canvas ออกไปข้างนอกแพลตฟอร์มก็นับเป็น Outbound Click

อย่างการคลิกไปยัง App store หรือลิงค์เข้าแอพพลิเคชั่น พวกนี้นับเป็น Outbound Clicks ทั้งหมด

ซึ่งการมองเมทริกซ์ Clicks(All) อย่างเดียวก็จะทำให้เราพลาดข้อมูลสำคัญๆ เช่นถ้าเราแนบลิ้งค์ Facebook Messenger ไว้ เราก็จะอดเห็นข้อมูลที่สำคัญต่อแคมเปญเราจริงๆ อย่างเมทริกซ์ Link Clicks

หรืออย่างการที่เราแนบลิ้งค์ เว็บไซต์ หรือ Landing Page ไว้ เราอาจจะลองโฟกัสที่ Outbound Click เพิ่มเติม

click 3 ประเภทบน Facebook Ads ที่คนทำโฆษณาต้องรู้

อีกอย่างนึงครับ คือให้ลองดูพวกเมทริกซ์ Unique Clicks(All), Unique Link Clicks และ Unique Outbound Clicks ด้วย จะเห็นจำนวนเป็นแบบต่อ 1 user เพราะคนนึงคนอาจจะคลิกหลายครั้งครับ ที่นี้เราก็จะเห็นข้อมูลที่ชัดเจนมากขึ้นครับ

แล้วก็อย่าลืมดู CTR(Click-Through Rate) และ CPC(Cost per Click) ของแต่ละประเภท Click ประกอบด้วย CTR เพื่อดูถึงความน่าสนใจของโฆษณา %การแปลงจาก Impression แล้วเกิดคลิกเป็นกี่เปอร์เซ็น

CPC เพื่อดูต้นทุนต่อการเกิดคลิก 1 คลิก

ย้ำนะครับ ดูให้ครบทุกรูปแบบ Clicks(All), Link Clicks และ Outbound Clicks

พวกบางทีดูแค่ Click(all), CPC(all) หรือ CTR(all) มันทำให้เราเข้าใจแคมเปญของเราไปผิดๆได้ คิดว่าโฆษณาดีน่าสนใจ แต่พอไปเทียบกับ Link Click, Outbound Click หรือ Landing page views แล้ว กลับทำให้รู้ว่าโฆษณานั้นไม่ได้ดีอย่างที่คิด

หวังว่าทุกคนจะได้ความรู้และลองนำไปปรับใช้กับแคมเปญโฆษณาครับ

ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร
เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย

Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)

 

ขอบคุณรูปภาพจาก Freepik.com