เครื่องมือช่วยวางแผนคีย์เวิร์ดของ Google หลักๆใช้ในการค้นหาคีย์เวิร์ดต่างๆเพิ่มเติมจากที่เราได้ใส่ลงไป เพื่อใช้สำหรับการทำโฆษณา Paid Search ทั้งยังสามารถทราบราคาประมูลของคีย์เวิร์ดต่างๆ โดยประมาณ ใช้ดูสถิติการแข่งขันและจำนวนการค้นหาต่อเดือนของแต่ละคำค้นหา
Keyword Planner จะทำการค้นหาคำต่างๆจากต้นแบบคำที่เราใส่ลงไป ซึ่งก็จะทำให้เราได้คีย์เวิร์ด ได้ไอเดียจำนวนมาก ในการมาใช้กับแคมเปญของเรา และ Keyword Planner ยังมีฟีเจอร์ในการ Forecast ผลของแคมเปญได้อีกด้วย
วิธีใช้ Keyword Planner ใช้ยังไง?
การใช้ Google Keyword Planner นั้น ต้องมีบัญชี Google Ads ก่อน โดยใช้ Gmail สมัคร
เมื่ออยู่ที่หน้าต่าง Google Ads แล้ว เข้าที่ Tools มุมขวาบน > ใต้เมนู Planning แล้วเลือก Keyword Planner
หลังจากเข้าตามวิธีข้างบนมาจะพบหน้าต่างสองอัน ซึ่งด้านซ้ายคือเมนูที่เราจะได้ใช้บ่อยที่สุด คือหาไอเดียคีย์เวิร์ดใหม่ๆนั้นเอง ส่วนด้านขวาคือเมนูที่ใช้เพื่อทำนาย ประมาณผลลัพธ์คีย์เวิร์ดต่างๆในอนาคต
ฝั่งขวาที่เขียนว่า Start with a website คือการให้เราใส่เว็บไซต์ของเรา แล้วให้ระบบนำคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องกับคำในเว็บไซต์ขึ้นมาแสดงผล แต่ในส่วนของฟีเจอร์นั้น ระบบจะแนะนำคำมาค่อนข้างน้อย หรือบางเว็บไซต์อาจจะไม่มีคำแนะนำเลย
เรามาดูที่ฝั่งซ้ายกันต่อครับ ส่วนนี้คือส่วนที่เราใช้บ่อย เมื่อเราคลิกด้านซ้าย Find new keywords กล่องที่ให้เราพิมพ์คีย์เวิร์ดใส่ก็จะแสดงขึ้น ซึ่งช่องใส่คีย์เวิร์ดนี้คือคีย์เวิร์ดตั้งต้นของเรา โดยสามารถใส่คีย์เวิร์ดได้สูงสุดถึง 10 คำ ทำให้เราสามารถใส่คำที่สามารถไปจับหาไอเดียคำอื่นๆได้มากขึ้น หลังจากเราใส่คีย์เวิร์ดเรียบร้อยแล้ว เราก็จะเข้าสู่หน้าถัดไป
โดยกรอบสีน้ำเงินมุมซ้ายบนคือคำที่เราใส่ไว้ตอนแรกที่เป็นตัวตั้งต้น โดยกรอบสี่น้ำเงินด้านล่างถัดมา คือคำที่ระบบแนะนำเพิ่มเติม ให้เราเพิ่มคีย์เวิร์ดตั้งต้น ก็ให้เราดูเอานะครับว่าตรงกับสินค้าบริการเราไหม ไม่ต้องไปเชื่อระบบทั้งหมดครับ
ด้านล่างถัดมาในส่วนของกราฟแท่ง เราสามารถเอาเม้าส์ลากไปวางตรงกราฟแท่งแต่ละเดือนว่า จำนวนการค้นหา(Search Volume)ต่อเดือนอยู่ที่เท่าไหร่ ตามตัวอย่างข้างบน
ในส่วนของกรอบสีฟ้าคือ คำที่เราใส่ไว้เป็นคำตั้งต้นไปหาคำอื่นๆต่อไป ในส่วนของกรอบสีชมพูคือ คำที่ระบบแนะนำให้ บางสินค้ายาวเป็นร้อยๆคำ บางครั้งก็หาสินค้าที่ใกล้เคียงกันมาให้
อีกส่วนที่น่าสนใจคือ Filter ตัวหนังสือสีเทาๆอยู่บนมุมขวาของกรอบสีฟ้า เมื่อกดลงมามีหน้าตาเป็น dropdown ไล่ลงมา โดยเราสามารถ Filter ข้อมูลที่เราอยากเห็นเป็นพิเศษได้ ดูเฉพาะประเภทคีย์เวิร์ดหรือแค่สินค้าที่เราสนใจ, จำนวนการค้นหา, การแข่งขัน ฯลฯ
Refine keyword ฟีเจอร์ใหม่ 2020
แต่ในช่วง Beta นี้ระบบยังทำงานผิดพลาดอยู่ บางคำสั่งไม่ถูกคัดคำออก เดี๋ยวคงมีการปรับปรุงกันต่อไป
ฟีเจอร์นี้ก็ช่วยให้สะดวกขึ้นระดับนึง ที่จริงถ้าทุกคนอยากโฟกัสคีย์เวิร์ดคำไหน หรือไม่อยากดูคำไหนเป็นพิเศษ สามารถใช้ฟีเจอร์ Filter ได้เช่นกันนะครับ
Keyword Planner มี Metrics ด้วย อ่านยังไง?
ในส่วนของสีชมพูนั้น คือการตั้งค่าคอลัมน์ว่าเราต้องการเห็นเมทริกซ์อะไรบ้าง
ใส่ส่วนของสีฟ้า คือเมทริกซ์ต่างๆที่เราจะต้องใช้กันเป็นประจำ เรามาดูความหมายของแต่ละเมทริกซ์กันครับ
Avg. monthly searches(Average monthly searches) คือ จำนวนการค้นหาต่อเดือนโดยเฉลี่ย คำนวณจากทั้งตัวคีย์เวิร์ดตรงๆและคำที่ใกล้เคียงกัน โดยจะขึ้นแสดงผลเปลี่ยนแปลงไปตามตำแหน่งที่เราเลือกด้วย
และ Avg. monthly searches นั้น เราสามารถเอาเม้าส์ไปวางเพื่อดูกราฟแท่งการค้นหาย้อนหลังตามเวลาที่เราเลือกได้
Competiton คือ การแข่งขันของคำที่เราเลือก โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ “High”, “Medium”, “Low”
Competition (indexed value) คือ เมทริกซ์ที่ใช้ประเมินว่าคีย์เวิร์ดต่างๆ นั้นมีการแข่งขันแค่ไหน ซึ่งมีเลเวลตั้งแต่ 0-100 ซี่งเลเวลที่ต่ำหมายถึงการแข่งขันที่ต่ำ อันดันสูงหมายถึงการแข่งขันสูง ซึ่งจากที่ผมสังเกตมันสามารถใช้อธิบาย เมทริกซ์คอลัมน์ “Competition” ที่บอกเป็น 3 ระดับคือ Low, Medium และ High เพิ่มเติมได้เป็นอย่างดี ซึ่งตอนแรกนั้นการดูแค่เมทริกซ์ Competition อย่างเดียวนั้น Google น่าจะมองว่ายังละเอียดไม่พอ ซึ่งตัวมองว่าเป็นประโยชน์อย่างมากครับ โดยจะคำนวณจาก Slot โฆษณาที่ถูกใช้ หารด้วย Slot โฆษณาทั้งหมดที่สามารถลงได้
Top of page bid (low range) และ Top of page bid (high range) คือ การแสดงราคา Bid เฉลี่ยในตำแหน่ง Top of page หรือตำแหน่งบนๆของ Search engine โดยเป็นช่วงประมาณราคาของตำแหน่งต่ำสุดและสูงสุดของ Top of page
Grouped ideas ฟีเจอร์การจัดกลุ่มคำทรงประสิทธิภาพ
ฟีเจอร์นี้เป็นฟีเจอร์ที่ผมชอบมากๆสำหรับการอัพเดทครั้งนี้ คือ Keyword Planner ทำการจับกลุ่มคีย์เวิร์ดให้เราเลย ซึ่งก็ทำให้ง่ายต่อการไปทำแคมเปญต่อ เหมือนการจัด ad group คร่าวๆให้เรา แต่ยังไง ผมแนะนำให้เรียงเพิ่มเติมเองนะครับ ไม่ยึดตาม Keyword Planner ทั้งหมด
นอกจากนี้เรายังสามารถ เพิ่มคีย์เวิร์ดต่างๆ จากแถบ “Keyword ideas” หรือ “Grouped ideas” ด้านซ้าย เข้าสู่ ad groups ในแถบ “ad groups” ได้ โดยทำการสร้าง ชื่อ ad groups ไว้ก่อน แล้วเราก็มาติ๊กเลือกหน้าช่อง คีย์เวิร์ดต่างๆ เลือก Keywords Match Type ที่ต้องการ หลังจากนั้น ก็ทำการ Add เข้า ad groups ได้เลย ทำการจัดเรียง ad groups แล้วค่อยดึงเข้าแคมเปญ หรือจะเลือกคีย์เวิร์ดต่างๆ แล้วไปเพิ่มใส่แคมเปญที่มีอยู่แล้วทันทีเลยก็สามารถทำได้เช่นกัน
แต่โดยส่วนตัวแล้ว ผมยังชอบดาวน์โหลดออกมาแล้วทำการจัดวาง ad group เองใน excel แล้วค่อยนำใส่ของแคมเปญ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ สำหรับฟีเจอร์ใหม่ของ Keyword Planner ถือว่าเป็นฟีเจอร์ที่ช่วยให้เห็นข้อมูลชัดขึ้น แล้วก็ลดเวลาของนักการตลาดได้เป็นอย่างดี ยังไงลองไปใช้งานกันดูนะครับ ขอบคุณที่ติดตามกันจนจบบทความ แล้วพบกันบทความถัดไปครับ
อ่านบทความ Digital Marketing อื่นๆเพิ่มเติม
- สิ่งที่ต้องรู้ก่อนเริ่มทำโฆษณา Google Ads
- Attribution Model สิ่งสำคัญที่ส่งผลต่อการ Optimize
- Performance Planner ฟีเจอร์ช่วยคำนวณผลลัพธ์
- Click 3 ประเภทที่คนทำโฆษณา Facebook ads ต้องรู้
ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร
เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!
Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย
Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)
เติร์ด ทศพร นักการตลาดออนไลน์ ทำงานใน Digital Agency
รับทำโฆษณา, เว็บไซต์ WordPress และ Production
Facebook ads, Google ads, Google Analytics และ Google Tag manager
ทำโฆษณา, เขียน Blog และแชร์ความรู้
Author
-
เติร์ด ทศพร นักการตลาดออนไลน์ ทำงานใน Digital Agency รับทำโฆษณา, เว็บไซต์ WordPress และ Production Facebook ads, Google ads, Google Analytics และ Google Tag manager ทำโฆษณา, เขียน Blog และแชร์ความรู้
Facebook Comments