Keyword Match type คืออะไร Broad Match Modifiler ถูกยกเลิก

Keyword Match type คืออะไร? Google ประกาศยกเลิก BMM ปรับตัวอย่างไร

Keyword Match type คือเครื่องหมายรูปแบบต่างๆ ที่เราใช้ประกอบกับคีย์เวิร์ด ที่เราทำการซื้อ เพื่อใช้ดักคำค้นหาของลูกค้า(Search term)ให้ตรงกับความต้องการของคนลงโฆษณา(Advertiser)มากขึ้น เพื่อให้โฆษณาแสดงใน Google.com โดยระบบที่ใช้ลงโฆษณาของ Google เรียกว่า Google Ads หรือชื่อเก่าคือ Google AdWords

ตัวอย่างการใช้ Match type แบบเก่า

โดยเมื่อก่อน Keyword Match type ที่สามารถใช้งานได้จะมี 4 รูปแบบคือ Broad Match, Broad Match Modifiers(BMM), Phrase Match และ Exact Match โดยความหมายและวิธีใช้งานแต่ละแบบในรูปแบบเก่า ผมจะไม่ลงลึกละกัน เดี๋ยวจะงงเปล่าๆ เดี๋ยวผมลงภาพไว้ให้ ไว้ดูเทียบๆกับ Keyword Match type รูปแบบใหม่ละกัน

ในเดือนกุมภาพันธ์ 2564 ที่ผ่านมา Google ประกาศว่ากำลังจะยกเลิกการใช้ Match type ที่ผมโปรดปรานมากที่สุดก็คือ Broad Match Modifiers หรือที่เรียกย่อๆว่า BMM พร้อมทั้งประกาศใช้ Matching Option แบบใหม่(การจับคู่คีย์เวิร์ดกับคำค้นหาแบบใหม่)

โดยการปรับครั้งนี้จะส่งผลจริงๆในเดือน กรกฏาคม 2564 มาร์ค-วัน รอเข้ามาแก้ไข Match type แบบใหม่ได้เลย แต่ Google ก็แจ้งแล้วละว่าให้เปลี่ยนล่วงหน้าไปเลย เค้าอาจจะทยอยเปลี่ยนบางบัญชีก่อน ไม่ได้พร้อมกันทั้งหมด

“หากไม่ได้ทำการแก้ไข BMM + + ของเราจะมี Matching Option ไปเป็น Phrase Match แบบเก่า”

เหตุผลที่ผมและหลายๆคนชอบใช้ BMM ในตอนแรกเริ่ม รวมถึงใช่บ่อยๆ เพราะว่ามันไม่แคบและไม่กว้างจนเกินไป สามารถมีไรแทรกกลาง ต่อหน้า ต่อหลัง สลับหน้าหลังได้

สิ่งที่หลายๆคนชอบใช้ก็ถูกยกเลิกไปซะงั้น! แต่ไม่เป็นไร ไม่ต้องเศร้า 5555 เรายังไหว สบายมาก

เท่ากับว่าเราจะเหลือ Match type แค่ Broad Match, Phrase Match, Exact Match เรียงจากรูปแบบกว้างๆไปหาแคบๆ

เรามาดูกันดีกว่าว่า Matching Option แต่ละแบบนั้น มันทำงานยังไงกันบ้าง

 

ความหมาย Keyword Match type และ Matching Option แต่ละแบบ

การทำงานของ Match type แต่ละแบบ

ภาพที่ Google อธิบายการทำงานของ Matching Option แบบใหม่

Broad Match type

Broad Match คือ Keyword Match type รูปแบบกว้างๆ ไม่ต้องใส่เครื่องหมายอะไร ระบบจะทำการหาคำค้นหาที่ใกล้เคียงกับคีย์เวิร์ดที่เราทำการซื้อ

Broad Match คืออะไร? ภาพอธิบายการ Match Keyword กับ Search term ของ Broad match

จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่า ระบบจะหาคำค้นหาที่ใกล้เคียงกับสินค้าเรา

อาจเป็นสินค้าคนละแบบได้ด้วย จากที่ผมเคยเจอ อย่างเช่น ซื้อคีย์เวิร์ดว่า บ้านเดี่ยว พิษณุโลก เราอาจจะเจอ ที่ดิน พิษณุโลก ได้เช่นกัน

Phrase Match

Phrase Match คือ Keyword Match type รูปแบบวลี หรือ รูปแบบประโยคนั้นเอง ซึ่ง Phrase Match แบบใหม่จะมีลักษณะกว้างขึ้นกว่าเดิม เหมือนเอา BMM มาผสมกับ Phrase Match

Phrase Match คืออะไร? ภาพอธิบายการ Match Keyword กับ Search term ของ Phrase match

โดยก่อนหน้านี้ รูปแบบการจับคู่คำกับคีย์เวิร์ดของ Phrase Match นั้น คือมีคำอะไรต่อหน้า ต่อหลังเครื่องหมาย “…” ห้ามมีอะไรแทรกกลาง ให้ทำการนำโฆษณาไปแสดงผลในคีย์เวิร์ดนั้นๆ

เช่น เราซื้อคีย์เวิร์ด “รองเท้าเทสนิส” เมื่อมีคนค้นหา ซื้อรองเท้าเทสนิสลดราคา โฆษณาเราก็แสดงได้

แต่คำค้นหา รองเท้าเล่นเทสนิส แบบนี้จะไม่แสดงใน Phrase Match Matching Option แบบเก่า คือห้ามมีอะไรแทรกกลาง ต่อหน้าต่อหลังได้อย่างเดียว

อย่างที่บอกไอ้ Phrase Match รูปแบบใหม่ เหมือนมันเอาความสามารถของ BMM มาผสมคือ มีอะไรแทรกกลางได้ละ คำค้นหาว่า รองเท้าเล่นเทสนิส จะมีติดคีย์เวิร์ด “รองเท้าเทนนิส” ได้ละที่นี้

ส่วนในเรื่องความสามารถในการสลับหน้า-หลังของ BMM ก็ถูกนำใช้ใน Phrase Match ส่วนนึง

Google แจ้งว่า “การทำงานแบบใหม่นี้จะพิจารณาลำดับคำด้วยเมื่อมีความเกี่ยวข้องกับความหมายนั้น”

ตัวอย่างการสลับคำที่ Google แจ้ง:

  • คีย์เวิร์ด: “บริการขนย้ายจากกรุงเทพไปเชียงใหม่”
  • คำค้นหา: บริการขนย้ายจากกรุงเทพไปเชียงใหม่ราคาถูก, บริการขนย้ายในกรุงเทพสำหรับขนย้ายไปเชียงใหม่
  • ไม่แสดง : ขนย้ายจากเชียงใหม่ไปกรุงเทพ ถึงแม้จะมีคำที่ตรงตามที่ได้ตั้งไว้ แต่ทว่าความหมายเปลี่ยนครับ

คือถ้าสลับแล้วความหมายเป็นคนละแบบ มันจะไม่สลับครับโดย Google ยังแจ้งอีกว่าระบบ Phrase Match แบบใหม่สามารถเข้าใจบริบทความหมายของคำแล้วสลับหน้าหลังให้ได้ เช่นคีย์เวิร์ด “ราคา รองเท้าเทสนิส” และ “รองเท้า เทสนิส ราคา” ว่าเป็นคำความหมายเดียวกัน เป็นต้น

Google แจ้งว่าไม่จำเป็นต้องซื้อทั้งสองคีย์เวิร์ด แค่เลือก 1 อัน พอ เพราะระบบเข้าใจความหมายว่ามันเป็นคำเดียวกัน(แต่ภาษาไทยมันซับซ้อน อันนี้ต้องลองไปเทสกันอีกทีตอนมันปรับใช้งานจริงละกัน)

ย้ำ! “มีอะไรแทรกกลางได้ มีอะไรต่อหน้าต่อหลังได้เหมือนเดิม สลับหน้า-หลังให้เฉพาะความหมายเดียวกัน”

Exact Match

Exact Match คือKeyword Match type รูปแบบที่ Keyword ตรงกับ Search term คำค้นหาของลูกค้าเป๊ะๆ โดย Google แจ้งว่า Search term(คำค้นหาจากฝั่งลูกค้า) ที่จะมาติดคีย์เวิร์ดที่เราซื้อ แค่มีความหมายใกล้เคียงกันตามตัวอย่างก็จะมาติดด้วย

Exact Match คืออะไร? ภาพอธิบายการ Match Keyword กับ Search term ของ Exact match
แต่จากที่ผมเคยทำและสังเกตุมา Search term ที่จะมาติด Keyword เรานั้น จะมาติดแค่คำที่เขียนผิดนิดหน่อยแค่นั้น เช่น เราซื้อ Keyword [เสาเข็มไมโครไพล์] | Search term ที่อาจมาติด มีทั้ง เสาเข็มไมโครไพล์ หรือ เข็มไมโครไพล์ หรือ เสาเข็มไมโคพาย เป็นต้น คือเขียนผิดนิดหน่อย ระบบพอเข้าใจว่าคือคำความหมายเดียวกัน

แต่จากตัวอย่างข้างต้นอาจจะเป็นอัพเดทใหม่รึเปล่า ผมไม่ชัวร์ ยังไงทุกคนลองเทส แล้วดู Search term ต่างๆที่เข้ามาติดอีกทีละกันอย่าเพิ่งเชื่อ บางทีตัวอย่างเค้า แปลมาจากภาษาอังกฤษแล้วอาจจะผิดก็ได้ 5555 รวมทั้งวิธีการ Matching Option ของ Phrase match ด้วยนะ ลองเทสก่อน อย่าเพิ่งเชื่อทั้งหมด

ก็เอาเป็นว่าทุกคนพอเข้าใจคอนเซปท์แล้วละ ที่เหลือก็ลองไปเทสกันละกัน ว่ามันเป็นอย่างที่เค้าแจ้งมาไหม Test & Optimize กันต่อไปนะจ้ะ

สำหรับคนที่อยากรับข่าวสารอัพเดท รวมถึงพูดคุยสอบถามเรื่อง Digital Marketing ร่วมเป็นครอบครัวเดียวกัน พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย
Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)

อ้างอิง: https://support.google.com/google-ads/answer/7478529

Conversion สำคัญยังไง? พร้อมเทคนิคการเพิ่ม Conversion rate

Conversion คืออะไร สิ่งที่คุณต้องรู้ก่อนทำการตลาดออนไลน์

Conversion คืออะไร 

Conversion คือ หน่วยหรือสิ่งบ่งชี้ที่แสดงให้เห็นว่ากลุ่มเป้าหมาย  take action ตามที่ตั้งเป้าหมายของแคมเปญนั้นไว้ เช่น สั่งซื้อของ ลงทะเบียน กรอกลีดส์ เป็นต้น  นอกจากนี้ ยังแบ่งประเภท Conversion ออกเป็น Macro Coversion และ Micro Conversion

ภาพแสดง Conversion Funnel

ที่มา: Freepik

Macro Conversion คือ 

เป้าหมายหลัก ของ conversion ของการทำเว็บไซต์ในแคมเปญนั้น ๆ เช่น สั่งซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ ลงทะเบียนกรอกฟอร์ม เป็นต้น

Micro Conversion คือ 

เป้าหมายรองอันเป็นผลมาจาก Macro Conversion ของการทำเว็บไซต์ในแคมเปญนั้น ๆ เช่น กดเลือกสินค้าใส่ในตะกร้า สมัครบัญชีเป็น member ของเว็บไซต์ เป็นต้น

Lead Conversion คือ

กระบวนการหรือขั้นตอนที่แปลงรายชื่อว่าที่ลูกค้าหรือลีดส์ให้กลายเป็นโอกาสในการสร้าง conversion ของแคมเปญต่อไป

Conversion rate คือ  

อัตราส่วนของจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ take action ตามเป้าหมายของแคมเปญกับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ โดยนำจำนวนครั้งที่กลุ่มเป้าหมาย take action จนเกิด conversion หารกับจำนวน conversion ของ sessions ทั้งหมด

การวิเคราะห์ Conversion

ที่มา: emanuel

วิธี optimize Conversion Rate นั้น จะเกิดขึ้นเมื่อมีคนเข้ามาเยี่ยมชมหน้าเว็บไซต์ ซึ่งต่างจาก Conversion ของ seo หรือ paid ads ที่จะโฟกัส

การเพิ่ม clicks through rate จำนวนคลิก และคีย์เวิร์ด 

การเพิ่ม Conversion Rate ทำได้อย่างไร

การวัด Conversion rate ขึ้นอยู่กับเป้าหมายแคมเปญแต่ละประเภทว่าต้องการอะไร วิธีเพิ่ม conversion rate นั้นทำได้ง่าย ๆ และเหมาะกับแคมเปญแต่ละแบบ ดังนี้

เน้น call to action ให้ดี

call to action คือปุ่มหรือลิงก์ที่จะช่วยให้กลุ่มเป้าหมาย take action ตามที่เราต้องการได้ เช่น Add to Cart Register Now เป็นต้น การออกแบบดีไซน์และ copy text ของ call to action ให้หลากหลายจะช่วยให้เราได้ไอเดียของการสร้าง call to action ที่ดีในการทำแคมเปญครั้งต่อไปหากไม่มีสูตรสำเร็จของการทำ call to action ที่ดีที่สุดนักการตลาดจึงต้องทดสอบด้วยชุดข้อมูลหลายประเภทและหาว่า call to action แบบไหนที่ตอบโจทย์แคมเปญของเรามากที่สุด

การเล่น call to action ที่ดีจะช่วยเพิ่ม conversion rate ได้มากถึง 20% การเขียน call to action ด้วยคำที่ชัดเจนตรงไปตรงมาและสื่อให้รู้ว่ากลุ่มเป้าหมายควรจะทำอะไรเมื่อจะ take action ต่อไปจะช่วยให้เกิด conversion rate ได้สูงยิ่งขึ้น

สร้าง user experience ที่ดี

UX หรือ user experience ที่ดีนั้นประกอบด้วยการวาง layout เนื้อหาและการใช้งานของ landing page ที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริงโดยทั่วไปแล้วฟังก์ชันของ landing page แบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่

  • ให้รายละเอียดข้อมูลว่าแบรนด์ offer อะไรให้ลูกค้า
  • โน้มน้าวกลุ่มเป้าหมายว่า offer ของแบรนด์ดีและแตกต่างจากแบรนด์อื่นอย่างไร
  • แสดงให้เห็นว่ากลุ่มเป้าหมายจะได้รับ offer ตามที่ต้องการด้วยการทำอย่างไร

หากดูจากคำอธิบายข้างต้นแล้ว หน้าที่หลักของ Landing Page ก็คือกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายต้องการ take action รวมทั้งช่วยไกด์ให้พวกเขาทำตาม action นั้น ตามที่เราตั้ง conversion ไว้ 

นักการตลาดจึงต้องวางแผนและวิเคราะห์การสร้างสรรค์ Landing Page ออกมาให้หลากหลายโดยอาจปรับเปลี่ยนการจัดวางองค์ประกอบศิลป์อย่างแตกต่าง เลือกใช้ font ถ้อยคำหรือเนื้อหา content ที่หลากหลาย รวมทั้งติดตามผลดูว่าองค์ประกอบศิลป์แบบไหน เนื้อหาแบบใดที่กระตุ้นให้ผู้คน take action จนเกิด conversion ได้มากที่สุด

ติดตามผลองค์ประกอบต่าง ๆ

องค์ประกอบทุกอย่างของการทำแคมเปญล้วนส่งผลต่อเป้าหมายของแคมเปญแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มยอดวิว การลงทะเบียน กรอกลีดส์ หรือจำนวนการดาวน์โหลดต่าง ๆ การติดตามผลขององค์ประกอบเหล่านั้นจะช่วยให้คุณเห็นว่าสิ่งที่เราทำลงไปก่อให้เกิด impact มากน้อยแค่ไหน กลุ่มเป้าหมาย take action ตามที่ต้องการหรือไม่

ยกตัวอย่างบริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์แห่งหนึ่งตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเพิ่มยอดขายไม่ได้กลุ่มเป้าหมายของพวกเขาอาจมาจาก 3 ช่องทางได้แก่

  • คลิก call to action จากการดูวีดีโอในหน้าโฮมเพจ
  • คลิก call to action จัดการกรอกแบบฟอร์มสำหรับสมัคร account ของเว็บไซต์
  • ลงทะเบียนรับข้อเสนอพิเศษในหน้าเว็บไซต์

บริษัทได้ทำแคมเปญแบบ A/B testing เพื่อหวังจะเพิ่มจำนวนกลุ่มเป้าหมายเข้ามาอย่างหน้าเว็บไซต์ โดยพวกเขาติดตามผลจากจำนวนคลิกทั้ง 3 ช่องทาง เพื่อดูว่าช่องทางไหนและวิธีใดที่ช่วยหากลุ่มเป้าหมายเข้ามาหน้าเว็บไซต์และทำให้เกิด conversion ได้มากที่สุด

การติดตามผลขององค์ประกอบต่าง ๆ จะช่วยให้มองเห็นภาพรวมและวิธีออกแบบเว็บไซต์ที่ได้ผลตรงกับเป้าหมายของแคมเปญ

ทดสอบกับกลุ่มเป้าหมายที่ใช่

เมื่อคุณรู้อยู่แล้วว่ากลุ่มเป้าหมายของเราเป็นใคร marketing journey ของเขาอยู่ในขั้นไหน การออกแบบแคมเปญให้เหมาะสมกับพฤติกรรมกลุ่มเป้าหมายจึงเป็นเรื่องสำคัญ 

หากกลุ่มเป้าหมายของคุณเป็น organic traffic แน่นอนว่าพวกเขาคลิกเข้ามาในเว็บไซต์เพื่อหาข้อมูลที่ตนเองสนใจ ซึ่งอาจใช้เวลาในการอยู่ในหน้าเว็บไซต์นานกว่า ในขณะที่กลุ่มเป้าหมายที่เคยเข้ามาในเว็บไซต์แล้วอาจจะกลับเข้ามาในเว็บไซต์ของแบรนด์อีกครั้ง เพื่อตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการของแบรนด์ก็ได้

นักการตลาดจึงต้องวางแผนและวิเคราะห์ให้ขาดว่ากลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงของเรานั้นคือใคร เพื่อที่จะได้ไปพัฒนาแคมเปญให้เหมาะสมและตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายของเราต่อไป

test test test

การทดสอบถือเป็นหัวใจสำคัญในการทำแคมเปญการตลาดออนไลน์ เพราะจะทำให้เรารู้ว่าสิ่งที่เราลงมือทำไปนั้น อันไหนได้ผลและอันไหนไม่ได้ผล ซึ่งผลลัพธ์ทั้งสองแบบนี้ล้วนทำให้แบรนด์มองเห็นโอกาสในการเติบโตได้ การเพิ่ม conversion rate ที่ดีนั้นจึงต้องทดสอบหลายครั้ง

การทดสอบแคมเปญในแต่ละครั้งจะช่วยให้เราเห็นข้อบกพร่องและนำไปปรับปรุงได้ถูกจุด ทั้งนี้ การทดสอบแคมเปญยังถือเป็นหัวใจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนองค์กรและสร้างวัฒนธรรมของการวัดผลโดยยึดหลักตามข้อมูลและข้อเท็จจริงได้อย่างถูกต้องและเที่ยงตรงที่สุด

ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร
เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย
Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)

สูตร CTR | CTR คืออะไร?

CTR คืออะไร สำคัญต่อการยิง ads อย่างไร + แจกสูตรคำนวณค่า CTR ง่าย ๆ

CTR หรือ Click-Through Rate อีกหนึ่งศัพท์ในแวดวงดิจิทัลที่นักการตลาดออนไลน์มักได้ยินและต้องเจออยู่บ่อย ๆ โดย CTR ถือว่าสำคัญมากหากคุณเป็นนักยิงโฆษณาตัวยง ไม่ว่าจะมาทางสาย bidding ในกูเกิ้ล หรือสาย optimize ใน Facebook บอกได้เลยว่าต้องเจอ CTR แน่นอน

บทความนี้ จะพาคุณไปทำความรู้จัก CTR ให้มากขึ้น รวมทั้งสอนคำนวณ CTR ง่าย ๆ ในแบบฉบับตัวเองกัน

CTR คือ

ค่าสัดส่วนของจำนวนผู้คนที่เห็นโฆษณาและคลิกเข้ามาหาเรา ซึ่งนำมาใช้เป็นตัวชี้วัดว่าโฆษณาและคีย์เวิร์ดที่เรา optimize ไปนั้น แสดงผลได้ดีมีประสิทธิภาพหรือไม่ ทำได้ดีมากน้อยแค่ไหน โดยทั่วไปแล้ว เราสามารถดูค่า CTR หรือ Click-Through Rate ได้ที่แดชบอร์ดของบัญชีที่ใช้ยิงโฆษณาได้เลย ยิ่งค่า CTR สูงเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีเปอร์เซ็นต์ที่คนจะคลิกโฆษณาของเราง่ายขึ้นมากเท่านั้น

อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนก็คงเกิดคำถามว่าตกลงแล้ว CTR ที่ดีนั้นควรมีค่าเท่าไหร่ คำตอบก็คือ ไม่มีตัวเลขตายตัว ตัวเลขเฉพาะไม่สามารถชี้วัดได้ว่าแคมเปญโฆษณาในแต่ละครั้งของคุณดีหรือไม่ดี เพราะค่า CTR จะสูงหรือไม่สูงขึ้นอยู่กับคีย์เวิร์ดและการวางแผนโฆษณาในแต่ละแคมเปญ ค่าเฉลี่ยของ CTR ในธุรกิจแต่ละประเภทก็หลากหลายและแตกต่างกันไป ที่สำคัญ อันดับของโฆษณาที่แสดงผลในหน้าการค้นหานั้น ถือเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยให้ค่า CTR สูงหรือต่ำก็ได้

ลองมาดู ค่าเฉลี่ย CTR การทำ AdWords ของธุรกิจแต่ละประเภท ตามแผนภูมิข้างล่าง จะเห็นได้ว่าตัวเลข CTR นั้นหลากหลาย รวมทั้งธุรกิจแต่ละแบบก็มีค่าเฉลี่ยที่ต่างกันด้วย

CTR GDN Benchmark CTR เปรียบเทียบในอุตสาหกรรมต่างๆ

ที่มา: wordstream

ถึงอย่างนั้น หากเราอยากได้ตัวเลขค่า CTR โดยประมาณ เพื่อนำมาเทียบเคียงและวางแผนสำหรับทำการตลาดต่อไป อาจยึดว่า ค่า CTR สำหรับแคมเปญเสิร์ชคือ 4-5% + ส่วนค่า CTR สำหรับแคมเปญ display ads คือ 0.5-1% + 

CTR ใน Google กับ Facebook ต่างกันอย่างไร

เมื่อพูดถึงค่าเฉลี่ย CTR แล้ว ก็อาจมีอีกคำถามตามมา สรุปแล้ว ค่า CTR ใน Google กับ Facebook แตกต่างกันอย่างไร มาไล่ดูกันเลยดีกว่า

ค่าเฉลี่ย CTR ของ Google Display ad คือ .4% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย CTR ของ Facebook ad ประมาณสี่เท่าตัว

ค่าเฉลี่ย CTR ของ Google Search คือ 2-3% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ย CTR ของ Google Display ad ประมาณสิบเท่าตัว และสูงกว่าค่าเฉลี่ย CTR ของ Facebook ad ร้อยเท่าตัว นอกจากนี้ ค่าเฉลี่ย CTR ของ Google Search ก็อาจพุ่งสูงถึง 30% ซึ่งขึ้นอยู่กับอันดับของโฆษณาที่แสดงในหน้าการค้นหาด้วย

ค่าเฉลี่ย CTR ของ Facebook คือ .051% ต้องบอกก่อนว่าค่านี้ไม่ใช่ตัวเลขที่ทางเฟซบุ๊กเปิดเผยออกมาอย่างเป็นทางการ แต่เป็นตัวเลขที่มีคนทำวิจัยจากการเก็บข้อมูลแคมเปญโฆษณาในเฟซบุ๊กจำนวน 11,000 กรณีศึกษา จนได้ตัวเลขเฉลี่ยออกมาเป็นค่านี้

หลายคนคงสงสัยต่อว่าทำไมค่าเฉลี่ย CTR ของเฟซบุ๊กถึงต่ำกว่ากูเกิล ประเด็นนี้อธิบายได้ด้วยสองเหตุผล อย่างแรก ก็เพราะเฟซบุ๊กมีรูปแบบโฆษณาและการเลือกกลุ่มเป้าหมายหลากหลาย ซึ่งช่วยให้เจาะจงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่มจริง ๆ ที่อาจไม่ได้มีเยอะเมื่อเทียบกับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าไปค้นหาในหน้า search engines อย่างที่สองก็เพราะความสนใจของผู้ใช้งานในเฟซบุ๊กน้อยกว่า ลองนึกดูว่า เมื่อเราเข้าแอปพลิเคชันจำพวกโซเชียลมีเดีย เราจะเน้นเสพความบันเทิงและเรื่องราวของคนใกล้ตัวหรือเรื่องที่สนใจ มากกว่าโฆษณาที่ยิงมาหาเรา จึงไม่แปลกที่ผู้คนจะเลื่อนหน้าฟีดส์ผ่านเวลาเจอแบนเนอร์โฆษณาในเฟซบุ๊ก

CTR ช่วยให้โฆษณาทำงานดีได้อย่างไร

หากเราอยากให้แคมเปญโฆษณาที่ทำมีค่า CTR สูง ตามมาตรฐานที่ตั้งเป้าไว้ ต้องมุ่งไปที่สิ่งสำคัญหลัก ๆ สองอย่าง ได้แก่  Ad Rank (อันดับที่ปรากฏบนหน้าการค้นหา) และ Quality Score ซึ่งเราจะมาไล่ดูกันว่า CTR จะสูงหรือไม่สูงนั้น ปัจจัยจากทั้งสองตัวนี้จะมีส่วนช่วยได้อย่างไรบ้าง

Ad Rank จะช่วยชี้วัดว่าโฆษณาของเราควรแสดงผลอยู่อันดับใดในหน้าการ search engines แน่นอนว่าในโลกของ bidding โฆษณาที่ได้อยู่อันดับแรกสุดไม่ใช่คนที่ bid ด้วยงบที่สูงเสมอไป เพราะการที่จะเลือกให้โฆษณาตัวไหนติดอันดับต้น ๆ นั้น ไม่ได้มีแค่เรื่องงบประมาณเพียงอย่างเดียว เพราะอัลกอริธึ่มจะประเมินค่า CTR ที่มีคนคลิกเข้ามาจริง ๆ กับค่า CTR ที่เราคาดการณ์ว่าจะต้องได้ (Actual CTR vs Expected CTR)

ยกตัวอย่าง คุณยิง ads หลายตัว แต่เรต CTR ที่ได้กลับต่ำมาก อัลกอริธึ่มจะคาดการณ์และประเมินว่าโฆษณาตัวต่อไปของบัญชีโฆษณานี้จะต้องมีค่า CTR ต่ำเหมือนอันที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้อันดับโฆษณาของคุณตกไปอยู่ล่าง ๆ แทน

คราวนี้มาดูกันที่ Quality Score บ้าง ต้องบอกก่อนว่า Quality Score จะวัดผลโฆษณาจากคีย์เวิร์ด copy และ Landing page หากเราสามารถสร้างสรรค์องค์ประกอบทั้งสามอย่างนี้ให้ร้อยเรียงเป็นเรื่องราวหรือข้อมูลที่กลุ่มเป้าหมายมองหาและตอบโจทย์พวกเขาด้วยแล้ว ก็จะทำให้ได้รับ Quality Score ที่ดี ยิ่งเนื้อหาเกี่ยวข้องกับสิ่งที่พวกเขามองหามากเท่าไหร่ ก็ยิ่งได้รับ Quality Score สูงมากเท่านั้น โดยการคำนวณ Quality Score จะประเมินจากเรต CTR ที่ตั้งไว้ ความเกี่ยวข้องของเนื้อหา และ UX ของ Landing page

CTR vs Conversion Rate ต่างกันอย่างไร

เมื่อเริ่มจับทางออนไลน์ นักการตลาดหลายคนคงเคยได้ยินและสับสนระหว่าง CTR กับ Conversion Rate กันอยู่บ้าง จริง ๆ แล้ว ทั้งสองอย่างนี้ต่างกัน ค่า CTR สูง ไม่ได้หมายความว่าจะได้ Conversion Rate ที่สูงตามไปด้วย เพราะ CTR วัดค่าจำนวนคนที่เห็นและคลิก ads เข้ามา ไม่ได้ชี้วัดยอดปิดการขาย ลงทะเบียน หรืออะไรก็ตามที่เราวางให้เป็น conversion ของแคมเปญนั้น ๆ จึงอาจกล่าวได้ว่าค่าร้อยละของ Conversion Rate ที่สูงนั้นค่อนข้างสำคัญในการวัดผลความสำเร็จของแคมเปญทั้งหมด

แต่อย่าลืมว่า CTR ก็เป็นส่วนสำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เพราะการจะมี CTR ที่ดีนั้น จะส่งผลต่อ Ad Rank และ Quality Score ให้มีคะแนนสูงขึ้นด้วย ซึ่งหมายความว่านี่คือสะพานด่านแรกที่พาเราไปปิดการขายหรือไปสู่ conversion ที่แท้จริงได้นั่นเอง ถึงแม้ CTR จะไม่ได้ส่งผลต่อ Conversion โดยตรง แต่ก็ถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญในการวิเคราะห์แคมเปญ และส่งผลต่อ Ad Rank และ Quality score

CTR สูตร คำนวณก่อนยิงโฆษณา

การคำนวณค่า CTR ของโฆษณาแต่ละประเภทจากกูเกิลและเฟซบุ๊กนั้น ใช้สูตรคำนวณเหมือนกัน โดยใช้จำนวนคลิกกับอิมเพรสชันเท่านั้น ได้เป็น

(จำนวนคนคลิกโฆษณา / จำนวน impression) x 100 = CTR

ยกตัวอย่าง คุณสร้างแคมเปญโฆษณาขึ้นมา โดยยิง ads แสดงผลจำนวน 5,000 ครั้ง แต่มีจำนวนผู้ที่เห็นและคลิกโฆษณานั้นเข้ามาทั้งหมด 200 คน คุณสามารถคำนวนค่า CTR ของแคมเปญนี้ได้ ดังนี้

(200 / 5,000) x 100 = 4%

สูตร CTR | CTR คืออะไร?

ที่มา: business2community 


ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร

เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย
Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)

PPC คืออะไร(pay-per-click) เทคนิคการโฆษณาหน้าแรก Google Ads

PPC คืออะไร? วิธีการโฆษณาหน้าแรก Google Ads[เทคนิค]

PPC อีกหนึ่งเรื่องน่าสนใจที่นักการตลาดหรือเจ้าของธุรกิจที่อยากจับทางทำการตลาดและโฆษณาออนไลน์บน search engines ต้องทำความเข้าใจ

เพราะการทำแคมเปญ PPC มีมากกว่าการลงเงินโฆษณาให้ติดอันดับเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องพื้นฐานอื่นๆ อีกมากมาย

PPC คืออะไร?

PPC คืออะไร(pay-per-click) เทคนิคการโฆษณาหน้าแรก Google Ads

PPC ย่อมาจาก Pay-Per-Click หรือรู้จักกันทั่วไปในชื่อว่า Paid Search คือช่องทางการโฆษณาออนไลน์บน search engine (เช่น Google, Yahoo, Bing และ Baidu เป็นต้น) ที่เรานิยมในประเทศไทยก็จะเป็น Google การโฆษณาบน Google เป็นการใช้กลยุทธ์วางแผนและซื้อคีย์เวิร์ดที่คาดว่าลูกค้าของพวกเขาจะใช้คำนั้นๆ ในการเสิร์ชหา เรียกว่า bid keyword 

ปัจจุบันผู้ประกอบการรายใหญ่ เจ้าของธุรกิจรายย่อย และนักการตลาดออนไลน์ ต่างหันมาจับทางทำ PPC ในการทำการตลาดและโฆษณาสินค้าหรือบริการของตนอย่างแพร่หลาย โดยผู้ลงโฆษณาจะต้องจ่ายค่าโฆษณาเมื่อมีผู้คลิก ads ที่ตนได้ซื้อหรือ bid คีย์เวิร์ดนั้นไว้

เจ้าของธุรกิจและนักการตลาดจึงจำเป็นต้องรู้ เข้าใจ และวางแผนการ bid คีย์เวิร์ดให้เหมาะสม กระตุ้นให้คลิก รวมทั้งมีโอกาสสร้าง conversion ได้จริง เพราะหากพวกเขาคลิกเข้ามาแต่ไม่ได้ take action ที่ตอบโจทย์กับเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ ก็อาจทำให้เสียเงินโฆษณาไปเปล่าๆ ได้

PPC กับ CPC ต่างกันอย่างไร

PPC กับ CPC ต่างกันยังไง

นักการตลาดหลายๆคน คงเคยได้ยินคำว่า PPC กับ CPC กันอยู่บ่อยๆ แต่ยังไม่เข้าใจคอนเซ็ปต์และความแตกต่างของคำทั้งสองคำนี้อย่างชัดเจนใช่ไหม

ก่อนอื่นมาทำความรู้จักคอนเซ็ปต์ของแต่ละคำกัน PPC หรือ Pay-Per-Click ว่าด้วยรูปแบบการจ่ายค่าโฆษณาในแต่ละครั้งที่มีคนคลิกเข้ามา ส่วน CPC ย่อมาจาก Cost-Per-Click หมายถึงจำนวนเงินที่ต้องจ่ายในแต่ละคลิกนั้นมากน้อยเท่าไหร่

แม้จะมีคนใช้คำสองคำนี้สลับสับสนกันอยู่บ่อยๆ แต่จริงๆ แล้ว ทั้ง PPC และ CPC นั้นแตกต่างกัน โดย PPC ใช้อธิบายวิธีการลงโฆษณา ในขณะที่ CPC ใช้อธิบายมูลค่าเม็ดเงินที่ต้องจ่ายในแต่ละคลิกนั่นเอง

โฆษณาหน้าแรกบน google ต้องทำอย่างไร

วิธีลงโฆษณาบน Google หรือทำแคมเปญ PPC นั้น มีขั้นตอนพื้นฐานหลักๆ อยู่ 9 ขั้นตอน ด้วยกัน ซึ่งเริ่มทำได้ดังนี้

เริ่มต้น Research

ก่อนอื่นต้องตอบคำถามให้ได้ว่า เป้าหมายของแคมเปญนี้คืออะไร คุณจะทำไปเพื่ออะไร เพราะคำตอบนี้จะช่วย shape ว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณคือใคร และนำไปสู่การสร้าง conversion ได้ในที่สุด โดยคุณต้องศึกษาข้อมูลว่ากลุ่มเป้าหมายชอบอะไร มีพฤติกรรมการใช้งานอินเตอร์เน็ตอย่างไร ต้องการอะไร และกำลังมองหาอะไรอยู่ตอนนี้

PPC คืออะไร Keyword Planner เทคนิคการทำโฆษณาหน้าแรก Google

Keyword Planner คือเครื่องมือหนึ่งที่ช่วยให้คุณวางแผนได้ว่าจะเลือกใช้คำหรือกลุ่มคำใดมาเป็น keyword ในการลงโฆษณาได้อย่างเหมาะสม

วิเคราะห์แนวโน้ม

เมื่อได้ลิสต์ของคำหรือกลุ่มคำที่จะนำมาใช้เป็น keyword จำนวนหนึ่งแล้ว ก็ต้องนำมาวิเคราะห์กันต่อว่าคำหรือกลุ่มคำแต่ละอย่างที่มีแนวโน้มการค้นหา คลิก และการแข่งขันมากน้อยเท่าไหร่ ควรลงทุน bid คำนั้นๆ หรือไม่ เมื่อเทียบกับ budget ที่มี และเป้าหมายที่ตั้งไว้

การทำโฆษณาบน Google Ads ด้วย Keyword Planner

เครื่องมือที่ช่วยวิเคราะห์นั้นก็มีทั้งแบบฟรีและเสียเงิน ซึ่งหนึ่งในโปรแกรมที่แนะนำ ก็คือ Google Keyword Planner ซึ่งทำได้ ดังนี้

  • เตรียมตาราง excel สำหรับลงข้อมูลของคำหรือกลุ่มคำแต่ละตัว
  • คีย์คำหรือกลุ่มคำที่เตรียมไว้ในลิสต์ลงในโปรแกรม Google Keyword Planner เพื่อดูว่าคำหรือกลุ่มคำนั้นมี search volume มากน้อยเท่าไหร่ และการแข่งขัน bidding สูงต่ำแค่ไหน
  • เลือกกลุ่มคำหรือ long tail keywords เลือกคำที่มีจำนวน search volume และมีแนวโน้มการแข่งขันไม่สูงจนเกินไป
  • วิเคราะห์ข้อมูลอื่นร่วมด้วย เช่น จำนวนประชากร อายุ สถานที่ตั้ง เป็นต้น

จัดเรียง Keyword

เมื่อได้ลิสต์คำหรือกลุ่มคำที่จะใช้ bidding แล้ว ก็ต้องมาจัดเรียง keyword เหล่านั้น โดยอิงตามกลุ่มเป้าหมายของแคมเปญเป็นหลัก ดังนี้

  • เตรียมลิสต์ keyword ทั้งหมดไว้ โดยนำมาปรับแต่งให้เป็น long tail keyword
  • จัดกลุ่ม keyword ที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน
  • สร้าง ad สำหรับ ad group แต่ละกรุ๊ป 

เพิ่ม Negative keyword 

Negative keyword คือคำหรือกลุ่มคำที่ไม่เกี่ยวข้องกับโฆษณาที่เราลงโฆษณา ซึ่งช่วยให้โฆษณาของเราไม่ต้องปรากฏเมื่อมีคนเสิร์ช negative keyword นั้น ทำให้กรองและคัดคนที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายออกไปได้ 

การตั้งค่า negative keyword จึงช่วยให้คุณเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่ใช่ รวมทั้งเซฟเงินลงทุนที่ไม่ต้องเสียเปล่าไปกับผู้ที่คลิกเข้ามาและไม่ take action ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ด้วย

คำนวณงบ

งบประมาณหรือ budget อีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่คุณต้องวางแผนให้ดี โดยคุณต้องคำนวณ max cost สำหรับการคลิกแต่ละครั้งที่คาดว่าจะยอมรับและจ่ายได้ โดยที่ไม่ขาดทุนเอง คุณจึงต้องโฟกัสที่ conversion rate และงบประมาณทั้งหมดเป็นหลัก โดยคุณสามารถคำนวณ max cost ได้ ดังนี้

Max CPC = (กำไรจากลูกค้าแต่ละคน) * (1 – profit margin) * (conversion rate ของเว็บไซต์)

การคำนวณงบประมาณด้วย Keyword planner

เช่น การเข้าชมเว็บไซต์ทุกๆ 1,000 ครั้ง จะเกิด conversion ทั้งหมด 30 conversions ดังนั้น conversion rate คิดเป็น 3% รวมทั้งกำไรเฉลี่ย 500 บาท/คน ส่วน profit margin คิดเป็น 30% จะคำนวณได้ ดังนี้

Max CPC = $500 * (1 – 0.30) * 3% = 10.50

วิเคราะห์คู่แข่ง

รู้เขา รู้เรา…อีกหนึ่งแนวคิดที่ควรศึกษาก่อนลงสนามจริงทุกครั้ง คุณสามารถตรวจสอบได้ว่าคู่แข่งของธุรกิจนั้น ทำแคมเปญหรือโฆษณาอย่างไร โดยใช้ Adwords ดังนี้

  • ล็อกอินเข้าบัญชี Google Ads
  • เลือกเข้าไปดูแคมเปญใดแคมเปญหนึ่งของคุณ
  • ไปที่รายละเอียดของเมนู
  • คลิก Auction Insight

เขียน Copy Ads

ขั้นตอนต่อมาคือครีเอตคำโฆษณาหรือ copy ads ที่ปรากฏขึ้นเมื่อมีผู้เสิร์ช keyword ที่เกี่ยวเนื่องกับโฆษณาของคุณบน search engines 

ข้อความโฆษณา เทคนิคการโฆษณาหน้าแรก Google Ads

การเขียนคำโฆษณาสำหรับ Adwords นั้น มีพื้นที่จำกัด จึงต้องเขียนให้ดึงดูดผู้ใช้งานและรองรับกับอัลกอริธึ่ม การเพิ่ม keyword ไว้ในทุก elements ของ copy ads จะมีส่วนช่วยได้มาก รวมทั้งชูจุดเด่นหรือ USPs ของสินค้าและบริการ และโปรโมชั่นหรือข้อเสนออื่นๆ ตามสมควร โดยทั่วไปแล้ว copy ads สำหรับ Adwords ประกอบด้วย

  • Headline1,2 และ 3 อย่างละไม่เกิน 30 ตัวอักษร
  • Description 1 และ 2 ไม่เกิน 90 ตัวอักษร
  • Display URL และ Path

ใส่ CTA ชัดเจน

CTA หรือ Call-To-Action คำสั้นๆ แต่มีความหมาย ไม้ตายสุดท้ายที่ช่วยกระตุ้นกลุ่มเป้าหมายให้ take action เพื่อนำไปสู่ conversion ตามที่เราต้องการ การเขียน CTA จึงควรกระชับ ชัดเจน ตรงไปตรงมา เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายรู้ว่าพวกเขาต้องทำอะไรต่อไป เพื่อให้ได้สิ่งที่ตัวเองต้องการหรือมองหาอยู่

เพิ่ม Extensions

Sitelink Extensions

ตัวอย่าง Sitelink Extensions

Extensions เปรียบเสมือนส่วนเสริมที่ข่วยให้ลูกค้าทำความรู้จัก เข้าถึงแบรนด์ รวมทั้ง take action ตามที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้น เพราะ Extensions แต่ละตัวจะให้ข้อมูลสำคัญ ทำให้แบรนด์ดูน่าเชื่อถือมากขึ้นด้วย

ทั้งหมดนี้ ก็เป็นเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับการเริ่มทำแคมเปญ PPC ซึ่งรับรองว่าถ้าเดินตามสเต็ปนี้ เว็บไซต์ของคุณก็มีโอกาสติดอันดับผลการค้นหาที่ดีแน่นอน

ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร
เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย
Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)

ขอบคุณอ้างอิงและรูปภาพจาก:
https://makewebbetter.com/blog/9-simple-steps-to-launch-successful-pay-per-click-campaign/amp/
https://www.freepik.com

SEM คืออะไร? องค์ประกอบของ SEM

SEM คืออะไร (Search Engine Marketing) ? PPC กับ SEO ต่างกันยังไง?

SEM คือ Search Engine Marketing ซึ่งคือการตลาดบนเสิร์ชเอนจิน SEM ย่อมาจาก Search Engine Marketing เป็นการวมศัพท์สองคำระหว่าง Search engine กับ Marketing

Search engine คือเว็บไซต์เครื่องมือการค้นหาบนอินเทอร์เน็ต อีกอัน Marketing นั้นก็คือการตลาด พอมารวมกันก็มีความหมายว่าการตลาดบนเครื่องมือการค้นหาข้อมูลเสิร์ชเอนจินที่เราจะรู้จักกันก็จะเป็น Google.com, Yahoo, Bing หรืออย่าง Baidu ของจีน โดยในเครื่องมือการค้นหาที่เราใช้ในการค้นหาปัญหาและหาสินค้านั้น เค้าก็เปิดให้เราสามารถนำโฆษณาไปลงในช่องทางนี้ได้

SEM คืออะไร? องค์ประกอบของ SEM

ความหมายใน Wikipedia ให้ความหมายไว้ว่า “SEM คือการตลาดรูปแบบนึงบน Internet ที่เกี่ยวข้องกับการผลักดัน Promotion บนเว็บไซต์ให้เพิ่มการแสดงผลบน SERPs(Search Engine Results Pages) โดยผ่านการ Optimization และ Advertising”

สรุป SEM คือ วิธีการหรือกระบวนการสร้าง traffic และ awareness ที่มาจาก search engines ทั้งในรูปแบบที่เสียเงินและไม่เสียเงิน โดยช่วยให้เข้าถึงลูกค้าใหม่ รวมทั้งแสดงเว็บไซต์ในอันดับต้น ๆ ได้ เป็นส่วนนึงของการทำ Inbound Marketing การตลาดแบบดึงดูดเข้าหาธุรกิจ

SEM จึงถือเป็นกลยุทธ์การตลาดอย่างหนึ่ง ซึ่งนักการตลาดใช้สำหรับยิง ads หรือ optimize โฆษณาเว็บไซต์ของแบรนด์ให้ปรากฏบน search engines ในอันดับสูงกว่าคู่แข่ง

SEM ทำงานอย่างไร มีอะไรบ้าง

เมื่อพอรู้ความหมายและแนวคิดพื้นฐานของ SEM บ้างแล้ว คุณสามารถทำความเข้าใจกลยุทธ์การตลาดออนไลน์นี้ได้ โดยทำความเข้าใจปัจจัยที่ช่วยเสริมให้การทำ SEM ได้ผลดียิ่งขึ้น

เดิมที คุณจะเสิร์ชหาสิ่งที่ต้องการหรืออยากรู้คำตอบจาก search engines อยู่บ่อย ๆ แน่นอนว่ากลยุทธ์ SEM จะช่วยนำพาและผลักดันแบรนด์ให้ขึ้นไปอยู่บนหน้าการค้นหาที่ลูกค้าต้องการได้

SEM = SEO + PPC

ปัจจัยที่ส่งเสริมให้กลยุทธ์ SEM ประสบผลสำเร็จได้ง่ายขึ้น ประกอบด้วยขั้นตอนการทำงาน ดังนี้

  • ทำความรู้จักและเข้าใจว่ากลุ่มเป้าหมายของคุณคือใคร
  • ตั้งเป้าหมายแคมเปญให้ชัดเจนว่าคืออะไร จะวัดผลอย่างไร 
  • ค้นคว้า วางแผน และเตรียมคำหลักหรือ keyword โดยดูว่าจะใช้คำหรือกลุ่มคำใดบ้างสำหรับซื้อโฆษณา
  • จัดกลุ่ม keyword ให้เป็น ad groups 
  • ครีเอทคำโฆษณาที่ดึงดูดคนอ่าน และตอบรับกับอัลกอริธึ่ม
  • ตั้งค่าระบบให้ drive traffic ไปยังหน้า Landing Page ซึ่งเป็นหน้าเพจหรือเว็บไซต์ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าหรือบริการครบถ้วน รวมทั้งเป็นจุดที่ช่วยให้กลุ่มเป้าหมาย take action บางอย่างจนสร้าง conversion ได้ตามเป้าหมายแคมเปญที่ตั้งไว้

นอกจากนี้ ยังมีคำศัพท์อื่นที่เกี่ยวเนื่องกับ SEM ที่คุณจำเป็นต้องรู้จักไว้ โดย SEM ถือเป็นคำหลักของวิธีการหรือรูปแบบโฆษณาบน search engines ซึ่งมีคำย่อยหรือ sub set คำอื่น ดังนี้

  • Paid search ads
  • Paid search advertising
  • PPC (Pay-Per-Click)
  • PPC (Pay-Per-Call)
  • CPC (Cost-Per-Click)
  • CPM (Cost-Per-Thousand Impressions)

ตามที่บอกไปในตอนแรก SEM ว่าด้วยวิธีดึง traffic เข้าเว็บไซต์ผ่าน search engines ซึ่งรวมทั้งวิธีเสียเงินและไม่เสียเงิน สิ่งหนึ่งที่ควรทำความรู้จักก็คือที่มาของ traffic แต่ละประเภท ได้แก่ Paid Search และ Organic Search

1. Paid Search

Paid Search และ PPC(Pay-per-click) คืออะไร

PPC หรือ Paid Search คือการทำโฆษณาช่องทางการค้นหา โดย PPC ย่อมาจาก Pay-per-Click คือจ่ายราคาเป็นต่อคลิกนั้นเอง

การทำการตลาดบน search engines ที่ต้องจ่ายเงินค่าโฆษณา เพื่อดันหน้าเว็บไซต์ให้ปรากฏบน search engines ในกรณีที่มีคนเสิร์ชด้วย keyword หรือ key phrase ที่ bidding ไว้ โดยค่าโฆษณาที่ต้องจ่ายขึ้นอยู่กับจำนวนคลิกหรือวิวตามที่ตั้งค่าไว้แล้ว

ติดบน search engines แต่มีวิธีการไต่อันดับเอง ซึ่งต้องรองรับกับอัลกอริธึ่มของ search engines นั้น ๆ 

นอกจากนี้ Organic Traffic ถือเป็น traffic ที่มีคุณภาพ เพราะ

  • อัลกอริธึ่มจะจับคู่กลุ่มเป้าหมายที่เสิร์ช keyword ตรงหรือใกล้เคียงกับที่เว็บไซต์แบรนด์เล่นคำนั้น ทำให้คุณได้กลุ่มเป้าหมายที่ใช่จริง ๆ
  • หากเว็บไซต์ของคุณปรากฏลำดับต้น ๆ นั่นหมายความว่าคอนเทนต์มีคุณภาพ ซึ่งจะยิ่งดึงดูด traffic คุณภาพเข้ามามากยิ่งขึ้น
  • กลุ่มเป้าหมายเชื่อใจและมั่นใจในแบรนด์ เพราะคอนเทนต์ที่นำเสนอตรงตามความต้องการและตอบโจทย์สิ่งที่พวกเขามองหาอย่างแท้จริง
  • เว็บไซต์ที่ติดหน้าแรกของการค้นหาบนกูเกิล มีโอกาสดึง traffic เข้าเว็บไซต์ตัวเองได้มากถึง 92% จากจำนวนผู้ใช้งานบนกูเกิลทั้งหมด

โดยแต่เสิร์ชเอนจินแต่ละค่ายก็มีเปิดรองรับให้เราสามารถโฆษณาได้ สามารถติดอันดับได้รวดเร็ว ขึ้นโฆษณาได้ทันที

เลือก Keyword ที่ต้องการเพื่อแสดงเว็บไซต์ได้เลย

2. SEO(Search Engine Optimization)

SEO คืออะไร?

SEO หรือ Organic Search คือการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ติดอันดันบนเสิร์ชเอนจิน เป็นการปรับปรุงเนื้อหาเว็บไซต์ให้สอดคล้องกับคำค้นหา มอบเนื้อหาที่มีประโยชน์ต่อ user อย่างธรรมชาติ รวมถึงเว็บไซต์มีการใช้งานเป็นยังไง มอบประสบการณ์ user ได้รับประสบการณ์ที่ดีไหม ความเร็วของเว็บไซต์ ขนาดตัวหนังสือเล็กใหญ่ไปไหม ไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่จะเสียในแง่ของเวลา 6 เดือนถึง 1 ปีใน Keyword ยากๆ อีกส่วนนึงคือหากใครจ้างเอเจนซี่จัดการ SEO ให้ก็จะมีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้

ส่วนหนึ่งของแนวคิด SEM ว่าด้วยรูปแบบการดึง traffic เข้าเว็บไซต์แบบไม่เสียเงิน ใช้เวลาสร้างฐานกลุ่มเป้าหมายพอสมควร แต่ได้ผลดีในระยะยาว นักการตลาดที่จะจับทางด้านนี้ต้องอัปเดตเทรนด์ดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งอยู่เสมอ เพราะกลยุทธ์ SEO จะปรับเปลี่ยนไปตามอัลกอริธึ่มของกูเกิลเสมอ 

แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องจับทางให้แม่นหากคิดจะมาทาง SEO ก็คือการทำ On-Page และ Off-Page

On-Page ของการทำ SEO ประกอบด้วย

  • การเลือก keyword ปรับใช้ให้เหมาะสมใน title, meta descriptions, heading tags, alt text เป็นต้น
  • การเขียน copy ให้ตอบรับและได้มาตรฐานของระบบอัลกอริธึ่ม
  • การจัดวางหน้าเว็บไซต์เป็นสัดส่วน มี UX ที่ดี ตอบโจทย์ผู้ใช้งาน
  • ความรวดเร็วในการดาวน์โหลดหน้าเพจแต่ละครั้งต้องไม่ใช้เวลานานเกินไป
  • การได้รับรองมาตรฐานจาก Google
  • การแชร์คอนเทนต์จากผู้ใช้งานด้วยกัน

Off-Page ของการทำ SEO ประกอบด้วย

  • การสร้างสรรค์เนื้อหาที่ดี มีประโยชน์ สามารถใส่ backlink กลับมาหาได้อย่างมีคุณภาพ
  • การสร้างสัญลักษณ์หรือปุ่มสำหรับแชร์เนื้อหาในช่องทางอื่น ๆ
  • การทำ Social Bookmark

โดยความหมายทั้งหมดและแท้จริงแล้ว SEO คือส่วนประกอบนึงของ SEM นั่นเอง แต่ในความเป็นจริงนั้น ปัจจุบันในวงการหลายๆคน ก็มีการใช้ศัพท์คำว่า SEM ใช้เรียกแทน Paid Search หรือ PPC(Pay Per Click Advertising) ไปเลย โดย Search engine land ก็บอกเช่นกันว่าทางนั้นก็เรียก SEM แล้วหมายถึง Paid search แต่ความหมายที่แท้จริง SEM ก็คือทั้ง PPC และ SEO นั้นแหละครับ

หลายๆคนที่เพิ่งรู้จักคำพวกนี้ หรือเริ่มใช้คำพวกนี้อาจจะสับสนในความหมายเชิงบริบทต่างๆ ทั้งสองความหมายไม่มีความหมายไหนผิด ตอนนี้ขอให้ทุกคนเข้าใจความหมายของรากศัพท์จริงๆ และคำที่ใช้ในปัจจุบันที่ผมกล่าวไปข้างต้นว่ามีความหมายอย่างไร

 

SEO หรือ PPC ดีกว่ากัน ?

เป็นคำถามที่หลายๆคนมักสงสัยว่าถ้าเริ่มทำการตลาดที่จะโปรโมทเว็บไซต์นี้ จะเริ่มจากตัวไหนก่อนดี ก่อนอื่นเลยเราต้องมาดูที่ข้อดี ข้อเสียของแต่ละตัวก่อน

SEO กับ PPC อะไรดีกว่ากัน

หลักๆเลยจะเป็นเรื่องของเวลาและจำนวน Keywords SEO มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาที่ใช้เวลาค่อนข้างนาน คีย์เวิร์ดที่จำกัด การแข่งขันที่สูง แต่จะแลกมาด้วยความน่าเชื่อถือและยอดคนค้นหาเข้ามาในระยะยาว ส่วน PPC หรือ Paid Search Advertising นั้นจะใช้เวลาค่อนข้างสั้น สามารถลองคีย์เวิร์ดได้หลายคำหลายรูปแบบ

ในมุมมองของผมนั้นผมมองว่าต้องแบ่งเป็น 2 ช่วง ก่อนคือ ช่วงแรกที่เราต้องการโปรโมทเว็บไซต์ในทันทีนั้น ให้ทำ PPC ก่อนเพื่อสามารถแสดงผลได้ทันที

และในช่วงระยะยาวนั้นให้เราทำ SEO ควบคู่ไปด้วย โดยการคัดเอาคำที่มี Result ที่ดีจากแพลตฟอร์ม PPC เอามาใช้ในการทำ SEO ต่อ

คนที่รีบอยากทำ SEO หลายๆคนมักลืมคำนึงถึง รวมถึงการไปเลือก Keyword ที่ใช้ทำ SEO โดยการคำนึงถึงเพียงจำนวนคนค้นหาต่อเดือนที่ขอเยอะๆไว้ จนลืมคิดไปว่าคำๆนั้น ให้อะไรคืนกลับมาที่ธุรกิจเราจริงๆไหม ?

เราต้องยอมรับว่า SEO ก็มีข้อจำกัดในด้านปริมาณคำที่จะสามารถใช้ได้ เรื่องของเวลาและการแข่งขัน

ส่วน PPC ก็มีต้นทุนในเรื่องของราคา การดู ROI จึงค่อนข้างสำคัญ ดังนั้นการจะบอกว่าตัวไหนดีกว่าตัวไหนคงไม่สามารถบอกได้ ผมมองว่าต้องใช้งานคู่กันหรือมองตามบริบทต่างๆ ถึง SEO จะติดอันดับการค้นหาไปแล้ว แต่ก็ยังมีหลายๆคำที่เราไม่สามารถจะแข่งขัน หรือเราไม่สามารถจะเล่นคำคีย์เวิร์ดพวกนั้นใน SEO ได้หมด เราก็ยังต้องอาศัย PPC อยู่ดี หรือใช้ในเรื่องของการแย่งพื้นที่แสดงโฆษณาเพิ่มเติมก็ทำได้

PPC กับ SEO อะไรดีกว่ากัน

สรุป ทั้ง PPC และ SEO มีจุดเด่นในตัวเอง ถ้าเราเข้าใจธรรมชาติของแพลตฟอร์มแต่ละตัวและเลือกหยิบใช้อย่างถูกจุด มันจะส่งผลดีต่อธุรกิจของท่านอย่างมาก และการที่เราจะนำเครื่องมือต่างๆมาใช้กับองค์กรเรานั้น เราจะใช้เครื่องมือเพียงเครื่องมือเดียวมันคงไม่เพียงพออีกต่อไปแล้ว ดังนั้นตอนนี้ใครที่ทำ Facebook ads หรือ Google ads เพียงอย่างเดียว ลองมองบริบทของตัวธุรกิจว่าสามารถทำการตลาดรูปแบบอื่นได้ไหม แล้วขยายช่องทางดู ไม่มีตัวไหนดีกว่าตัวไหนครับ อย่างที่ผมบอกไปครับ เข้าใจธรรมชาติของแต่ละแพลตฟอร์ม

ทั้งหมดนี้ ก็เป็นเรื่องควรรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการทำ SEM หากอยากรู้การทำแคมเปญออนไลน์บน Search Engines แต่ละวิธี ต้องทำอย่างไรบ้าง และมีเทคนิคอะไรที่จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณขึ้นไปอยู่หน้าแรกได้นั้น ต้องติดตามบทความต่อไป รวมทั้งอัปเดตทุกเรื่องการตลาดออนไลน์ได้ ที่นี่

ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร
เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย
Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)

 

ขอบคุณภาพจาก:
freepik.com, pixabay.com
thedigitalonlinemarketing.info
mandrakeforum.com

Gmail Shopping ads

Google Shopping Ads อัพเดทขยายการแสดงผลไปที่ Gmail [พร้อมวิธี]

Gmail Shopping ads

กลับมาอีกครั้งกับ #DigitalMindHubUpdate วันนี้เรามาพบกับ Google Shopping Ads อัพเดทบ้างครับ ตอนนี้ Google ได้ทำการขยายการแสดงผลของ Standard Shopping campaigns ให้สามารถเข้าถึง Gmail ได้ด้วย

โดยจะเริ่มให้ใช้กันในเดือนนี้ มีนาคม 2020 โดยการแสดงผลของ Shopping Ads ที่แสดงผลใน Gmail จะถูกนำข้อมูลรีพอร์ทไปอยู่ภายใต้ GDN Network

ถ้าเราเลือก “YouTube, Gmail, and Discover.” ในส่วนของ Network มันจะออโต้เอาเราไปแสดงผลที่ Gmail เอง

Google Standard Shopping Campaign Network

สำหรับใครที่มีเซ็ทและรัน Standard Shopping Campaign ไว้อยู่แล้ว ให้เข้าไปปรับได้ที่

  • คลิก Standard Shopping campaign ที่เราต้องการปรับ
  • คลิกแท็บ Setting ระดับ Campaign
  • ตรง Networks ให้เลือก “YouTube, Gmail, and Discover.”

แค่เราเลือกช่องตรงนี้ โฆษณา Shopping campaign ของเราก็จะถูกนำส่งไปที่ Gmail เป็นที่เรียบร้อย

สำหรับใครที่กำลังสร้าง Standard shopping campaign ในส่วน Network ที่ให้เลือกพวกนี้จะอยู่ในตอนสร้าง Campaign นั้นแหละครับ ถ้าไม่อยากแสดงใน Gmail, Youtube, Discover

ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร
เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย

Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)

 

อ่านบทความ Digital Marketing อื่นๆเพิ่มเติม

เว็บไซต์ Google Ads

วิธีสมัคร Google Ads สมัครยังไง? พร้อมวิธีตั้งค่าเบื้องต้น

วิธีสมัคร Google Ads หรือ Google AdWords นั้น สิ่งสำคัญที่เราต้องมีและขาดไม่ได้ก็คือ Gmail ไม่ว่าเราจะใช้ product อะไรของ Google ก็แล้วแต่ เราก็ต้องมี Gmail ทั้งสิ้น

เมื่อทุกคนมี Gmail กันแล้ว ให้เข้าที่หน้าเว็บ >> ads.google.com

เว็บไซต์ Google Ads

หลังจากนั้นก็จะนำเราเข้ามาสู่หน้าแรกของเว็บไซต์ ลองสังเกตที่มุมขวาล่าง เราสามารถโทรปรึกษากับทาง Google Support ได้ในการเซ็ทแคมเปญเบื้องต้น

และในการปรึกษาระยะยาว เราจะต้องใช้เงินขั้นต่ำวันละ 200 บาท เพื่อเปิดฟีเจอร์ในการปรึกษาสอบถามวิธีทำจาก Google ได้

ให้ทุกคนที่ปุ่ม “เริ่มเลย” สีน้ำเงิน

หน้า Login Gmail ก่อนเข้า Google Ads

มันก็นำเรามาสู่การล็อคอิน Gmail หลังจากเรากรอกอีเมลและพาสเวิร์ดสำเร็จเรียบร้อยแล้วก็จะนำเรามาสู่หน้าแรกของเครื่องมือ Google Ads

หน้าแรก Google Ads - Smart Campaign Setting

โดยหากเราเลือกเมนู 3 อันดับแรก มันจะนำเราเข้าสู่ระบบ Smart Campaign คือเหมือนเป็นระบบการตั้งค่าโฆษณาสำหรับผู้เริ่มใช้ที่อยากจะลองทำโฆษณาเอง Google Ads ทำ Product นี้ออกมาเพื่อเจาะกลุ่มเจ้าของธุรกิจที่อยากทำโฆษณาเอง แต่ทำไม่ค่อยเป็นไม่ได้มีความเชี่ยวชาญ เพื่อให้ง่ายต่อการตั้งค่าที่สุด

ผมแนะนำให้เลือกไปที่ Switch to Expert Mode แล้วจะนำเราเข้าสู่หน้าแรกของการตั้งค่าแคมเปญ

Google Ads Campaign Objective

โดยเราสามารถกดออกตรง Create an account without a campaign เพื่อเข้าสู้หน้า Interface ของ Google Ads เลย

สมัคร Google Ads เลือกภาษา และ Time Zone

หลังจากนั้นระบบก็จะให้เราใส่ Billing Country, Time zone และค่าเงิน ใส่เรียบร้อยแล้วกด Submit

หน้าจอก่อนเข้าสู่ Interface ของ Google Ads

 หลังจากนั้นก็กด Explore your account ระบบก็จะนำเราเข้าสู่หน้าจอ UI ของ Google Ads

สร้าง Campaign แรก สร้างตรงไหน?

หน้าจอ UI ของ Google Ads - วิธีเข้าสู่การตั้งค่าแคมเปญ

ซึ่งหากเราจะสร้างแคมเปญ เราก็สามารถเข้าไปตรงแท็บ Campaigns ฝั่งซ้ายมือ หลังจากนั้นจึงกดเครื่องหมายบวก(+)สีน้ำเงิน หรือกดตรง + NEW CAMPAIGN ก็ได้เช่นกัน

โดยหากเราเซ็ทแคมเปญตามระบบตั้งแต่แรก ก็จะมีให้เราผูกบัตรเลยทันที แต่ว่าโดยปกติแล้ว ธุรกิจเราส่วนใหญ่ไม่ได้มีแคมเปญแค่แคมเปญเดียว เลยจะสร้างแบบนั้นทีเดียวเสร็จ

อ่านเพิ่มเติม >> เทคนิคและองค์ประกอบโฆษณาทั้งหมดของ Google Ads

ผูกบัตรเครดิต-เดบิต เพื่อรันโฆษณายังไง?

เข้า Billing Setting เพื่อผูกบัตรโฆษณา

วิธีผูกบัตร เพื่อรันโฆษณา Google Ads

ให้เรากดที่รูปประแจ Google Ads Tool & Setting มุมขวาบนที่เขียนว่า Tools & Settings หลังจากนั้นให้เราเข้าที่ Billing setting ก็จะนำเราเข้ามาสู่หน้ากรอกรายละเอียดเกี่ยวกับธุรกิจและบัตรเครดิต

รายละเอียดทั้งหมด รายละเอียดที่จะไปขึ้นในใบเสร็จที่ Google ออกให้เราหลังเราทำการใช้เงินกับทาง Google

 

Business Detail for payment profile

จุดที่ต้องให้ความสนใจคือตรงเมนู Dropdown: Account type > Business และ Individual

หากใช้ Business การให้ Account สามารถเพิ่มคนที่มีอำนาจจ่ายเงินหลายๆคน ตั้งเงื่อนไขได้หลายแบบ เช่นเชิญพนักงานบัญชีเข้ามาในส่วนนี้ให้รับอีเมลแจ้งเตือน หรือสามารถตั้งให้ลูกน้องมีสิทธิ์ในการเติมเงินแทน เป็นต้น

แต่หากเป็นฝั่ง Individual จะไม่สามารถให้อำนาจคนอื่นในการบริหารจัดการเงินได้

แนะนำว่าให้เลือก Account type: เป็น Business ไปเลย เพื่อลดปัญหาที่จะตามมาทีหลัง ในอนาคตหากขยายสเกล เริ่มมีทีมงาน จะได้สามารถชวนให้เข้ามาบริหารจัดการเกี่ยวกับเงินได้ ไม่เช่นนั้น ต้องไปสร้างบัญชีโฆษณาใหม่หมดเลย

เลือกรูปแบบการจ่ายเงินและผูกบัตร

จุดที่สองที่ต้องให้ความสนใจคือตรงเมนู How you pay: > Automatic Payment และ Manual Payment

หากเลือก Automatic Payment คือเหมือน Google ให้เรายืมเงินก่อนแปปนึง แล้วค่อยมาตัดเงินเราเมื่อครบยอดตามที่ Google กำหนด หรือครบกำหนด 30 วัน แล้วแต่ว่าอะไรเข้าเงื่อนไขก่อน Automatic Payment จะมีความสะดวกสบายไม่ต้องมาเติมเงินบ่อยๆ แต่ก็จะเพิ่มมาในเรื่องของความเสี่ยงที่ต้องระวังคือโฆษณาใช้เงินพลาด

แต่หากเลือก Manual Payment คือเป็นการที่เราเติมเงินเข้าไปในระบบก่อน สำรองเงินค่าโฆษณาก่อน ข้อเสียคือต้องเข้าเติมเงินเองเรื่อยๆ แต่ข้อดีคือ เงินไม่ลั่นแน่นอน นอกจากกดเติมเงินผิด ให้ดูดีๆนะครับ แต่ถ้าพลาดไปก็ให้เรากด Cancel Account ตรงเมนู Preferences แล้วรอ 1-2 อาทิตย์ ก็ได้เช่นกัน แต่การเป็นปิดบัญชีทิ้ง แล้วเราไปเริ่มสร้างบัญชีใหม่

ที่เหลือก็ผูกบัตรแล้ว ติ๊กเลือกยอมรับเงื่อนไขของ Google หลังจากนั้นกด Submit เป็นอันเสร็จสิ้นการสมัครบัญชี Google

ก่อนจากกันไป ทิ้งท้ายนิดนึง

ในกลุ่มพวกทำโฆษณาชอบพูดกัน 0 ผิดชีวิตเปลี่ยน ดังนั้นรีเชคดีๆ 0 เกินมาตัวนึง จากหนึ่งหมื่น กลายเป็นหนึ่งแสน ได้ง่ายๆเลยครับ ทั้งในการตั้งงบประมาณรายงาน(Daily Budget)ที่ระดับ Campaign และการตั้ง Max. CPC ที่ระดับ Ad group และ Keywords โดยเฉพาะงบประมาณรายวัน(Daily Budget)*

ขอให้สนุกกับการตลาดออนไลน์ 🙂

ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร
เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย

Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)

 

อ่านบทความ Digital Marketing อื่นๆเพิ่มเติม

Google Ads คืออะไร คู่มือการทำ Google Ads

Google Ads(Google AdWords)คืออะไร? คู่มือการทำโฆษณาบน Google Ads(เทคนิค)

  • Google Ads คืออะไร คู่มือการทำ Google Ads

Google Ads(Google AdWords) คือเครื่องมือการโฆษณาของ Google ซึ่งประกอบไปด้วยโฆษณา 5 รูปแบบหลัก โดยเครื่องมือที่ดังที่สุดของ Google Ads คือ Search ads หรือเครื่องมือรูปแบบการค้นหา ซึ่ง Google เป็น Search Engine อันดับ 1 ของโลก เป็นช่องทางที่แทบทุกคนในไทยใช้งาน ทั้งเวลาต้องการหาสินค้า หรือไม่ว่าจะมีปัญหา หรือต้องการคำตอบเรื่องอะไร ก็ต้องมาที่ Google Search Engine

ไม่ว่าธุรกิจไหนๆก็ต้องใช้โฆษณา Google Ads เกือบทั้งสิ้น ซึ่งโฆษณาแต่ละรูปแบบก็มีลักษณะการใช้งาน, จุดประสงค์ของการโฆษณาและการแสดงผลที่แตกต่างกัน ทั้งแสดงผลในหน้า Search Engine ของ Google, แสดงผลในเว็บไซต์พาร์ทเนอร์และเว็บไซต์ Youtube.com

หากใครยังไม่มีบัญชีโฆษณา > วิธีสมัครบัญชี Google Ads

 

Google Ads ทั้ง 6 รูปแบบมีอะไรบ้าง แล้วแสดงผลที่ไหน?

1. Search Ads หรือรูปแบบการค้นหา

Google Ads(Google AdWords)คืออะไร? ตัวอย่างการแสดงผลโฆษณา Google Search Ads 

Search Ads หรือที่เรียกว่า Paid Search คือโฆษณารูปแบบการค้นหา โดยมีลักษณะให้เราทำการซื้อคีย์เวิร์ด แล้วเมื่อมีคนค้นหาผ่าน Search Engine เข้ามาตามคีย์เวิร์ดที่เราซื้อ โฆษณาก็จะไปปรากฏบน Search Engine ทันที ซึ่งโฆษณาประเภทนี้ตรงกับเจตนา(Intent)ของผู้ค้นหามากๆ จึงทำให้ปิดการขายได้ง่ายที่สุด มีคุณภาพสูง เพราะผู้ใช้ที่ค้นหาตามคีย์เวิร์ดต่างๆเข้ามา ก็ต้องการซื้อสินค้าหรือบริการอะไรบางอย่างอยู่แล้ว ยิ่งเราสามารถเลือกคีย์เวิร์ดได้ตรงจุดมากเท่าไหร่ ก็จะส่งผลต่อ Conversion rate หรือการปิดการขายได้ง่ายขึ้น

2. GDN หรือ Google Display Network

GDN(Google Display Network)คือโฆษณารูปแบบแบนเนอร์ไปแสดงในจุดต่างๆทั้งเว็บไซต์พาร์ทเนอร์ของ Google อย่างในไทยก็จะเป็นพวก sanook.com, kapook.com, matichon.co.th, khaosod.com ฯลฯ และยังแสดงผลใน youtube.com อีกด้วย

ตัวอย่างการแสดงผลโฆษณา GDN(Google Display Network) ตัวอย่างการแสดงผลโฆษณา GDN(Google Display Network)ในเว็บไซต์ Publisher

จากภาพข้างต้นจะเห็นว่ามุมขวาของแต่ละช่องการแสดงผลจะมีเครื่องหมาย 2 รูปแบบ แบบแรกคือวงสีน้ำเงิน สัญลักษณ์แบบนี้จะเป็นโฆษณาของ Google โดยตรง ส่วนวงสีส้มจะเป็นโฆษณาของ Adchoices ซึ่งเป็นพาร์ทเนอร์ของ Google

GDN ยังมีประเภทแยกย่อยไปอีก 3 ประเภทก็คือ

        1. โฆษณาแบบแบนเนอร์ทั่วไป เหมือนตัวอย่างข้างบน
        1. Gmail ads คือโฆษณาที่ไปแสดงผลในส่วนของ Gmail
        1. Lightbox ads คือโฆษณาที่เน้นให้คนมา Engage กับแบรนด์เพื่อรับข่าวสารหรือโปรโมชั่นเพิ่มเติม ไม่เน้นสร้าง Click เข้าสู่เว็บไซต์ ซึ่งแสดงผลใน Slot อันเดียวกับ GDN แบบธรรมดา

3. Video Ads หรือ Youtube Ads

Video Ads(Youtube Ads)คือโฆษณาในรูปแบบวิดีโอที่มีการแสดงผลในเว็บไซต์ youtube.com และเว็บไซต์เครือข่ายพาร์ทเนอร์ต่างๆ โดย Youtube Ads ก็จะแบ่งเป็นโฆษณาย่อยๆอีกอีกหลายรูปแบบ ทั้งรูปแบบกดข้ามได้และกดข้ามไม่ได้

ตัวอย่างโฆษณา Youtube Ads รูปแบบ TrueView in-stream ads(Skippable ads) ตัวอย่างโฆษณา Youtube Ads – รูปแบบ TrueView in-stream ads(Skippable ads) แบบกดข้ามได้

4. Universal App Campaign หรือ Universal App Install Campaign

Universal App Campaign หรือ Universal App Install Campaign คือการโฆษณาเพื่อให้คนมาติดตั้งแอพพลิเคชั่น หรือโฆษณาหาคนเพื่อสร้างยอดสั่งซื้อในแอพฯ โดยจะแสดงผลใน Play Store, Search engine, Youtube, Publisher, Admob เป็นต้น

ตัวอย่างโฆษณา Universal App Campaign 

5. Shopping Ads หรือ Google Shopping Campaign

Shopping Ads คือโฆษณาที่แสดงผลในหน้าการค้นหา Search engine เช่นกัน โดยจะมีลักษณะแสดงเป็นการ์ดรายการสินค้าพร้อมรายละเอียด ราคา เว็บไซต์ คำอธิบาย โดยจะแบ่งเป็น Showcase Shopping ads และ Product Shopping ads ซึ่งในไทยของเราตอนนี้จะมีแค่ Product Shopping ads

ตัวอย่างโฆษณา Google Shopping Ads

6. Discovery Ads

Discovery Ads คือโฆษณาที่แสดงผลในแอพพลิเคชั่น Google หรือที่เรียกว่า Google Discover Feed มีลักษณะเป็นหน้าข่าวให้เราเสพ content เนื้อหาโฆษณามีลักษณะเป็น Native ads เนียนไปกับเนื้อหา Content

Discovery Campaign Surface

Discovery ads บนหน้า Youtube Home Feed, Google Discover Feed และ Gmail promotions tab.

 
หากเราหยิบเครื่องมือของ Google Ads ต่างๆมาใช้งานให้สอดคล้องกับ Buyer Journey ของลูกค้า ก็จะทำให้เราได้ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น
 

Campaign Structure โครงสร้างดี ต้นทุนลด ผลลัพธ์เพิ่ม

ไม่ว่าเราจะทำโฆษณาช่องทางไหนก็ตาม เราก็ต้องรู้จักกับโครงสร้างของบัญชีนั้นๆ ซึ่งการที่เราเข้าใจวิธีการวางโครงสร้างอย่างเป็นระบบ ก็จะทำให้เราสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น ผลลัพธ์โฆษณาดีขึ้น มีการทับซ้อนและการประมูลราคาแข่งกันเองของคีย์เวิร์ดน้อยลง

Search Ads - Campaign Structure

  • โดยโครงสร้างของแคมเปญ Google Ads นั้น ใน 1 บัญชีโฆษณาจะบรรจุไปด้วยหลายๆ Campaign
  • ใน 1 Campaign ประกอบไปด้วยหลายๆ Ad group
  • และใน 1 Ad group จะบรรจุไปด้วยหลายๆ Keywords และหลายๆ Ads
 
ตัวอย่างโครงสร้างแคมเปญ Search ads Campaign

ตัวอย่างการวางโครงสร้างร้านอุปกรณ์การแพทย์

โดยการแบ่ง Campaign และ Ad group นั้นเราจะแบ่งกันตามลักษณะของ Keyword จากภาพจะเห็นได้ว่าสินค้า 1 ประเภท สามารถมีคำค้นหาได้หลายรูปแบบมากๆ อย่างที่นอนลม มีทั้ง ที่นอนลม, เตียงลม, ที่นอนรังผึ้ง, ที่นอนกันแผลกดทับ ฯลฯ เราต้องทำการแบ่ง Keyword พวกนี้แยกออกจากกัน เพื่อเราจะได้เขียนคำโฆษณาให้สอดคล้องกับ Keyword เพื่อเพิ่ม Quality Score และลดงบประมาณโฆษณานั้นเอง

วิธีการคิดเงินของโฆษณา Google Ads

วิธีการคิดเงินค่าโฆษณาของระบบ Google

การคิดเงินของระบบ Google Ads นั้นมีหลายรูปแบบ อย่างโฆษณา Search และ Shopping Ads รวมถึง GDN ก็จะมีคิดเงินเป็นรูปแบบ CPC(Cost per click) คือเสียเงินเมื่อมีคนคลิกที่โฆษณาเข้าสู่เว็บไซต์เราเท่านั้น

ซี่ง GDN ก็จะมีการคิดเงินอีกรูปแบบคือ CPM(Cost per 1,000 Impression) หรือคิดราคาต่อ1,000 คนที่เห็นโฆษณา คือกำหนดไปเลยว่าเราจะยอมจ่ายเงินที่เท่าไหร่ ตามจำนวนคนเห็นโฆษณา 1,000 ครั้ง

ส่วน Youtube Ads หรือ Video Ads นั้นจะมีระบบการคิดเงินเป็นรูปแบบ CPV(Cost per view) ราคาต่อ 1 view กับคิดเงินเป็น CPM เช่นกัน

 

Keyword Planner เครื่องมือหาไอเดียคีย์เวิร์ด

ตัวอย่างการใช้งาน Keyword Planner 

เครื่องมือสำคัญที่คนทำโฆษณาช่องทาง Google Ads ต้องใช้งานคือ Keyword Planner ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับใช้ในการช่วยหาไอเดียคีย์เวิร์ด โดยมีลักษณะการใส่คำที่เราคีย์เวิร์ดที่เราคิดได้ลงไป สูงสุด 10 คำ โดยจะช่วยหาคำต่างๆมาให้เพิ่มเติม

เราสามารถใช้ Keyword Planner ในการวิเคราะห์หาไอเดียคีย์เวิร์ดแล้ว เรายังสามารถใช้เพื่อดูจำนวนการค้นหาต่อเดือน(Search Volume) และใช้เพื่อประมาณราคาตอนตั้งค่า Max CPC ตอนเริ่มต้นของแคมเปญได้

 

Keyword Match types คืออะไร?

Keyword Match type คือการใส่เครื่องหมายเพิ่มเติมในคีย์เวิร์ด เพื่อสร้างเงื่อนไขในการที่คำค้นหาต่างๆจะมาติดคีย์เวิร์ดที่เราซื้อเพื่อให้โฆษณาแสดงผล

เมื่อเราได้ไอเดียการซื้อคีย์เวิร์ดมาจาก Keyword Planner แล้ว สิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญก็คือ Keyword Match types ซึ่งในส่วนนี้จะส่งผลต่อผลลัพธ์และงบประมาณค่าโฆษณา หากเราเลือกใช้ Match types ได้ถูกต้อง ค่าโฆษณาของเราก็ต้องถูกลง ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น โดย Keyword Match type มีด้วยกันทั้งหมด 4 รูปแบบ คือ

1. Broad match คือคีย์เวิร์ดรูปแบบนึงที่เราไม่ต้องใส่เครื่องหมายอะไรให้คีย์เวิร์ดนั้นๆเลย โดยรูปแบบการทำงานของ Match type ประเภทนี้คือ การไปจับหาคำค้นหาอะไรก็แล้วแต่ที่ระบบคิดว่าใกล้เคียงกับคำที่เราซื้อ เช่น ถ้าคุณซื้อคีย์เวิร์ดคำว่า บ้าน พิษณุโลก คำค้นหาคำว่า ที่ดิน พิษณุโลก ก็สามารถมาติดเราได้เช่นกัน

2. Broad match modiflier คือคีย์เวิร์ดที่แคบรองลงมาจาก Broad match อีก โดย Match type ประเภทนี้ใช้เครื่องหมายบวก(+) เป็นสัญลักษณ์ในการสร้างเงื่อนไขของคำที่จะมาติด เช่นเราขายสินค้า เฟอร์นิเจอร์ไม้ แล้วเราซื้อคีย์เวิร์ดคำว่า +เฟอร์นิเจอร์ +ไม้ คำค้นหาที่สามารถมาติดเราได้อย่างเช่น เฟอร์นิเจอร์เก้าอี้ไม้, สั่งทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ และ เฟอร์นิเจอร์ไม้ราคา คำค้นหาที่เข้ามาติดจะมารูปแบบเข้ามาต่อหรือแทรกทั้ง กลาง, หน้า และหลัง

3. Phrase match คือคีย์เวิร์ดที่แคบรองลงมาจาก Broad match modiflier โดย Match type ประเภทนี้จะใช้เครื่องหมายฟันหนู “Keyword” เขียนก่อนเริ่มคีย์เวิร์ดและปิดคีย์เวิร์ดท้ายคีย์เวิร์ด โดยลักษณะของการทำงานของคีย์เวิร์ดเป็นดังนี้ เช่นเราซื้อคีย์เวิร์ดคำว่า “รองเท้า Nike” คำที่สามารถมาติดเราได้อย่างเช่น รองเท้า Nike สีดำ, เว็บขายรองเท้า Nike และ สั่งรองเท้า Nike Lazada จะสังเกตได้ว่าเงื่อนไขของ Phrase match คือไม่ว่าคำค้นหาต่อหน้าและหลังคีย์เวิร์ดที่เราซื้อคืออะไรให้เอามาให้หมด แต่จะไม่มีคำที่มาแทรกตรงกลางภายในเครื่องหมาย “..”

4. Exact match คือคีย์เวิร์ดที่ถือว่าแคบที่สุดเป็น โดยเป็น Match type ที่ใช้เครื่องหมายวงเล็บแบบ [Keyword] โดยเงื่อนไขของ Exact match คือต้องเหมือนกับคีย์เวิร์ดที่เราซื้อเป๊ะๆ ห้ามมีอะไรต่อหน้าและหลัง เช่น ถ้าเราซื้อคีย์เวิร์ด [เมล็ดพันธุ์พืช] คำค้นหาที่จะมาติดคีย์เวิร์ดเราได้ เช่น เมล็ดพันธุ์พืช หรือ เมล็ดพันพืช ก็สามารถมาติดได้เช่นกัน

 

ระบบการประมูล Google Ads Auction

วิธีการคำนวณตำแหน่งการแสดงผล Ad Rank

วิธีคำนวณ Ad Rank ของระบบ Google Ads

ก่อนที่ระบบของ Google จะดึงโฆษณาของใครไปแสดงผลนั้น ระบบก็มีการคำนวณคะแนนมาจากหลายๆส่วน ส่วนแรกที่ทุกคนน่าจะทราบกันดีก็คือ ราคาต่อคลิก(CPC; Cost per click) หรือที่เรียกว่า Bid หรือ Bidding นั้นเอง

ส่วนที่สองก็คือ Quality Score หรือคะแนนคุณภาพของโฆษณาเรานั้นเอง โดย Quality Score ก็จะคำนวณความเกี่ยวข้องตัวโฆษณาและความเกี่ยวข้องของเว็บไซต์ ว่าเกี่ยวข้องกับ Keyword มากน้อยแค่ไหน

ซึ่งเมื่อนำ CPC มาคูณกับ Quality Score ก็จะได้เป็น Ad Rank ออกมา ก็คือตำแหน่งของเรานั้นเอง จากภาพข้างต้นจะสังเกตได้ว่าผู้ลงโฆษณาที่มี Quality Score สูงนั้น จะมีตำแหน่งที่ดี ในราคาที่ต่ำมากๆ

 

รูปแบบโฆษณาของโฆษณา Search Ads

โดยรูปแบบการโฆษณาของ Google รูปแบบ Search ads จะมีโฆษณา 3 รูปแบบหลักๆ

ตัวอย่างโฆษณา Google Search - Expanded Text ads

1. Expanded text ads คือโฆษณาแบบทั่วไป มี Headline 3 อัน, Description 2 อัน โดย Headline แต่ละอันจะมีความจุสูงสุด 30 ตัว ส่วน Description มีความจุที่ 90 ตัว ซึ่งวิธีการเขียนคำโฆษณานั้น ต้องเขียนให้สอดคล้องกับคีย์เวิร์ดที่เราซื้อด้วย เพื่อมี Quality Score ที่ดี

ตัวอย่างการตั้งค่า Responsive Search Ads

ตัวอย่างตอนสร้าง Responsive Search ads

2. Responsive search ads คือโฆษณารูปแบบใหม่ที่การสลับการแสดงผลให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยจะใส่ Headline ได้ 15 รูปแบบ และใส่ Description ได้ 4 รูปแบบ โดยระบบจะทำการสลับการแสดงผลไปมา โดยยึดข้อความที่จะดึงมาแสดงผลเข้ากับคีย์เวิร์ดของผู้ใช้ หลักสำคัญคือการกด pin ที่ Headline และ Description ต่างๆไม่ให้มันสลับความหมายมั่วไปมา

โดยหลักการสร้างโฆษณานั้นให้สร้าง Expanded text ads อย่างน้อย 2 โฆษณา และ Responsive search ads 1 โฆษณา

 

3. Dynamic search ads คือโฆษณารูปแบบที่เราไม่ต้องใส่คีย์เวิร์ดเข้าไปในแคมเปญ ระบบไปจับหาคำ Landing page ที่มีคำใกล้เคียงกับคำค้นหามาให้ แล้วดึงข้อมูลสินค้าจากในเว็บขึ้นมาแสดงให้ ส่วนใหญ่จะได้ใช้ในเว็บไซต์ E-Commerce

 

Landing page ตัวแปรสำคัญการทำโฆษณา

ตัวอย่าง Landing page ของ Geekster Digital

โฆษณาช่องทาง Google Ads การ Targeting และการคิดคีย์เวิร์ดให้เจาะจงพร้อมปิดการขายนั้นสำคัญมากๆ แต่หากส่งคนมาแล้วตัวเว็บไซต์ที่ส่งคนมานั้น ไม่มีข้อมูลที่สามารถจูงใจลูกค้าได้ ไม่มีรีวิว ไม่มีเนื้อหาชวนเชื่อ ไม่น่าเชื่อถือไม่สวยงาม ใช้งานยาก อ่านยาก ก็อาจทำให้ลูกค้าไม่ตัดสินใจซื้อ ซึ่งการมี Landing page ที่ดี ก็ช่วยในเรื่องของการปิดการขายได้ง่ายขึ้น

 

การใช้ Bid Adjustment ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพแคมเปญ

Google Bid Multiplier หรือ Bid Adjustment 

Bid Multiplier หรือ Bid Adjustment คือส่วนนึงที่สำคัญสำหรับการทำแคมเปญโฆษณา Google Ads มากๆ Bid Multiplier คือการเพิ่มและลดส่วนต่างๆที่ต้องการเน้นและไม่ต้องการ โดยการเพิ่ม-ลดเป็นเปอร์เซ็น

ซึ่งในส่วนต่างๆที่สามารถทำการใช้งาน Bid Multiplier คือส่วนของ Demographics คือเพศ ช่วงอายุ, Ad Schedule คือช่วงเวลา, Location คือพื้นที่เป้าหมายที่เราเลือก และ Devices คือเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ tablet, smartphone และ PC ซึ่งเราสามารถทำการเน้น-ลด ส่วนต่างๆพวกนี้ได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพแคมเปญมากขึ้น

 

Metrics พื้นฐานที่ต้องรู้

Impressions คือ จำนวนครั้งที่โฆษณาได้ทำการแสดงผล ไม่ว่าผู้ใช้จะเห็นเราจริงๆหรือไม่ก็ตาม เช่นหากเรา Bid ต่ำเกินไปจนอันดับไปอยู่ 4-5 ก็อาจส่งผลให้โฆษณาของเราถูกนำไปแสดงด้านล่างของหน้าแรก จนทำให้ผู้ใช้ไม่ได้เลื่อนลงมาข้างล่าง ทำให้ไม่เห็นโฆษณาจริงๆ ซึ่งส่วนนี้ก็จะถูกมานับเป็น Impression ด้วยเช่นกัน

Clicks คือ จำนวนครั้งที่โฆษณาได้ถูกคลิก ในส่วนนี้จะนับทันทีเมื่อเกิดการคลิก หากผู้ใช้คลิกที่โฆษณาแล้วเว็บไซต์โหลดช้า ทำให้ผู้ใช้ออกไปก่อนในส่วนนี้ก็จะถูกนับเป็นคลิกด้วยเช่นกัน

CTR(Click through rate) คือ อัตราการคลิกโฆษณาจากการแสดงผลทั้งหมด โดยคิดจากนำ Click หารด้วย Impression เช่นหาก CTR 10% ก็คือทุกๆการแสดง 100 ครั้ง จะเกิดการคลิก 10 ครั้ง เป็นต้น

Avg. CPC หรือ Average Cost per Click คือ ราคาเฉลี่ยต่อการคลิก 1 ครั้ง ซึ่งในหนึ่งวัน การคลิกแต่ละครั้งราคาอาจจะไม่เท่ากันเลย ซึ่งตรงนี้ก็จะแสดงเป็นราคาโดยเฉลี่ย ซึ่งเราสามารถกำหนด CPC ได้ที่ระดับ Ad group และระดับ Keywords

Conversions คือจำนวนการเกิดสิ่งที่เป็นผลลัพธ์ทางโฆษณาที่เราต้องการเช่น การกรอกรายชื่อ เบอร์โทร อีเมลไว้, การแอดไลน์, การกดโทรหาธุรกิจ, การ Add to cart หรือการซื้อสินค้า เป็นต้น

ซึ่งหากในเว็บไซต์มี Conversion หลายรูปแบบเราก็สามารถตั้งให้แคมเปญทำการ Optimize เน้นจุดหลักๆสำคัญได้ เช่น มีการสั่งซื้อ, การกด Add to cart และการทิ้งอีเมลเพื่อติดตามข่าวและโปรโมชั่น เราอาจเลือกการสั่งซื้อเป็นเป้าหมายหลักของเรา แล้ว Add to cart กับ Email Subscribe เป็น เป้าหมายลองก็สามารถทำได้ โดย Conversion จะถูกแบ่งออกมาเป็นสองรูปแบบคือ Conversions และ All Conv.(All Conversions)

Conversion Rate คืออัตราหรือเปอร์เซ็นการเกิด Conversion โดยคิดจากนำ Conversion หารด้วย Click อธิบายให้เข้าใจง่ายมากขึ้นคือ หลังจากเกิดคลิกแล้ว สามารถแปลงเป็นการเกิด Conversion ได้กี่เปอร์เซ็น เช่น ถ้า Conversion Rate 1% คือทุกๆ 100 คลิก เราจะเกิด 1 Conversion เป็นต้น

 

การทำ Remarketing และ RLSA(Remarketing list for search ads)

ตัวอย่างการทำงานของ Remarketing

Remarketing คือการทำโฆษณากลับไปหาคนที่สนใจสินค้าของเรา เคยเข้าเว็บไซต์เราแล้ว แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจสั่งซื้อสินค้า หรือยังไม่ได้เกิด Conversion ที่เราต้องการ เราก็จะทำการโฆษณากลับไปหาคนกลุ่มนี้เพื่อดึงให้กลับมาสร้าง Conversion

Facebook Ads ก็สามารถทำ Remarketing ได้เช่นกัน [อ่านเพิ่มเติม]

RLSA(Remarketing list for search ads) คือการเน้นการแสดงผลโฆษณาช่องทาง Search ads มากขึ้น หากคนที่เคยเข้าเว็บเราแล้ว มาค้นหาคำต่างๆที่เราซื้อคีย์เวิร์ดไว้

โดย Audiences พื้นฐานของ Remarketing ที่ระบบเตรียมมาให้ หรือคนที่ไม่ทำ Conversion Tracking ก็มักจะเป็นการยิงแบบ All Users คือยิงหาทุกๆคนที่เคยเข้าเว็บไซต์ของเรา ทางที่ดีในการทำ Remarketing นั้นคือการกำหนดเงื่อนไขของ Audiences เช่น ยิงกลับไปหาคนที่เคยเข้าเว็บไซต์เราแล้วยังไม่สร้าง Conversions หรือ ยิงโฆษณากลับไปหาคนที่ซื้อสินค้าประเภทนึงไปแล้ว แล้วเราต้องการให้เค้าซื้ออย่างอื่นต่อ เช่นถ้าลูกค้าซื้อสินค้าเคลือบเงาสีรถไปแล้ว เราอาจจะเอาคนกลุ่มนี้มา Remarketing แนะนำสินค้าน้ำยาขัดเบาะรถ แบบนี้ก็สามารถทำได้ หรือการครบรอบสินค้าประเภทนั้นแล้ว เช่น ลูกค้าสั่งโฟมล้างหน้าไป โดยถ้าเราคิดว่าประมาณ 1 เดือนลูกค้าน่าจะใช้หมด พอใกล้ๆครบระยะเวลานั้นเราก็นำคนที่เคยเกิด Conversion ไปแล้วมาทำการ Remarketing อีกครั้งได้

 

วัดผลลัพธ์โฆษณาด้วย Conversion Tracking

การทำโฆษณาช่องทาง Google Ads หรือโฆษณาช่องทางอื่นเกือบทุกรูปแบบนั้น จะไม่มีประสิทธิภาพสูงสุดเลยถ้าขาด Conversion Tracking ไป ซึ่งการทำ Conversion Tracking ในโฆษณารูปแบบ Google Ads นั้นก็จะทำให้ทราบว่า แคมเปญที่เราทำ บรรลุจุดประสงค์โฆษณาต่างๆของเราไปมากน้อยแค่ไหน การคุ้มค่าของการลงค่าโฆษณาไป ว่าคุ้มค่าไหม รวมถึงส่งผลต่อการ Optimize แคมเปญให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จะทำให้เราทราบข้อมูลที่มีคุณค่ากับธุรกิจของเรามากมาย เช่น คีย์เวิร์ดหรือข้อความโฆษณาแบบไหนที่เราเลือกใช้นั้นส่งคนมาที่เว็บไซต์แล้วเกิด Conversion หรืออย่าง ช่วงอายุ, ช่วงเวลา, พื้นที่ และอุปกรณ์สื่อสารแบบไหนที่เกิด Conversion คุ้มค่า หรือไม่คุ้มอย่างไร ก็จะทำให้เราสามารถปรับปรุงแคมเปญของเราต่อได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

โดยการใช้ Conversion ก็ต้องคำนึงถึง Attribution Model ด้วย (อ่าน Attribution Model เพิ่มเติม)

 

การใช้งานร่วมกับ Google Analytics และ Google Tag Manager

การทำงานของ Google Tag Manager ร่วมกับแพลตฟอร์มอื่นๆ

การทำโฆษณาทาง Google Ads นั้น สามารถทำการเชื่อมบัญชีโฆษณาเข้ากับบัญชี Google Analytics ทำให้ข้อมูลจากทั้งสองช่องทาง รวมถึง Metrics สำคัญต่างๆก็จะถูก sync เข้าหากัน คนที่ใช้งานฝั่ง Google Analytics ก็จะสามารถเห็นข้อมูลจาก Google Ads ได้ ทำให้สามารถนำข้อมูลชุดนี้ไปวิเคราะห์ร่วมกับ Media Channel ต่างๆและใน Google Ads ก็จะได้เมทริกซ์จากฝั่ง Google Analytics มาเพิ่ม ทั้งยังสามารถเซ็ท Goal ผ่านช่องทาง Google Analytics และส่งให้มาเป็น Conversion ของ Google Ads ได้เช่นกัน รวมถึงการสร้าง Audiences รูปแบบต่างๆเพื่อนำมาทำโฆษณา Remarketing ต่อได้ ซึ่งสามารถ Segment ได้หลากหลายรูปแบบมากๆ

ส่วน Google Tag manager นั้นใช้เพื่อติดโค้ดต่างๆไม่ว่าจะเป็น Remarketing Code, Google Analytics Code, Conversion Tracking Code และ Facebook Pixel’s ด้วย ฯลฯ รวมทั้งยังสามารถใช้ในการทำ Event Tracking เพิ่มเติม เช่นจำนวนคนคลิกที่เมนูต่างๆในเว็บ จำนวนเท่าไหร่ จำนวนคนที่เลื่อน Scroll เม้าส์ลงมาจุดต่างๆ กี่เปอร์เซ็นกี่คน คนคลิกแอดไลน์ คลิกปุ่มต่างๆกี่คน ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งเราสามารถใช้ Event Tracking มาทำเป็น Conversion ได้ด้วย อย่างการ Track คนแอดไลน์ ก็ต้องใช้ Google Tag Manager ในการช่วยตรงจุดนี้

 

คุณพร้อมหรือยัง?

Google Ads เป็นโฆษณาแบบ Paid Media อีกช่องทางนึงที่น่าสนใจมากๆ เพราะสามารถเห็นผลได้รวดเร็ว มีเครื่องมือให้ใช้หลากหลายรูปแบบ ตอบโจทย์การตลาดได้ตั้งแต่ขั้น Awareness จนถึง Purchase

แต่ไม่ใช่ว่าคุณทำ Google Ads เพียงช่องทางเดียว จะเพียงพอต่อธุรกิจของคุณ การใช้ช่องทางหลายๆร่วมกัน จะส่งผลให้ Media ต่างๆช่วยส่งเสริมกัน ทั้งยังดักคนได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นตัว Facebook ads, Instagram, SEO หรือแม้กระทั่ง Twitter ก็ตาม [เทคนิคการใช้ Google Ads ร่วมกับ SEO]

หากคุณมีเว็บไซต์ที่สวยงามพร้อมเนื้อหาที่น่าสนใจ มีสินค้าที่ดีมีคุณภาพ มีการวางแผนใช้กลยุทธ์ที่ตามหลักที่ถูกต้อง มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ตรงจุด รับรองว่า Google Ads จะเป็นช่องทางที่ทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตขึ้นได้อย่างแน่นอน

 

ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร

เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย

Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)

 

ขอบคุณภาพจาก https://www.wordstream.com

อ่านบทความ Digital Marketing อื่นๆเพิ่มเติม

Discovery Campaign คืออะไร? สำคัญยังไง?

Discovery Ads คืออะไร? โฆษณาแบบใหม่ของ Google Ads ดียังไง?

วันนี้ผมนำอัพเดทใหม่ที่น่าสนใจมากๆ มาฝากทุกคนครับ โดยเดือนที่แล้ว Google Ads ได้ทำการเปิดผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ที่เรียกว่า Discovery Campaign ซึ่งจะเป็น Ad format แบบใหม่อีกรูปแบบนึง และมี Placement ที่แสดงผลแบบใหม่ที่ถือได้ว่าเป็นการพลิกโฉมการโฆษณาของ Google ครั้งใหญ่ เราว่าดูกันดีกว่าว่า Discovery Campaign มันน่าสนใจยังไง?

Discovery Ads คืออะไร?

Discovery Ads หรือ Discovery Campaign คือการโฆษณาอีกรูปแบบนึงของ Google โดยลักษณะโฆษณาจะเป็นรูปแบบ Native คือจะเนียนไปกับเนื้อหาคอนเทนท์ ใน Placement ต่างๆ ซึ่งหลักๆจะแสดงผลในแอป Google หรือที่เรียกว่า Google Discover feed รวมไปถึงจะไปแสดงผลที่ Youtube Home Feed, Social Tab และ Promotion Tab ใน Gmail อีกด้วย

Discovery Campaign Surface Discovery ads บนหน้า Youtube Home Feed, Google Discover Feed และ Gmail promotions tab.

Discover คืออะไร?

มันคือหน้า Feed ที่แสดงผลข่าวสารข้อมูลต่างๆที่เราสนใจในแอพพลิเคชั่น Google App ที่สามารถดาวน์โหลดได้จาก App Store และ Playstore และแสดงผลใน Google.com หน้า Homepage ด้วย แต่สำหรับเข้าทางมือถือนะครับ ซึ่งหน้า Feed ทาง Users สามารถปรับแต่งหน้า Feed ของตัวเองได้ว่าสนใจประเภทเรื่องแบบไหน

เราสามารถปรับแต่งได้ส่วนนึง แต่ Google ก็อาจจะเรียนรู้พฤติกรรมของเราจากเว็บและแอพฯต่างๆด้วย แล้วก็จะทำการจัดส่งเนื้อหาตามความสนใจที่ Google จับจากเราได้ ซึ่งทางบริษัท Google เคลมว่าจะมีคนใช้งานทั่วโลก 800 ล้านคนต่อเดือน

ซึ่งโฆษณา Discovery Ads เค้าจะเน้นไปที่คนที่กำลังค้นหาข้อมูล เช่น ดูข่าวใหม่ล่าสุด, ค้นหาข้อมูลใน Google, เลื่อนดูวิดีโอ หรือกดเข้าไปดูแทบโปรโมชั่น ซึ่ง Google บอกว่า “กลุ่มคนที่มีพฤติกรรมกำลังจะค้นหาสิ่งต่างๆนี้ จะมีโอกาสรับรู้แบรนด์อย่างมาก” กว่า 48% ค้นหาแบรนด์ที่ตัวเองชอบในขณะที่ค้นหาแบรนด์ต่างๆ และกว่า 71% ของผู้บริโภคมักจะมองหาแบรนด์หรือสินค้าใหม่ๆที่ทำให้ชีวิตของเค้าง่ายขึ้น

ซึ่งการ Targeting ก็สามารถทำได้แค่แบบ In-Market, Custom-Intent และแบบการทำ Remarketing และการคิดเงินเป็นรูปแบบ CPC(cost-per-click) โดยการสร้างโฆษณาจะมีลักษณะคล้ายกับ Responsive ads บน GDN Campaign

Discovery ads - Core Assets

ข้อมูลที่ต้องใส่ในโฆษณา Discovery ads

แล้ว Discovery Campaign สำคัญยังไง

Discovery Campaign หรือ Discovery ad เป็นโฆษณารูปแบบใหม่ที่มีลักษณะคล้ายเนื้อหาบนฟีด Facebook มีลักษณะเนียนและขั้นเนื้อหาต่างๆ และในส่วนของการกำหนด Targeting กลุ่มเป้าหมายที่อิงจากความสนใจ ไม่ใช่การซื้อคีย์เวิร์ดแบบตอนแรก ลักษณะก็จะคล้ายๆกับ Facebook ads ที่มีการ Targeting โดยใส่ Interest เอา

โฆษณาสามารถใส่รูปภาพและข้อความได้คล้ายโฆษณา GDN แต่การแสดงผลนั้นไปแสดงผลในขณะผู้ใช้กำลังมีพฤติกรรมค้นหาข้อมูลผ่าน Search Engine อย่าง Youtube.com และ Google.com ที่กำลังจะแปลงร่างให้มีฟีดไปในตัว(ตอนนี้เฉพาะโทรศัพท์มือถือ)

นี้จึงเป็นจุดที่น่าสนใจมากๆว่าช่องทางการโฆษณาอย่าง Discovery Campaign นี้ จะกลายเป็นช่องทางหลักที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจแค่ไหน หลังจากพลาดจากการทำ Social Media Platform อย่าง Google+ ซึ่งผมมองว่าน่าจะกลายเป็นอีกโซลูชันส์นึงที่สำคัญสำหรับการทำการตลาด แต่ยังไงพึ่งมาใหม่ คนยังใช้ไม่เยอะ ค่าโฆษณาก็ยังถูกอยู่ครับ

ขอบคุณที่อ่านมาถึงตรงนี้นะครับ ถ้าชอบและมีประโยชน์ ฝากแชร์เพื่อเป็นกำลังใจให้ผู้เขียนด้วยน้าา แล้วเจอกันบทความถัดไปครับ 🙂


ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย

Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)

 

ที่มา:
https://searchengineland.com/google-discovery-campaigns-discover-feed-316920

Performace Planner ฟีเจอร์ใหม่

Performance Planner ฟีเจอร์ใหม่จาก Google พร้อมวิธีใช้งาน

Performance Planner คือ Tools ที่ใช้ในการคาดการณ์ผลลัพธ์ที่เราต้องการ โดยการใช้ข้อมูลที่เราเคยทำได้ มาคาดการณ์ผลลัพธ์ เช่น หากเราต้องการ Conversions จำนวน 30 Conv. จากข้อมูลที่ผ่านมาแล้ว เราจะต้องใช้เงินเท่าไหร่ จากประวัติ Conversion Rate เท่านี้ เราจะมี CPA(cost-per-acquisition)ที่ราคาเท่าไหร่ เป็นต้น

Performance Planner พื้นฐานการใช้งาน?

หลังจากที่เปิดเข้ามาที่ Performance Planner หลักๆเลยจะมีให้เลือก 2 เมทริกซ์ว่าเราจะดูเมทริกซ์ไหน 1. Clicks และ 2. Conversions ซึ่งแต่ละตัวเราก็จะสามารถเลือก Target ที่เราต้องการโฟกัสได้ อย่าง Clicks นั้นก็จะมีส่วนที่โฟกัสได้คือ clicks, spend หรือ average CPC แต่ถ้าเลือก Conversion เป็นคีย์เมทริกซ์ก็จะสามารถเรื่อง Target ได้คือ conversions, spend หรือ average CPA

Budget Planner - Starter Menu

Plan Forecast
ซึ่งเมื่อเราเลือก Target นั้นก็จะมีจำนวนตัวเลขให้ใส่ว่าเราต้องการ Target จุดต่างๆที่ประมาณเท่าไหร่ สามารถใส่ตัวเลขเองได้เลย หรือเลือกจาก Previous period conversions หรือ Same time last year conversions ซึ่งของผมไม่สามารถเรื่องสองอันนี้ได้เพราะบัญชีนี้เพิ่งรันยังไม่ถึงเดือน ซึ่งผมก็ได้ลองใส่ไปเล่นๆว่าต้องการ 18 Conversions

หลังจากเซ็ทตัวแปรที่เราต้องการดูแล้ว Google จะทำการสร้าง Budget Plan ให้เราดู โดยจะมี Forecast Chart ให้เราดูซึ่งมีจุดสองจุดในชาร์ท จุดแรก “จุดสีเทา” คือเราไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร ใช้การตั้งค่าเดิมของแคมเปญ จุดที่สอง “จุดสีน้ำเงิน” คือบอกว่าถ้าเราเปลี่ยนแปลงแคมเปญตามจุดต่างๆ จะมีผลต่อคีย์เมทริกซ์ของเราอย่างไร(Clicks หรือ Conversions)

นอกจาก Target ที่เราสามารถใส่ได้เองนั้น เราสามารถคลิกตามจุดในชาร์ทได้ ผลลัพธ์ด้านล่างก็จะเปลี่ยนตามจุดที่เราคลิก อย่างตัวอย่างตามภาพนั้นจุดสีน้ำเงิน หรือ Target ที่ผมเลือกนั้นบอกว่าถ้าผมใช้เงิน 22,900 บาท ผมจะได้ 18 Conversions และมี Average CPA ที่ 1,270 บาท (ต้องใส่ Conversion rate โดยประมาณตอนเริ่มด้วย)

Budget Planner - Plan Forecast

โดยด้านขวาของชาร์ทจะมีแถบ Forecast ที่สามารถเลือกได้ว่าเราจะโฟกัสที่จำนวนหรือราคา อย่างของผมคีย์เมทริกซ์ที่ผมเลือกคือ Conversion ผมก็จะมีแถบที่เลือกได้สองอันคือ “Most conversions for spend” หรือ “Lowest avg. CPA for spend”

และด้านล่างสุดจะมีชื่อแคมเปญของเราที่บอกว่าการตั้งค่าของเราตอนนี้มีใช้เงินเท่าไหร่ มี Conversions หรือ Clicks เท่าไหร่ Cost per Result เท่าไหร่ ซึ่งก็จะมีให้ดูเพิ่มเทียบกันว่าแล้วตามแพลนหรือจุดน้ำเงินที่เราเลือกนั้นจะมีผลลัพธ์ต่างๆเท่าไหร่ ซึ่งเราสามารถ “คลิกที่ชื่อแคมเปญ” แล้วจะมีแถบด้านขวาสุดเพิ่มออกมาตามภาพด้านบน ซึ่งสามารถใส่คีย์เวิร์ดเพิ่มเติมได้ จากที่ผมลองใส่เพิ่มนั้น ยังแสดงผลว่า Failed to retrieve forecasts อยู่

Budget Planner - Compare

Compare tab
หลังจากคลิกแถบ Compare มาแล้วนั้นก็จะมี Bar Chart ให้เราดูเปรียบเทียบ 3 ส่วน 1. Overall spend 2. Total conversions 3. Avg. CPA โดยสามารถเลือกเทียบกับช่วงเวลาที่ผ่านมาด้านขวาที่แถบ Past performance

โดยการใช้งานใน Performance Planner นั้น แคมเปญต้องมีข้อมูลระดับนึงแล้วจึงสามารถใช้งานได้ จะทำให้ไม่สามารถดู Performance Planner ได้ทุกแคมเปญ

โดยทาง Searchengineland ได้บอกวิธีคำนวณการ Forecast คร่าวๆที่ Google แจ้งไว้ว่า

  • การ Forecasts นั้นจะอัพเดททุกๆ 24-48 ชั่วโมง โดยจะอัพเดทจากประวัติการใช้งานแคมเปญ รวมถึงข้อมูลการเสนอราคาประมูล(auction)
  • ในการเรื่องช่วงเวลามาเปรียบเทียบนั้น ต้องคำนึงถึงช่วงวันหยุดและปริมาณการเข้าชมตาม Seasonal ต่างๆด้วย ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ
  • Google บอกว่าการ Forecasts จะแม่นยำมากขึ้น ยิ่งใกล้ถึงวันเริ่มต้นที่จะถึง

ในตอนแรกที่มีการปล่อยฟีเจอร์นี้มีการใช้ชื่อ Budget Planner แต่ตอนหลังก็ได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็น Performance Planner ซึ่งหลักๆ Tools นี้ไม่ได้แค่ใช้ในเรื่องการเห็น Budget ที่เราต้องใช้เพียงอย่างเดียว หากเราต้องการ Result เท่านั้นเท่านี้ มันยังใช้คาดการณ์ได้ เช่น ถ้าเราทำการ Optimize เพิ่ม Conversion Rate ผลลัพธ์ CPA แคมเปญเราจะเป็นยังไง, หากเราทำการเพิ่มคีย์เวิร์ดนี้ลงไป ผลลัพธ์จะเพิ่มเติมมาเป็นยังไง หรือหากเราทำการลด Target CPA ลง Budget กับจำนวน Conversions เราจะเหลือเท่าไหร่ ซึ่งใช้ดูเป็นแนวทางได้แม่นระดับนึง เพราะว่ามีการเอาข้อมูลเก่ามาคำนวณด้วย ซึ่งจะต่างจาก Forecast Tools ของ Keywords Planner ที่จะใช้สำหรับก่อนเริ่มแคมเปญ แต่อันนี้คือมีข้อมูลระดับนึงแล้วจึงคาดการณ์ขั้นต่อไป

หวังว่าทุกคนจะชอบนะครับ แล้วเจอกันบทความถัดๆไปครับ
ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร
รวมถึงพูดคุยแชร์เทคนิคกัน คลิก Thai Digital Marketing Hub – ความรู้การตลาดออนไลน์

อ่านบทความ Digital Marketing อื่นๆเพิ่มเติม

ใครที่อยากได้อัพเดทลึกๆใหม่ๆ ก่อนใคร
เข้าร่วมกลุ่มเป็นครอบครัวเดียวกัน อัพเดท-พูดคุยข่าวสารอย่างไม่รู้จบ!

Digital Marketing Thailand Hub – ศูนย์รวมนักการตลาดออนไลน์แห่งประเทศไทย
Digital Knowledge Thailand (Ads, Marketing, Content, Production & Website)